Trending News

Subscribe Now

เขียน Headline อย่างไรให้ได้ใจคนอ่าน – ตอนที่ 2/3 ของเทคนิคเขียน Contents ให้น่าสนใจ

เขียน Headline อย่างไรให้ได้ใจคนอ่าน – ตอนที่ 2/3 ของเทคนิคเขียน Contents ให้น่าสนใจ

Morning Call | Podcast

ในบทความที่แล้วเราพูดถึง เทคนิคเขียน Contents ให้น่าสนใจ – ทำไมความคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ซึ่งเน้นไปที่จุดเริ่มต้นของการเขียนด้วยวิธีคิด ในบทความนี้จึงเข้าสู่เรื่องของการเขียน Headline หรือหัวข้อ เขียนอย่างไรให้ได้ใจคนอ่าน

แม้ว่าหัวข้อจะมีความสำคัญมาก แต่น่าแปลกที่ผู้เขียนส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับการเขียนคอนเทนต์มากกว่า ทั้งการหาข้อมูล เรียงเรียบเนื้อหาหลายหน้า แต่สุดท้ายใช้เวลาน้อยในการตั้งหัวข้อหรือใช้เวลาประมาณ 20% เท่านั้น

On the average, five times as many people read the headline as read the body copy. When you have written your headline, you have spent eighty cents out of your dollar

– David Ogilvy –

คนเราอ่านหัวข้อประมาณ 5 เท่าตัวของการอ่านเนื้อหาข้างใน ดังนั้นถ้ามีโอกาส จงใช้เวลา 80% ของการเขียนทั้งหมดไปกับหัวข้อ (80 cents out of your dollar) อย่าทำเหมือนผู้เขียนคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่มักใช้ 80% ไปกับการเขียนคอนเทนต์และ 20% ในการเขียนหัวข้อ

Headline หรือ หัวข้อ เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งในการเขียนคอนเทนต์ เพราะเวลาเราอ่านคอนเทนต์ตามเฟซบุ๊กหรือในเว็บไซต์ สิ่งแรกที่เราเจอคือหัวข้อนั่นเอง

โดยปกติคนจะอ่านหัวข้อก่อน ถ้าหัวข้อไม่น่าสนใจ คนสามารถข้ามไปได้อย่างง่ายดาย ผมเชื่อว่าเราไม่ได้อ่านหัวข้อกันนาน รวมถึงไม่ได้วิเคราะห์พิจารณามาก เพราะฉะนั้นถ้าหัวข้ออ่านยาก ไม่สะดุดตา ก็สามารถทำให้คนมองข้ามได้ง่าย ๆ

พอเขียนคอนเทนต์ขึ้นมาเยอะ ๆ ก็นึกไม่ออกว่าควรเขียนหัวข้อยังไงดี บางครั้งก็เขียนไปลวก ๆ สุดท้ายคนก็ไม่อ่าน ไม่ใช่เพราะคอนเทนต์เราไม่ดี แต่กว่าคนจะเข้ามาอ่านถึงข้างใน คนไม่ชอบตั้งแต่หัวข้อแล้ว เหมือนบางครั้งเราทำอาหารอร่อยแต่จัดจานไม่สวย คนก็ไม่อยากกิน

ผมจึงมี 5 เทคนิคในการเขียนหัวข้อแต่ละประเภท ที่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับจุดประสงค์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น หัวข้อแบบนี้ช่วยกระตุ้น awareness หรือหัวข้ออีกแบบกระตุ้น engagement นั่นคือ

เขียน Headline

1. ตั้งคำถาม

หัวข้อที่ตั้งคำถาม เช่น คุณเห็นด้วยหรือไม่กับการปิดถนนบนทางด่วน เป็นต้น เห็นได้ชัดว่าหัวข้อแบบนี้มี engage กับคนฟัง เป็นประโยคคำถามที่ทำให้คนฟังอยากมีส่วนร่วม ทำให้คนอ่านคิดต่อว่าตัวเองเห็นด้วยไหม การตั้งคำถามในลักษณะนี้ทำให้คนสนใจและก่อให้เกิด engage

2. แสดงความคิดเห็นของผู้เขียน

เหมาะกับบทความประเภทความคิดเห็น (Opinion) เราอยากบอกเล่าหรือแสดงความคิดเห็นแบบนี้ ซึ่งไม่ใช่ Fact เช่น Breaking Bad คือซีรีส์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยดูมา เป็นต้น พอคนอ่านหัวข้อแบบนี้ คำแรกที่ดึงความสนใจของเขาคือ “Breaking Bad” ซึ่งเป็นซีรีส์ที่โด่งดัง และได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับต้น ๆ จากต่างประเทศ ชื่อของซีรีส์ดึงดูดได้ระดับหนึ่ง ถ้าคนรู้จักก็จะหยุดอ่าน ส่วนที่สองคือคำว่า “ซีรีส์” แม้ว่าคนอาจไม่รู้จัก Breaking Bad แต่ถ้าเป็นคนที่ชอบดูซีรีส์ เห็นคำนี้ก็จะหยุดอ่าน และส่วนสุดท้ายที่ดึงความสนใจคือ “ดีที่สุด” และขยายความด้วย “เท่าที่เคยดูมา”

ทั้งหมดนี้จะทำให้คนที่ไม่รู้จักซีรีส์เรื่องนี้รู้สึกสงสัย ค้นหาต่อว่าดีจริงไหม แต่ถ้าเป็นคนที่เคยดูก็จะมี engage กับคอนเทนต์ ทั้งในแง่ของการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงอาจจะเข้าไปอ่านว่าสิ่งไหนที่คนเขียนบอกว่าดี เพราะนักแสดง ประเภทของหนัง หรือสิ่งอื่น ๆ

3. ท้าทายคนอ่าน

หัวข้อประเภทนี้น่าสนใจ เช่น เชื่อหรือไม่ว่าหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณลืมเรื่องทั้งหมดที่เคยเรียนมาตลอด 16 ปี เรียกได้ว่าเป็นการท้าทายว่าหนังสือเล่มนี้จะเปลี่ยนความคิด ทำให้คนอ่านลืมหรือทำลายความเชื่อทั้งหมดที่เคยมีมา

หัวข้อแบบนี้สามารถดึงดูดความสนใจได้ตั้งแต่คำว่า “เชื่อหรือไม่” และอีกช่วงหนึ่งคือ 
“ลืมเรื่องที่คุณเรียนมาทั้งหมดที่เคยเรียนมาตอด 16 ปี” เพราะมันไปขัดแย้งกับสิ่งที่เราเรียนมา สิ่งที่เราเชื่อว่ามันดีตลอด 16 ปี เมื่อเป็นหัวข้อประเภทนี้คนก็จะคิดและเข้าไปอ่านต่อเพื่อดูว่าจริงมั้ย ซึ่งจะก่อให้เกิด engagement ในเวลาต่อมา คนอาจแชร์ต่อและให้ความเห็นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

4. How to

เช่น 10 วิธีถ่ายภาพให้ได้อย่างมืออาชีพ หัวข้อแบบนี้ทำให้รู้ได้เลยว่า เข้าไปจะเจออะไร ซึ่งไม่ได้ดึงดูดความสนใจมาก อาจมีบ้างสำหรับคนที่ชอบถ่ายภาพหรืออยากถ่ายให้ได้แบบมืออาชีพ แต่หัวข้อนี้จะเน้นการทำให้คนกดเข้าไปอ่านมากกว่า ด้วยคำว่า 10 วิธี วิธีนี้คือการเล่นกับตัวเลข ที่เหมาะกับคนยุคนี้ที่ความอดทนต่ำ อ่านอะไรไม่ได้นาน ถ้าหัวข้อบอกว่ามี 10 วิธี คนจะรู้สึกว่ามี 10 วิธีเอง ในทางกลับกันถ้าบอกว่ามี 30 วิธี คนจะรู้สึกท้อที่จะอ่าน การมีตัวเลขจะทำให้คนรู้สึกว่ามันง่าย ๆ อ่านได้

5. สวนกระแส

เป็นหัวข้อที่ค่อนข้าง high risk, high return มีความเสี่ยงสูง แต่ถ้าทำได้จะดังเลย นั้นคือกระแสมาแบบไหน เราสวนกระแสไปเลย

เช่น ซีรีส์เลือดข้นคนจาง ที่มีคนออกมาเขียน วิเคราะห์กันมากมาย รวมถึงชื่นชมมากว่าทำออกมาได้ดี แต่ถ้าเราอยากสวนกระแส เราอาจตั้งหัวข้อเลยว่า เลือดข้นคนจางเป็นซีรีส์ที่น่าเบื่ออีกเรื่องหนึ่งของปีนี้ แน่นอนว่าได้รับความสนใจอย่างมากรวมถึง awareness และ engagement ทั้งด้านบวกและลบ ถ้าประเด็นที่พูดดีจริง คนอ่านอาจเปลี่ยนความคิดและรู้สึกว่ามีมุมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ดังนั้นการทำหัวข้อแบบสวนกระแส ถ้าเรามั่นใจในสิ่งที่เขียน ถึงจะสวนกระแสแต่ถ้ามีเนื้อหาที่ดีพอ คนก็จะเข้าไปอ่าน

หัวข้อช่วยดึงดูดความสนใจอยู่แล้ว ที่เหลือเป็นส่วนของคอนเทนต์แล้วว่าเป็นอย่างไร ถ้าคอนเทนต์ไม่ดี เขียนแบบถู ๆ ไถ ๆ อยากได้แค่ engagement ก็จะได้ engagement จริง ๆ แต่ได้ในด้านลบและถูกวิจารณ์ในทางเสียหายได้ ดังนั้นในหัวข้อต่อไปเราจะมาดูเรื่อง วิธีการเขียนเนื้อหาอย่างไรให้คนอ่านจบและแชร์ อ่านได้ในบทความนี้เลยครับ

ภาพประกอบบทความจาก Ben White, Unsplash/Lum3n.com, Pexels

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

บทความที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องสัมภาษณ์พนักงาน

ไม่ใช่แค่คนหางานเท่านั้นที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนสัมภาษณ์งาน การรับคนเข้าทำงานขององค์กรต่าง ๆ ทางฝ่ายบุคคลหรือผู้สัมภาษณ์งานก็ต้องเตรียมพร้อมเช่นกัน เพื่อเฟ้นหาพนักงานที่มีคุณสมบัติตรงความต้องการและสามารถเข้ากับองค์กรได้ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องสัมภาษณ์พนักงานใหม่แล้วล่ะก็ วันนี้เรามีวิธีการเตรียมตัวง่าย ๆ มาฝากกัน 1….

Creative Wisdom | Podcast

Netflix ในมุมที่คุณอาจยังไม่รู้จัก

Netflix เป็นบริการดูภาพยนตร์ออนไลน์แบบสตรีมมิ่ง เลือกดูผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ Netflix ลักษณะของบริษัทนี้คล้ายการเช่าหนังแบบเหมาจ่าย โดยมีเรทที่ไม่แพง ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 280 บาท/เดือน ขยับขึ้นมาอีกนิดเป็น…

Morning Call | Podcast