Trending News

Subscribe Now

วันหยุดใกล้เข้ามาแล้ว แต่ยังมีปัญหาให้แก้อยู่เลย – 6 ความคิดที่จะทำให้คุณเป็นคนแก้ปัญหาเก่ง

วันหยุดใกล้เข้ามาแล้ว แต่ยังมีปัญหาให้แก้อยู่เลย – 6 ความคิดที่จะทำให้คุณเป็นคนแก้ปัญหาเก่ง

Article | Living

ความสามารถในการแก้ปัญหาไม่ใช่ทักษะที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เป็นเรื่องของการฝึกฝน และยังเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนควรมีติดตัวไว้เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง..

ซึ่งการที่เราจะเป็นคนแก้ปัญหาเก่งได้ สิ่งสำคัญก็คือเรื่องของ mindset หรือความคิดมุมมองต่อสถานการณ์ต่างๆ ทว่า mindset แบบไหนที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาบ้างมาดูกัน


6 ทริคจาก McKinsey & Company ที่จะช่วยให้คุณมีมายด์เซ็ตนักแก้ปัญหา

1. Being Ever-Curious

ขี้สงสัยและตั้งคำถามอยู่เสมอ ตอนที่เราเด็กๆ เราแทบไม่เคยหยุดตั้งคำถาม ในช่วงเวลานั้นทุกอย่างดูใหม่และคาดการณ์ไม่ได้ เหมือนเราอยู่ในภารกิจของการค้นหา พร้อมกับพยายามที่จะเข้าใจทุกๆ อย่าง ด้วยพลังขี้สงสัยที่ล้นเหลือ

ดังนั้นเวลาที่เราเผชิญกับปัญหาในตอนที่เป็นผู้ใหญ่ ให้ลองหยุดและตั้งคำถามไปเรื่อยๆ ถึงเงื่อนไขและสมมติฐานของปัญหานั้นๆ จนกว่าคุณจะเจอต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อเราโตขึ้นและเผชิญกับความไม่แน่นอนที่แท้จริงในชีวิต ให้นึกถึงตัวเองในวัยเด็ก หรือหาเด็กในตัวคุณ คนที่ไม่เคยหยุดถามให้เจอ

การเป็นคนขี้สงสัยในความเป็นไปได้ที่มีมากมายของคำตอบ จะต่อยอดให้เราได้มาซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่าและมีความสร้างสรรค์มากกว่าได้


2. Tolerate Ambiguity and Stay Humble

อดทนต่อความคลุมเครือ และอ่อนน้อมเข้าไว้ เมื่อเราคิดถึงนักแก้ปัญหา เรามักจะนึกถึงภาพวิศวกรหรือนักกลยุทธ์ที่ฉลาดเป็นกรด แต่นักแก้ปัญหาที่เก่งที่สุดนั้น คือผู้ที่ผ่านการลองผิดลองถูก และพบพานกับความผิดพลาดมามากมาย

เพราะโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ยกตัวอย่างจากผลกระทบของโรคระบาดในปี 2019 ที่กระทบทั้งในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ สร้างปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างกัน ท่ามกลางสังคมที่ผู้คนต่างไม่มีความรู้ที่จำเป็นต่อเรื่องนี้ สิ่งที่นักแก้ปัญหาต้องทำในสถานการณ์เช่นนี้ก็คือประมาณการณ์ถึงความเป็นไปได้ต่างๆ อย่างใจเย็นเพื่อการตัดสินใจที่ดี แม้การคาดเดานั้นจะไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม

แม้จะมีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ได้เก่งในการเป็นนักสถิติจากการหยั่งรู้ เพราะการคาดเดาด้วยสัญชาตญาณอาจผิดพลาดไปไกลได้ แต่การอ้าแขนรับความไม่สมบูรณ์แบบและเข้าใจว่าความรู้ของเราไม่สมบูรณ์หรือใช้ได้ตลอดไป อาจพาคุณไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง


3. Take a Dragonfly-Eye View

มองสิ่งต่างๆ ให้หลากหลายมิติเหมือนแมงปอ เพราะการรับรู้ผ่านสายตาแบบแมงปอ จะช่วยให้เราเป็นนักแก้ปัญหาที่ดีขึ้นได้ เพราะการมองทุกอย่างแบบรอบด้าน 360 องศา ด้วยประสาทการรับรู้แบบนักคาดการณ์ และการทอดสายตาไปภายนอก ก็อาจดีกว่าการเลือกจะมองแต่สภาพแวดล้อมภายใน เพราะเมื่อเราได้เผชิญกับความไม่แน่นอนที่มาพร้อมกับโอกาส ให้ลองมองความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ที่มีต่อในมุมกว้างเป็นจุดเริ่มต้น


4. Pursue Occurrent Behavior

ลองอะไรใหม่ๆ หาโอกาสใหม่ๆ มองหา occurrent behavior หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมที่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เพราะปัญหาที่ซับซ้อนจะไม่เผยความลับให้เรารู้อย่างง่ายดาย


5. Tap into Collective Intelligence and The Wisdom of The Crowd

หาความรู้ใหม่ๆ รวมถึงโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ลองมองหาการเข้าถึงข้อมูลผ่านวิธีที่หลากหลาย รวมถึงการเข้าถึงความฉลาดของคนอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากคนในกลุ่มสังคมที่เราอยู่


6. Show and Tell to Drive Action

คนแก้ปัญหามือใหม่มักมาพร้อมทฤษฎีที่ดูอลังการ แต่คนที่แก้ปัญหาเป็นประจำ จะสามารถอธิบายปัญหาได้เห็นภาพที่ชัดเจนได้


ที่มาจากรายการพอดแคสต์ Morning Call 6 ความคิดที่ทำให้คุณเป็นคนแก้ปัญหาเก่ง โดย คุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม และเนื้อหาบางส่วนจาก Six problem-solving mindsets for very uncertain times  – www.mckinsey.com

Related Articles

4 เรื่องเล่า “ในหลวงภูมิพล” พระมหากษัตริย์นักครีเอทีฟ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแรงบันดาลใจของปวงชนชาวไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพรอบด้าน พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ มีการค้นคว้าหาความรู้ รวบรวมข้อมูล แล้วสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงาน จนกลายเป็นแรงบันดาลใจทำให้ประชาชนได้สานต่อ…

Article | Creative/Design

ใครได้ก็ยิ้ม กับอมยิ้มรูปเหมือน

เอาใจสายหวานกันบ้าง กับ “อมยิ้มรูปเหมือน” อีกหนึ่งไอเดียที่น่ารักมาก จากร้าน Spun ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นี่นอกจากจะเป็นโรงเรียนสอนปั้นอมยิ้ม (แบบทางการมีใบประกาศนียบัตรให้ด้วย) แล้ว ก็ยังเป็นรับทำ อมยิ้มรูปเหมือน โดยมี…

Article | Creative/Design