Trending News

Subscribe Now

22 กฎการเล่าเรื่อง เคล็ดลับนักเขียนสตอรี่บอร์ดจาก PIXAR

22 กฎการเล่าเรื่อง เคล็ดลับนักเขียนสตอรี่บอร์ดจาก PIXAR

Article | Creative/Design

ทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นพื้นฐานจำเป็นที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่นักเขียนและนักออกแบบงานสร้างสรรค์เท่านั้น ยังสามารถปรับใช้กับธุรกิจ สร้างภาพจำให้แก่แบรนด์ บอกเล่าผลิตภัณฑ์ และบริการของคุณให้น่าสนใจยิ่งขึ้นได้

CREATIVE TALK ได้รวบรวมเทคนิคการเล่าเรื่องและสร้างพัฒนาการของตัวละครของ Pixar Animation Studios โดย ‘Emma Coats’ นักเขียนสตอรี่บอร์ดภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ‘Brave’ และ ‘Monsters University’ ซึ่งได้เปิดเผย 22 กฎการเล่าเรื่อง ผ่าน Twitter @lawnrocket ของเธอไว้ดังนี้

1. สร้างตัวละครที่ “น่าเอาใจช่วย”

You admire a character for trying more than for their successes.

ลองเล่าถึงความพยายามที่จะฝ่าฟันอุปสรรค เอาชนะโชคชะตาของตัวละครดูสิ จะทำให้คนดูรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ตามลุ้น คอยเอาใจช่วยให้ภารกิจสำเร็จ ยิ่งสามารถทำให้ผู้ชมรักตัวละครของเราได้มากเท่าไหร่ก็จะช่วยให้ผู้ชมอินกับเรื่องราวมากขึ้นเท่านั้น

2. ตั้งต้นไอเดียที่น่าจะ “เข้าไปอยู่ในใจผู้ชม”

You gotta keep in mind what’s interesting to you as an audience, not what’s fun to do as a writer. They can be v. different.

มองหาเรื่องราวใกล้ตัวที่เป็นสากลมาเล่า อย่าพยายามเอารสนิยมส่วนตัวหรือความชอบเฉพาะกลุ่มมาใส่ลงไปในผลงานโดยไม่คำนึงถึงความสนใจของกลุ่มผู้ชม อาจจำเป็นต้องปรับเกลาไอเดียแรกมาเปลี่ยนใส่ความสนุกที่ใกล้เคียงกับวัยของผู้ชม จะทำให้พวกเขาเพลิดเพลินไปกับเรื่องเล่าของเราได้มากกว่า

3. ไม่หลุด “แก่นเรื่อง”

Trying to theme is important, but you won’t see what the story is actually about til you’re at the end of it. Now rewrite.

ทุกเรื่องราวและเหตุผลเบื้องหลังการกระทำของตัวละครจะต้องโยงใยมาสนับสนุนแก่นเรื่องให้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ไปจนจบ ไม่หลุดออกนอกประเด็น

4. บอกเล่า “ที่มาที่ไป”

Once upon a time there was ___. Every day, ___. One day ___. Because of that, ___. Because of that, ___. Until finally ___.

บอกเล่าเรื่องราวในแต่ละช่วงเวลา จะต้องช่วยให้ผู้ชมเห็นลักษณะนิสัย และพัฒนาการตัวละครในระหว่างทางที่เรื่องราวดำเนินต่อไปจนกระทั่งรู้บทสรุป

5. ดำเนินเรื่องเร็วและ “เรียบง่าย”

Simplify. Focus. Combine characters. Hop over detours. You’ll feel like you’re losing valuable stuff but it sets you free.

โฟกัสไปที่เรื่องราวของตัวละครเอก บอกเล่าความต้องการส่วนลึกที่บ่งบอกถึงคุณค่าในตัวเองของตัวละคร ปล่อยให้เรื่องราวตัวละครมีอิสระและมีชีวิตชีวา

6. ให้ตัวละครได้แสดง “ความสามารถ”

What is your character good at, comfortable with? Throw the polar opposite at them. Challenge them. How do they deal?

ตัวละครของคุณมีความสามารถพิเศษ หรือมีจุดเด่นที่แตกต่างจากตัวละครอื่นๆ ตรงไหน ชื่นชอบอะไร กลัวอะไร ถ้าหากต้องเผชิญเหตุการณ์ที่ท้าทาย พวกเขาจะรับมือหรือจัดการเรื่องเหล่านั้นต่อไปอย่างไร

7. ก่อนใส่เนื้อเรื่อง “ต้องรู้ตอนจบ”

Come up with your ending before you figure out your middle. Seriously. Endings are hard, get yours working up front.

ในขั้นตอนร่างโครงเรื่อง ก่อนอื่นต้องคิดต้นเหตุของเรื่องก่อน ตามด้วยบทสรุปที่เหมาะสม หลังจากนั้นค่อยใส่รายละเอียดของเนื้อหาส่วนท้องเรื่อง

8. อย่ายึดติดกับ “ความสมบูรณ์แบบ”

Finish your story, let go even if it’s not perfect. In an ideal world you have both, but move on. Do better next time.

ขอให้กำหนดเวลาแต่งเรื่องให้จบ อย่ามัวลังเล เพราะไม่มีผลงานชิ้นไหนสมบูรณ์แบบได้ทั้งหมดอย่าง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับและผู้ชมที่จะตัดสินว่าเรื่องราวของคุณกลมกล่อมแล้วหรือยัง แล้วเก็บคำวิจารณ์มาพัฒนาต่อไป สร้างเรื่องใหม่ให้สนุกขึ้นกว่าเดิม

9. ลิสเรื่องที่ถ้าไม่เกิดขึ้น “คงน่าเสียดาย”

When you’re stuck, make a list of what WOULDN’T happen next. Lots of times the material to get you unstuck will show up.

ถ้าหากว่า… เป็นสูตรที่ใช้กันบ่อยๆ ในการคิดพล็อตเรื่อง ลองให้เวลามองหาวัตถุดิบชั้นดีที่จะหยิบมาสร้างสรรค์เรื่องราวให้สนุกและตอบโจทย์ธีมได้ดีที่สุด

10. คิดถึงความรู้สึกและ “แรงจูงใจ” ของตัวละคร

Pull apart the stories you like. What you like in them is a part of you; you’ve got to recognize it before you can use it.

ต้องคำนึงถึงแรงจูงใจและความรู้สึกนึกคิดของตัวละครอยู่เสมอ แล้วลองถอยออกมามองว่า ผู้ชมจะรู้สึกอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบที่ตัวละครแสดงออกแบบนั้น

11. เขียนทุกไอเดียใส่กระดาษแล้วค่อยๆ “ตกผลึก”

Putting it on paper lets you start fixing it. If it stays in your head, a perfect idea, you’ll never share it with anyone.

ค่อยๆ ปล่อยให้ทุกๆ ไอเดียไหลออกมา จดใส่กระดาษแล้วทิ้งไว้สักพัก อาจจะสักหนึ่งสัปดาห์ แล้วค่อยลองหยิบขึ้นมาอ่านใหม่ ไอเดียไหนคุณยังรู้สึกติดใจมากที่สุด ไอเดียนั้นแหละเจ๋ง 

12. เรียงลำดับเรื่องราวให้ “คาดเดาไม่ได้”

Discount the 1st thing that comes to mind. And the 2nd, 3rd, 4th, 5th – get the obvious out of the way. Surprise yourself.

ไม่ต้องเล่าเรื่องราวเรียงตามลำดับ 1 2 3 ก็ได้ คุณลองจัดวาง สลับเรื่องเล่าใหม่ดูสิ วิธีนี้จะชวนให้ผู้ชมสงสัยและอยากติดตามเรื่องราวยิ่งขึ้น

13. สร้างนิสัยและบุคลิกภาพของตัวละครเอกให้ “น่าจดจำ”

Give your characters opinions. Passive/malleable might seem likable to you as you write, but it’s poison to the audience.

คาแรกเตอร์ตัวละครที่มีความซับซ้อน ย้อนแย้ง หรือใส่คอนทราสกับภาพลักษณ์ที่เห็นลงไปนิดๆ หน่อยๆ เช่น ใส่อารมณ์ขันลงไปในความเงียบ หรือสับขาหลอกผู้ชมของคุณให้สับสนอลหม่าน ได้ ก็จะยิ่งช่วยให้เรื่องของคุณสนุก ลุ้นระทึก และน่าจดจำยิ่งขึ้น

14. อย่าลืมย้ำเตือน “หัวใจ” ของเรื่องอยู่เสมอ

Why must you tell THIS story? What’s the belief burning within you that your story feeds off of? That’s the heart of it.

ทำไมคุณถึงอยากเล่าเรื่องนี้ให้คนอื่นฟัง มันสนุกพลิกล็อก ท้าทายความเชื่อของผู้ชมยังไง นั่นล่ะหัวใจสำคัญของเรื่อง ที่คุณต้องคอยย้ำเตือนอยู่เสมอ

15. ผูกร้อยเรื่องราวให้ “สมเหตุสมผล”

If you were your character, in this situation, how would you feel? Honesty lends credibility to unbelievable situations.

ถ้าคุณต้องเจอเรื่องราวน่าเหลือเชื่อ และต้องตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับตัวละคร คุณจะรู้สึกอย่างไร และทำยังไงจะโน้มน้าวใจตัวละครว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นมีน้ำหนักมากพอ จนยอมเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง

16. ถ้าตัวละครทำไม่สำเร็จ “เรื่องน่ากลัว” อะไรจะเกิดขึ้น

What are the stakes? Give us reason to root for the character. What happens if they don’t succeed? Stack the odds against.

หาเหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจออกผจญภัยและอุดมการณ์การต่อสู้ของตัวละคร ทำไมพวกเขาถึงอยากเอาชนะอุปสรรคนั้นไปให้ได้ แล้วถ้าพิชิตภารกิจไม่สำเร็จจะเกิดผลลัพธ์ที่น่ากลัวอะไรตามมาบ้าง เช่น เกิดหายนะครั้งใหญ่ หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เป็นต้น

17. ตัดไอเดียที่ไม่เวิร์กทิ้ง “อย่ามัวเสียดาย”

No work is ever wasted. If it’s not working, let go and move on – it’ll come back around to be useful later.

สิ่งที่คุณทุ่มเททำจะไม่สูญเปล่าหรอก แม้ว่ามันจะยังไม่เวิร์ก ใช้ไม่ได้ในตอนนี้ก็ตาม แต่คุณอาจนำไปใช้ต่อในเรื่องเล่าอื่นๆ ได้ ตอนนี้สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือ การยอมรับว่ามุขนี้ยังไม่ผ่าน ก็ต้องตัดใจปล่อยมือ ทิ้งไอเดียที่ยังไม่ใช่แล้วลองคิดดูใหม่

18. ค่อยๆ เกลาเรื่องราวที่ยัง “ขาดๆ เกินๆ”

You have to know yourself: the difference between doing your best & fussing. Story is testing, not refining.

ในระหว่างการทดลองเขียนโครงเรื่อง อย่าเพิ่งห่วงว่ามันจะดีหรือยังไม่ดีพอ ถึงเนื้อหาจะยังดูขาดๆ เกินๆ ไปบ้าง เดี๋ยวเราค่อยๆ มาแกะทีละปม แล้วตบให้เข้าที่ เกลาเรื่องใหม่ให้ลงตัวขึ้นได้ในภายหลัง

19. ไม่มีเรื่องไหนเกิดขึ้น “โดยบังเอิญ”

Coincidences to get characters into trouble are great; coincidences to get them out of it are cheating.

อย่าปล่อยให้ตัวละครรอดตัวหวุดหวิดด้วยความบังเอิญ ต้องหาทางทำให้ตัวละครได้รู้จักสู้กับปัญหา ไม่ว่าจะเตรียมตัวฝึกฝนจนเอาชนะได้ หรือที่พลาดพลั้งไป ได้บทเรียนอะไรกลับมาช่วยให้ตัวละครเติบโตขึ้นบ้าง

20. เรียนรู้จากบทหนังที่คุณ “ไม่ชอบ”

Exercise: take the building blocks of a movie you dislike. How d’you rearrange them into what you DO like?

แบบฝึกหัดอีกอย่างที่จะช่วยให้คุณหาพล็อตดีๆ ได้ ก็คือลองถอดสูตรบทหนังทั้งที่คุณชอบและไม่ชอบ แล้วคุณจะเรียนรู้ว่าจุดอ่อนจุดแข็งของเรื่องอยู่ตรงไหน ถ้าลองเป็นคุณแต่งเรื่องนี้ล่ะ คุณจะเลือกฉากเหตุการณ์แบบไหน และให้ตัวละครตัดสินใจอย่างไร

21. ใช้สถานการณ์แสดง “ความเจ๋ง” ของตัวละคร

You gotta identify with your situation/characters, can’t just write ‘cool’. What would make YOU act that way?

ก็เพราะการเล่าซื่อๆ มันไม่สนุกน่ะสิ ถ้าอยากให้ผู้ชมรู้จักตัวละครของคุณให้ดีขึ้น และสร้างความรู้สึกผูกพันกับตัวละคร คุณจะต้องส่งบทให้ตัวละครแสดงให้ดู ไม่ใช่แค่บอกเล่าว่า หล่อนเป็นคนเก๋ๆ แค่นั้นมันยังไม่เก๋พอ

22. ทิ้งท้ายด้วย “บทเรียน”

What’s the essence of your story? Most economical telling of it? If you know that, you can build out from there.

เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า… คือสิ่งที่คุณมอบให้ผู้ชมมากไปกว่าความสนุก แต่การสื่อแก่นสารที่ทรงพลังและมีคุณค่าและความหมายบางอย่างต่างหาก จะสร้างความรู้สึกซาบซึ้งตรึงใจ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมแบบไม่มีวันลืม


ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ก่อนที่ PIXAR จะสร้างภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ทุกคนในทีมจะต้องทำชาเลนจ์อย่างหนึ่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงานอยู่เสมอ อย่างเช่น เรื่อง Finding Nemo เป็นเรื่องของของพ่อปลาตามหาลูกปลา เรื่องราวเกิดขึ้นอยู่ใต้น้ำทั้งหมด ดังนั้น PIXAR จึงศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของปลา เวลาปลาโดนคลื่นหรือกระแสน้ำมีการเคลื่อนไหว การปลิว หรือแสงที่สาดมาใต้น้ำมีการหักเหอย่างไร รวมถึงฟองอากาศที่ลอยขึ้นผิวน้ำมีการเคลื่อนไหวอย่างไร 

ดังนั้น ทีมงานที่ทำอนิเมชันให้ Finding Nemo มีภาคบังคับว่าต้องสอบ Diving License เพราะถ้ายังไม่เคยดำน้ำหรือใช้ชีวิตใต้น้ำ จะมาทำหนังที่เกี่ยวกับใต้น้ำให้เหมือนจริงได้อย่างไร แต่ละเรื่องจะใช้เทคนิคเดิม ๆ ไม่ได้ มันต้องมีความแปลกแหวกแนวมากขึ้น สำหรับใครที่อยากดูการชาเลนจ์เรื่องอื่น ๆ ลองอ่านได้ในบทความนี้ การพัฒนาตัวเองด้วยวิธีของ PIXAR

ถ้าอยากรู้ CREATIVE TALK ขอชวนติดตามรายการ CT x PLOT by Readery “เล่าเรื่องสดให้เป็นเรื่อง” Ep.06 ฝึกเล่าเรื่องให้คนหูผึ่ง ใส่ Conflict สร้างโครงเรื่อง และลำดับเรื่องตามสูตร Hero’s Journey มาทำแบบฝึกหัดและส่งการบ้านไปด้วยกัน ร่วมสร้างสรรค์ Workshop โดย SC Asset 

ติดตามฟังย้อนหลังตอนสุดท้ายกันได้ทาง

🎧 SoundCloud: https://bit.ly/3rK5rUJ
🎧 Spotify: https://spoti.fi/39yqPWE
🎧 PodBean: https://bit.ly/3mdfTTs
🎧 Apple Podcast: https://apple.co/3cMKOTI

Source: 22 Tips on the Pixar Storytelling Formula

Related Articles

อนาคตวงการ Creative ต้องปรับตัว สรุปจากงาน CTC2020

อาจไม่ใช่แค่แวดวงเทคโนโลยีหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องปรับตัว ใครจะคิดว่าคนทำงานด้านครีเอทีฟยังต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลกเช่นกัน ทั้งที่ช่วงหนึ่งยังเคยพูดกันหนักหนาว่าเป็นอาชีพอันดับท้าย ๆ ที่จะโดนดิสรัปต์จากเทคโนโลยี วันนี้มันอาจไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะความคาดหวังของผู้บริโภคสูงขึ้น ครีเอทีฟจึงต้องติดอาวุธทั้งศาสตร์และศิลป์ไว้กับตัว ในปี 2020…

Article | Creative/Design

แค่เงียบฟังยังไม่พอ คุณสมบัติ 5 ข้อ ที่ผู้ฟังที่ดีควรมี

คยสังเกตหรือไม่ว่าหลายครั้งที่เรากำลังฟังคนอื่น เราตั้งใจฟังจริง ๆ หรือเปล่า หรือเราแค่เงียบเพื่อรอให้อีกฝั่งพูดจบ เพื่อเราจะได้พูดต่อ การฟังถือจึงเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการฟังที่ดีนอกจากจะทำให้ผู้ฟังได้รับไอเดียใหม่ ๆ แล้ว…

Article | Living

Microlearning : รูปแบบการเรียนรู้ใหม่ การทำซ้ำแบบเว้นระยะเพื่อเพิ่มการจดจำ

Microlearning เป็นรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก สาเหตุนั้นมาจากวิธีการเรียนนี้นั้นไม่ยากและยังสนุกที่ได้เรียนรู้อีกด้วย

Article | Business