Trending News

Subscribe Now

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

Article | End of The Walk Way

ช่วงกลางปีมีโอกาสได้ขึ้นไปภาคเหนือเพื่อพักผ่อน และเจอน้องที่รู้จัก ระหว่างขับรถชมวิวไปเรื่อย ลัดเลาะเข้าซอยตาม Google Map สายตาก็กวาดไปเห็นป้ายร้านกาแฟร้านหนึ่ง

“ร้านกาแฟคุณหมอ”

ผมเอะใจว่า “ร้านกาแฟคุณหมอ” มีอะไรดี? คุณหมอคนนี้เป็นคนดังในย่านนี้? ถ้าไม่ใช่ ทำไมไม่มี ร้านกาแฟคุณครู ร้านกาแฟดีไซน์เนอร์ ร้านกาแฟ รปภ. ร้านกาแฟแม่บ้าน หรือ ร้านกาแฟภารโรง? หรือการเป็นคุณหมอจะช่วยเพิ่มเครดิตให้กับร้านกาแฟ?

ก่อนที่จะมาเขียนเรื่องนี้บังเอิญได้อ่านหนังสือที่ตอนหนึ่งว่าด้วยเรื่องของการเหยียด การแยกความแตกต่างของคนด้วยอาชีพ เงิน และรายได้ ไม่ได้จะดึงให้คิดไปถึงนั่น แต่ก็ด้วยความสงสัยก็ทำให้อดคิดไม่ได้ แน่นอนว่า ร้านนี้ต้องเป็นร้านของคุณหมอแน่ ๆ
โดยที่คุณหมอคงไม่ได้คิดจะเหยียดใคร หรือคิดอะไรอกุศลเช่นนั้น

แต่ชื่อร้านนี้ทำให้ผมนึกไปถึงสิ่งหนึ่งที่ธุรกิจมักทำกันคือ “การเพิ่มเครดิตให้กับธุรกิจของตน” แน่นอน ไม่ว่าคุณทำธุรกิจอะไร หากปราศจากความน่าเชื่อถือ ไร้ซึ่งเครดิต ใครเล่าจะกล้าใช้บริการ ตัวอย่างที่เราเห็นชัด ๆ เช่น ร้านขนมปังฮอกไกโด, ขนมนมอัดเม็ดญี่ปุ่น, เส้นอุด้งถุงโอซาก้า

คุณเคยรู้หรือไม่ว่าสินค้าหลายตัวที่มีชื่อประมาณนี้ไม่ได้มีวัตถุดิบที่มาจากญี่ ปุ่นหรือสถานที่ที่ติดมากับชื่อสินค้าเลย แต่หลายตัวนำกรรมวิธีการผลิต หรือนำคอนเซ็ปการพัฒนาสินค้ามาจากแหล่งเหล่านั้น ซึ่งบางครั้งต้นทุนก็อาจจะไม่ได้สูงขึ้นมากเท่าไหร่ แต่ด้วยชื่อ อาจจะเพิ่มราคาได้มากกว่า 2-3 เท่าตัว และหากคุณใส่ภาษาญี่ปุ่นที่คนไทยอย่างเรา ๆ อ่านไปก็ไม่ออกเข้าไปที่ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์แล้วด้วยล่ะก็ ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน

นี่ไม่ใช่การโกง ไม่ใช่การหลอกลวง แต่เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างแบรนด์ดิ้ง สร้างภาพลักษณ์ให้ลูกค้ารู้สึกร่วมกับสินค้านั้น ๆ ส่วนตัวไม่ได้ต่อต้านอะไร แต่กลับเห็นว่าเป็นเทคนิคที่น่าสนใจ

ลองเอาไปปรับใช้ดู ต่อไปเราอาจจะได้เห็นผ้าขาวม้า ทอผ้าสไตล์เกียวโตก็เป็นได้

Related Articles

เมื่อภาวะหมดไฟไม่ได้เลือกตำแหน่ง และความเบื่อไม่ได้เลือกวัย

Burnout หรือที่ก่อนหน้านี้เราเรียกกันว่า ภาวะ “หมดไฟ” การทำงาน ยังคงเป็นที่พูดถึงในหลากหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของการหมดไฟ หรือจะทำอย่างไรให้ไฟของความสนุกสนานในการทำงานถูกจุดติดอีกครั้ง หลายครั้งเรามองว่า ภาวะหมดไฟนี้มักเกิดกับกลุ่มคนรุ่นใหม่…

Article | Living

รักเกิดขึ้นที่สมองหรือหัวใจ และจุดกำเนิดสัญลักษณ์รูปหัวใจ

จุดกำเนิดที่พูดเรื่องความรักไม่ใช่ว่าอินเลิฟแต่อย่างใด แต่ได้รับหนังสือจากน้องคนหนึ่งชื่อ น้องส้ม ศรีตลา ชาญวิเศษ เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Love never Fail ไม่มีความรักครั้งไหนที่สูญเปล่า…

Creative/Design | Morning Call | Podcast

4 เรื่องด้านมืดของ Empathy ที่เรานึกไม่ถึงและควรระวัง

หนึ่งในศัพท์ทางจิตวิทยาที่กำลังถูกใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน คือ คำว่า “Empathy” หรือ การเอาใจเขามาใส่ใจเราและรู้สึกร่วมไปกับอีกฝ่าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวงการไหน คุณก็จะได้ยินคำว่า Empathy ควบคู่กับการจัดการเรื่องคนเสมอ เพราะทุกคนต่างก็อยากได้รับความเข้าใจโดยไม่ตัดสินใดๆ แต่ใครจะรู้บ้างว่า การมี Empathy ที่ผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลกระทบที่เสียหายได้

Article | Living