Trending News

Subscribe Now

ศาสตร์แห่งการ “ขอโทษ” เมื่อไหร่ที่ควรขอโทษ และเมื่อไหร่ที่ “ไม่ควร”

ศาสตร์แห่งการ “ขอโทษ” เมื่อไหร่ที่ควรขอโทษ และเมื่อไหร่ที่ “ไม่ควร”

Article | Living

ก่อนที่จะคุยถึงคำว่า “ควร” หรือ “ไม่ควร”​สิ่งแรกที่อยากเน้นมาก ๆ คือ

คำว่าขอโทษ แม้จะเป็นคำเล็ก ๆ แต่เมื่อพูดออกไปแล้ว “เราไม่มีทางนำมันกลับคืนมาได้”

คำนี้ศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้คำสัญญา
แต่คำว่าขอโทษนั้นน่าสนใจตรงที่คำเล็ก ๆ แค่นี้ แต่คนจำนวนไม่น้อย “ไม่ยอมพูด” และมีคนอีกไม่น้อยเช่นกันที่ “พูดบ่อยเกินไป”

เมื่อไรก็ตามที่คุณพูดคำว่าขอโทษ เมื่อนั้นจะทำให้มุมมองของคุณต่อคนอื่นดู “ซอฟท์” ลง
สำหรับคนที่ไม่เคยขอโทษ จากเดิมที่เป็นคนแข็งกร้าว ก็จะกลายเป็นคนที่ดูเข้าถึงมากขึ้น มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน สำหรับคนที่ขอโทษบ่อยเกินไป ก็อาจจะทำให้ดูอ่อนแอ จนขาดภาวะผู้นำ ดังนั้นเราจึงควรขอโทษ เท่าที่จำเป็น

บทความหนึ่งใน HBR บอกว่า
เราควรขอโทษเมื่อ..

  1. ความผิดนั้นเป็นของเราจริง ๆ
  2. ความผิดนั้นเป็นของทีมที่เรารับผิดชอบจริง ๆ
  3. คำขอโทษนั้นจะเป็นการสมานฉันท์ให้กับคนในทีม (กรณีที่หนึ่งในทีมทำผิดพลาด)
  4. คำขอโทษนั้น ทำให้คนภายนอกรู้สึกดี

แต่ทั้งนี้คำขอโทษ ไม่ควรเป็นแค่ “คำพูดลอย ๆ” ขอไปที พูดให้ “จบ ๆ” ไป แต่คำขอโทษควรมาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบ” และคำสัญญาที่บอกว่า “จะไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอีกครั้ง”

หนึ่งในคำขอโทษที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งคือ การแถลงของประธานาธิปดี บิล คลินตัน กรณีความสัมพันธ์ลับกับโมนิกา ลีวินสกี้ ในปี 1998 ในการแถลงครั้งนั้นคลินตันกล่าวว่า เขารับรู้ว่าเป็นความผิด และเขา “Regret” เสียใจ และพร้อมจะทำทุกสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เขาหวังว่าทุกคนจะให้อภัย และเดินหน้าต่อไป

คำขอโทษไม่จำเป็นต้องดูอ่อนแอ ต้องไม่มากเกินไป ไม่จำเป็นต้องฟูมฟาย แต่การยอมรับผิดอย่างจริงใจ ความรับผิดชอบ และความตั้งใจที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่างหาก ที่สำคัญกว่า

ดังนั้น.. ต่อไปนี้ คิดให้ดี ก่อนจะพูดคำว่าขอโทษ ..

Related Articles

เตรียมตัวรับมืออย่างไร เมื่อชีวิตการงานของเราต้องเป็นหัวหน้าที่อายุน้อย

เพราะตัวเลขของอายุไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จของคนในยุคปัจจุบันสักเท่าไหร่ อีกทั้งคนที่ประสบความสำเร็จเองก็ดูท่ามีอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ อย่างวลีที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งอย่าง อายุน้อยร้อยล้าน แต่ปัจจัยหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเราประสบความสำเร็จคือวุฒิภาวะและประสบการณ์ที่อาจจะยังไม่เจนจัดหรือเก๋าเกมพอที่จะควบคุมหรือรับมือกับบางสถานการณ์ได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะคนที่ก้าวขึ้นมาในตำแหน่ง ‘หัวหน้า’ เพราะเรื่องของคนเป็นเรื่องของประสบการณ์หรือการแก้ไขปัญหาล้วนแต่เป็นทักษะเฉพาะตัวของแต่ละคน ไม่มีคำตอบในตำราหรือชีวิตมหาวิทยาลัยที่ถูกต้อง…

Article | Living

Hero Arm เทคโนโลยี 3D Printing เปลี่ยนความพิการให้กลายเป็นพลังพิเศษ!

ผลงานอันฉลาดล้ำจาก Open Bionics ที่นำเอาเทคโนโลยี 3D Printing มาสร้างอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้พิการในรูปแบบของแขนเทียม โดยแต่ละนิ้วจะเชื่อมต่อกับระบบประสาท ทำให้สารมารถขยับ หยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างมหัศจรรย์…

Article | Technology