Trending News

Subscribe Now

ไม่ใช่แค่ใหม่ล้ำแต่ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ว่าด้วยโลกของนักออกแบบยุค 2020

ไม่ใช่แค่ใหม่ล้ำแต่ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ว่าด้วยโลกของนักออกแบบยุค 2020

Article | Creative/Design

“ผมรู้สึกว่าต้องไถ่โทษไปชั่วชีวิต” 

Aza Raskin เอ่ยขึ้นในสารคดี Abstract เขาคือผู้ออกแบบและคิดค้นสิ่งที่เรียกว่า Bottomless Scroll สิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันสามารถเลื่อนลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งประดิษฐ์นี้ทำให้ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มือถือ และเว็บไซต์มากมาย ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้น

Aza Raskin รู้สึกผิดและทบทวนกับตัวเองว่า เป็นเพราะตนเองคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้มนุษย์ใช้เวลาอย่างเปล่าประโยชน์ไปเรื่อย ๆ หลายล้านชั่วโมงต่อการใช้ Bottomless Scroll ที่ไม่สิ้นสุด

เขาทิ้งท้ายไว้ในสารคดีนี้ไว้ว่า ในยุคนี้ไม่เพียงพอแล้วที่ดีไซเนอร์ หรือนักประดิษฐ์จะคิดค้นอะไรก็ตามขึ้นมาเพื่อตอบสนองตัวเอง หรือเพื่อกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง แต่พวกเขาต้องเริ่มคิดถึงผลกระทบที่ตามมาในการสร้างสิ่งประดิษฐ์นี้ออกมา นี้คือเรื่องราวของบทความนี้ที่ผมจะเล่าว่า ในยุคสมัยที่ทุกอย่างมุ่งไปสู่อนาคตอย่างรวดเร็ว การไม่สร้างสิ่งประดิษฐ์ออกมา อาจจะดีกว่าการคิดค้นขึ้นมา 

Sir Tim Bernurs-Lee ผู้คิดค้นอินเทอร์เน็ต ตอนแรกเขาสร้างเพื่อหวังว่าโลกจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ ทำให้ชีวิตของมนุษยชาติดีขึ้น แต่ทุกวันนี้เขากลับเสียใจที่คิดค้นระบบอินเทอร์เน็ตนี้ขึ้นมา เพราะสุดท้ายแล้วกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด ๆ บางกลุ่มคนใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความเกลียดชัง ส่งผลให้ผู้คนมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และยังเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด ๆ โดย Sir Tim Bernurs-Lee พยายามแก้ไขความผิดพลาดนี้ด้วยการนำเสนอการออกแบบอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่ดีขึ้น และเป็นประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม โดยเขาเห็นถึงปัญหาของข้อมูลในอินเทอร์เน็ตถูกบิดเบือนโดยความสามารถของ AI รวมไปถึงปัญหาการนำข้อมูลส่วนตัวไว้กับแต่ละเว็บ ซึ่งมีโอกาสที่ข้อมูลจะรั่วไหลสูง เขาตัดสินใจพัฒนาโครงการ Solid พื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลทั้งหมด ที่เมื่อเชื่อมต่อกับแต่ละเว็บ แอปพลิเคชันต่างๆ จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้โดยทันที ต้องมีการกดอนุญาตก่อน Sir Tim Bernurs-Lee ทิ้งท้ายว่าเขาจะทุ่มเทกับโครงการที่ว่านี้อย่างจริงจังและเปิดบริษัทใหม่ Inrupt เพื่อรับผิดชอบโครงการนี้ 

และไม่ใช่เพียง 2 คนที่ผมเล่าไปข้างต้นที่มีความรู้สึกเสียใจกับผลงานที่ทำออกมา ซึ่งในอดีตก็มีอย่าง Albert Einstein ที่ช่วยคิดค้นโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Engineering District) จนสร้างอาวุธระเบิดนิวเคลียร์ออกมา ทั้ง ๆ ที่เขามองว่าพลังงานนิวเคลียร์นั้นมีประโยชน์อย่างมาก แต่ถูกนำไปเป็นอาวุธทำลายล้างประชาชนแทน กระทั่งปัจจุบันที่ผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์หลายๆ คน เริ่มเสียใจ ออกมาเตือนนักประดิษฐ์ นักนวัตกรรม นักเทคโนโลยี และดีไซเนอร์ถึงการกระทำของตัวเอง และอย่าเดินรอยตามการสร้างสิ่งที่อาจจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือถ้าสร้างออกมาแล้วมีโอกาสจะถูกนำไปใช้ในทางที่ทำให้สังคมแย่ลงแล้ว ก็อย่างทำเลยออกมาดีกว่า 

เทคโนโลยีในปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ความสำคัญและมีอิทธิพลต่อสังคมมนุษย์ สร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่พฤติกรรมส่วนบุคคลจนถึงสังคมของมนุษย์ที่ผ่านมา ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีเสมือนดาบสองคม เมื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด ๆ หรือไม่ได้ตระหนักถึงผลที่ตามมา ก็สามารถเกิดหายนะได้เช่นเดียวกับคำพูดที่ว่า Internet make stupid people famous ตั้งแต่ที่เราเห็นคนต่อต้านเรื่องสภาวะโลกร้อน ต่อต้านการฉีดวัคซีนในเด็ก จนถึงกลุ่มคนที่ยังเชื่อว่าโลกแบน แต่สิ่งเลวร้ายที่สุดคือ การเชื่อข้อมูลข่าวสารปลอม (Fake news) ไม่ว่าจะเป็น น้ำมะนาวรักษามะเร็ง ไม่เพียงแต่ระดับจุลภาคนี้เท่านั้น แต่ในระดับนานาชาติเองก็ได้รับผลกระทบจากข้อมูลข่าวสารปลอมอย่างการเลือกตั้งในอเมริกาเมื่อปลายปี 2016 หรือการทำประชาพิจารณ์ Brexit ที่มีข้อกล่าวหาในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างข้อมูลข่าวสารปลอม จนถึงการนำเทคโนโลยีที่มีประโยชน์เหล่านี้อย่าง AI สร้างอาวุธสังหารเป้าหมายในแวดวงทหาร ทำให้หลายคนเป็นห่วงว่าการมุ่งพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีที่เป็นอยู่จะนำสังคมโลกไปสู่การเป็นสังคมโลกแบบดิสโทเปีย (Dystopia) หรือไม่

ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมงาน SXSW (The South by Southwest) เมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา  ภายในงานมีประเด็นเรื่องการดีไซน์สิ่งต่าง ๆ ของยุคปัจจุบัน ว่ามีผลกระทบต่อคนอย่างไร ทั้งทางบวกและลบ เพราะจากการที่เราได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ออกมาอย่างมากมายในทุกวันนี้แล้ว มีบางสิ่งประดิษฐ์ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดหรือรัฐเอามาใช้ในการคุกคามประชาชน ทำให้นักเทคโนโลยีทั้งหลายต้องออกมาเตือนว่า ยุคนี้คุณจะดีไซน์เพื่อกลุ่มเป้าหมายของคุณเพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องตระหนักว่า ถ้ามีคนเอาเทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐ์ของคุณไปใช้ในทางที่ผิดจะทำอย่างไร แล้วคุณจะดีไซน์เพิ่มเติมเพื่อป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้หรือไม่ หรือคุณครุ่นคิดไหมว่าสิ่งประดิษฐ์ของคุณจะมีผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ได้ใช้งานสิ่งประดิษฐ์ของคุณออกหรือไม่ ซึ่งทำให้นักออกแบบในงานนั้นต่างเริ่มแนะนำให้คิดถึงตัวอย่างที่ทำออกมาเตือนในยุคนี้ อย่าง Social Credit Score ของจีนที่ควบคุมประชาชนจนเบ็ดเสร็จ สอดส่องพฤติกรรมของประชาชน โดยรัฐบาลจะประเมินผลความน่าไว้วางใจทางสังคมจากการใช้ชีวิต ซื้อสินค้า พฤติกรรมทางสังคม รวมไปถึงเรื่องทางการเมือง หากจะเล่าให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น Social Credit Score มีความคล้ายคลึงเช่นเดียวกับซีรีส์ Black Mirror Season 3 EP.1 Nosedive  ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้ทำให้เห็นผลกระทบที่นำพาสังคมโลกไปสู่ยุคดิสโทเปีย (Dystopia) 

[อ่านเพิ่มเกี่ยวกับ Social Credit Score ของจีน ได้ในบทความ : สรุป 4 เทรนด์ของจีนที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 จาก China Internet Report]

เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นเดียวกับซีรีส์เกิดขึ้น ในงาน SXSW (The South by Southwest) มีนำเสนอการออกแบบที่เรียกว่า Speculation Design เพื่อให้นักพัฒนา และนักออกแบบได้เรียนรู้ในการใช้งานว่า คุณจะออกแบบอย่างไรที่ต้องคำนึงถึงว่าสิ่งที่ออกแบบหรือสร้างขึ้นมาจะไม่มีผลกระทบในทางลบ หรือสร้างความเลวร้ายในอนาคต เมื่อเริ่มออกแบบคุณต้องตระหนักถึงการใช้งานต่าง ๆ ของสิ่งที่ออกแบบ โดยอิงกับรูปแบบสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดี พร้อมกับคาดการณ์ผลของการออกแบบว่าจะเป็นอย่างไรต่ออนาคตในแต่ละสถานการณ์ การออกแบบโดยคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้นักออกแบบสามารถรู้ได้ว่า ผลงานนั้นจะมีผลอย่างไรในอนาคต หรือสมควรที่จะเผยแพร่ออกมาสู่โลกภายนอกไหม

นอกจากการทำ Speculative Design ในงาน SXSW แล้ว ยังมีการพูดถึง Abusive Test Design ที่ลองนำงานที่ออกแบบไปทดลองการใช้งานในทางที่เลวร้าย และเช็กว่าผลงานที่ออกแบบนี้เอาไปใช้ป้องกันในทางที่ผิดได้ไหม ซึ่งวิธีคิดนี้ขัดกับหลักการ UX/UI อย่างมากที่ต้องสร้างและออกแบบสิ่งต่าง ๆ ให้ใช้งานง่าย แต่ Abusive Test Design คือ การสร้างความลำบากต่อการใช้งานบางอย่าง เพื่อไม่ให้ผู้ใช้เอาไปใช้ในทางที่ผิด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยาไทลินอล (Tylenol) คือ เคสหนึ่งที่ต่างประเทศหยิบยกขึ้นมาบ่อยครั้ง คือ โดยคุณสมบัติของยาไทลินอลสามารถเป็นยาอันตรายได้ หากบริโภคเกินกำหนด จึงมีกลุ่มคนที่คิดจะฆ่าตัวตายชอบใช้ยานี้เป็นทางเลือกหนึ่ง และโดยปรกติแล้วยาลักษณะนี้จะถูกออกแบบมาเป็นแบบกระป๋องยา มีฝาเกลียวครอบปิด ด้วยรูปทรงของบรรจุภัณฑ์และการเปิดที่สะดวกต่อการใช้ง่าย เพียงเปิดกระป๋องแล้วตะแคงกลุ่มคนที่คิดฆ่าตัวตายก็สามารถกรอกยาเข้าไปได้หลายเม็ดอย่างทันที เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจึงมีการทำ Abusive Test Design ทำให้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยาไทลินอลเปลี่ยนไปด้วยการออกแบบเป็นแผงยาที่ทำจากวัสดุที่ยืดหยุ่นและเหนียวเพื่อให้ฉีกยากขึ้น และมีจำนวนไม่กี่เม็ดต่อหนึ่งแผงเท่านั้น ผลของการออกแบบนั้น ทำให้คนใช้ยายากขึ้นในการฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันก็มีมีเวลาการฉุกคิด ไตร่ตรองการกระทำของตัวเองทำให้สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายอย่างเห็นได้ชัดอย่างทันที

ผมคิดว่า ในยุคนี้คนที่คิดค้นอะไรได้ขึ้นมานั้นต้องเริ่มคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำได้เป็นสิ่งที่สมควรทำหรือไม่ และต้องลบล้างความเชื่อเดิม ๆ ว่า เพราะฉันมีความสามารถค้นคิดค้นและทำได้ ฉันจึงทำ เพราะไม่เช่นนั้นสิ่งที่ตัวเองสร้างขึ้น แทนที่จะมีประโยชน์ต่อคนอื่น สิ่งนั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นโทษได้อย่างทันที และแน่นอนว่า หากคุณยังยึดติดกับความเชื่อเดิมคุณจะต้องอยู่กับความเสียใจไปตลอดเมื่อสิ่งที่สร้างขึ้นมาถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด

บทความโดย: Molek

ภาพ: ดวงพร วิริยา

Related Articles

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้องค์กรด้วยพลังของคำว่า “เป็นอย่างไรบ้าง”

ทำไมการพูดแค่คำว่า “เป็นอย่างไรบ้าง” ถึงมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมากถึง 3.5 เท่า!? บทความจาก Harvard Business Review พูดถึงการวิจัยหนึ่งของ…

Article | Entrepreneur

Clubhouse กับข้อมูลแบบเจาะลึกที่คุณอาจยังไม่รู้

ถ้าถามว่า Social Media อะไรที่มาแรงที่สุดในเวลานี้ คำตอบก็ต้องเป็น ‘Clubhouse’ แน่นอน กลายเป็นกระแสทั่วทั้งโลกออนไลน์กับการโพสต์รอคอยใครสักคน Invited เพื่อให้เราได้เข้าใช้บริการ Social…

Article | Creative/Design

“สแต็ก” กีฬาเรียงแก้ว บริหารสมองแบบอินเทรนด์

คุณเคยเห็นคนแข่งวางแก้วซ้อนกันเป็นรูปพีระมิดให้เร็วที่สุดไหม หรือบางคนอาจะเพิ่งเคยเห็นกีฬาชนิดนี้เป็นครั้งแรก

Article | Living