Trending News

Subscribe Now

ทำไมคนเราถึงชอบกลับคำ? มาฟังคำอธิบายจากผลการศึกษาพฤติกรรม

ทำไมคนเราถึงชอบกลับคำ? มาฟังคำอธิบายจากผลการศึกษาพฤติกรรม

Article | Living

แม้จะมีคำพูดที่บอกว่า Talk is Cheap หรือการกลับคำพูดเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย เพราะเราเลือกที่จะพูดในสิ่งที่คนอื่นสบายใจก่อน รับปากไปอย่างนั้นก่อน เพื่อทำให้คนฟังรู้สึกดีกับเรา

แต่มีคนอีกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ตั้งใจรับปากอย่างดีและคิดจะทำอย่างนั้นจริงๆ ในขณะที่พูดออกไป แต่ผลสุดท้ายเมื่ออนาคตมาถึง ก็กลับคำโดยไม่ได้ตั้งใจ 

ซึ่งพฤติกรรมนี้ จอร์จ โลเวนสไตน์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลอนได้ศึกษาพฤติกรรมนี้ และให้คำจำกัดความของพฤติกรรมนี้ว่า Empathy Gap หรือที่ ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี แปลคำนี้ไว้ในหนังสือ มนุษย์อารมณ์ เป็นภาษาไทยว่า “ช่องว่างระหว่างใจเราในวันนี้และใจเราในวันข้างหน้า” นั่นเองครับ

และเพื่อให้คุณผู้อ่านได้เขียนใจความหมายและที่มาของเหตุผลที่ว่า “ทำไมมนุษย์เราถึงชอบกลับคำ”


Empathy Gap ความรู้สึกในวันนั้นกับความรู้สึกในวันนี้

ใจความสำคัญของ Empathy Gap ก็คือความสามารถในการเข้าใจอะไรบางอย่างของมนุษย์ มักขึ้นอยู่กับสภาวะที่เรากำลังรู้สึกหรือเรากำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น

Empathy Gap แยกออกเป็น 2 ประเภท

  1. Cold-Hot Empathy Gap ช่องว่างที่เกิดจากสถานการณ์ อารมณ์เย็นไปร้อน หากเราอยู่ในสถานการณ์ที่นิ่ง สงบ สบายดีแล้ว เราจะนึกไม่ออกเลยว่าในสถานการณ์ที่มีความเดือดร้อนจะมีความรู้สึกอย่างไร เช่น ถ้าเราเพิ่งกินข้าวเสร็จใหม่ๆ อิ่มมาก เราอาจจะนึกไม่ออกว่าตอนที่หิวจัดๆ เป็นอย่างไร
  2. Hot-Cold Empathy Gap ช่องว่างที่เกิดจากสถานการณ์ อารมณ์ร้อนไปเย็น หากเราอยู่ในสถานการณ์อารมณ์ร้อน เราจะไม่ทันรู้ตัวว่าตอนนี้เราอารมณ์ร้อนอยู่ และประเมินผลกระทบจากอารมณ์ร้อนของตัวเองต่ำไป เช่น เราหิวมากแต่คิดว่าก็แค่หิวเฉยๆ สั่งอาหารมาเยอะจนกินไม่หมด โกรธอยู่แต่บอกว่าไม่ได้โกรธ แล้วฟาดอารมณ์ออกไป

The Reality First Rule: กฎความเป็นจริงมาก่อนจินตนาการ

ถ้าถามคุณผู้อ่านตอนนี้ว่า “ในเพลงชาติไทย มีคำไหนที่ร้องเสียงสูงที่สุด จะเป็นคำว่า พลี เถลิง ทวี มีชัย หรือ ไชโย?” วิธีการได้มาซึ่งคำตอบจะมีด้วย 2 แบบ นั่นคือ “การเปล่งเสียงร้องออกมา” ซึ่งเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ และมีคนส่วนน้อยที่ตอบได้โดยไม่ร้องออกมา

เรื่องนี้น่าสนใจนะครับ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะมนุษย์บางคนต้องการค้นหาคำตอบจาก Memory Cortex ก่อนที่จะพูดคำตอบออกมา

ขออธิบายถ้าเป็นนึกคำตอบแบบเป็นภาพจำ เช่น นึกออกไหมว่าสิงโตหน้าตาอย่างไร กระบองเพชรหน้าตาเป็นอย่างไร ร่างกายของเราจะแปลงจาก Memory Cortex มายัง Visual Cortex เพื่อแสดงผล แต่ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า ณ ขณะนั้น กระบวนการข้างต้นจะทำได้ยากขึ้น เพราะเราจะ Focus กับสิ่งที่มองเห็นมากกว่าการดึงความทรงจำในอดีตออกมา 

สรุปก็คือ Reality ตรงหน้า ถือเป็นลำดับสำคัญและควบคุมความสามารถในการจินตนาการ และการดึงความทรงจำกลับมาก่อนเป็นอย่างแรก

ดังนั้นการที่เราเผลอรับปากไป แต่มาเปลี่ยนใจทีหลังเป็นไปได้จริง ไม่ใช่เพราะโลเล แต่เป็นเพราะ Empathy Gap ของเรา ณ วันที่เรารับปาก กับวันที่เกิดขึ้นจริงอาจต่างกันได้ / Double Standard ก็เกิดจากเรื่องนี้เช่นกัน


วิธีควบคุม Empathy Gap

เมื่อเรารู้ถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร คำตอบก็คือเราควบคุม Empathy Gap ให้ได้ ซึ่งเราขอเสนอวิธีให้คุณตามนี้

  1. พยายามนึกถึงความรู้สึกของเราในอนาคต แทนปัจจุบัน
  2. พยายามนึกถึงคนอื่นดูบ้าง ว่าถ้าเขาต้องมาอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับเราจะเป็นอย่างไร
  3. ปฏิเสธได้ หากไม่มั่นใจว่าตัวเองจะสามารถทำได้

ถึงแม้แท้จริงแล้วทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์อธิบายได้เสมอ แต่ในเรื่องของความรู้สึกอาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะรับฟัง ดังนั้นแล้ว หากมีโอกาสได้สัญญากับใคร โปรดจำไว้ว่า อย่าตอบรับถ้าไม่มั่นใจ และเมื่อตอบรับแล้ว ต้องทำให้ดีที่สุด

Related Articles

5 วิธีรับมือกับคนล้ำเส้น

หากเจอคนล้ำเส้น ไม่ว่าจะเป็นการล้อเลียน พูดคำหยาบ แสดงอาการไม่ให้เกียรติ คุณจะทำอย่างไร เดินไปตบหน้าอีกฝ่ายเลย ต่อว่าอีกฝ่ายอย่างเจ็บแสบ หรือเดินหนี

Article | Living

เราจะวัดผล Influencer Campaign อย่างไร ในวันที่ Instagram ไม่แสดงยอด Like

จากข่าวก่อนหน้านี้ที่บอกว่า Instagram ได้เริ่มทดสอบการออกแบบจัดวางหน้าตาใหม่เพื่อซ่อน like ของโพสต์ Instagram ในประเทศแคนนาดา ไอร์แลนด์ อิตาลี่ ญี่ปุ่น…

Article | Digital Marketing

4 เรื่องเล่า “ในหลวงภูมิพล” พระมหากษัตริย์นักครีเอทีฟ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแรงบันดาลใจของปวงชนชาวไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพรอบด้าน พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ มีการค้นคว้าหาความรู้ รวบรวมข้อมูล แล้วสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงาน จนกลายเป็นแรงบันดาลใจทำให้ประชาชนได้สานต่อ…

Article | Creative/Design