Trending News

Subscribe Now

รู้จัก Fitts’s law เหตุผลว่าทำไมเบรกต้องมีขนาดใหญ่กว่าคันเร่ง

รู้จัก Fitts’s law เหตุผลว่าทำไมเบรกต้องมีขนาดใหญ่กว่าคันเร่ง

Design You Don't See | Podcast

รถแทบจะทุกยี่ห้อมีการออกแบบที่หน้าตาคล้าย ๆ กัน คือฟังก์ชันการใช้งานหลายอย่างจะอยู่ในตำแหน่งเดิม ทำให้เวลาที่เราใช้รถของคนอื่นหรือเปลี่ยนรถใหม่ จะใช้เวลาไม่นานในการทำความคุ้นเคยกับมัน เหมือนเวลาที่เข้าร้านสะดวกซื้อแล้วรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน

เบรกกับคันเร่งเองก็เป็นหนึ่งในฟังก์ชันที่อยู่ในตำแหน่งเดิมและหน้าตาคล้ายกันในทุกยี่ห้อทุกรุ่น แต่ทำไมเบรกถึงต้องมีขนาดใหญ่กว่าคันเร่งกันล่ะ?

วันนี้เราจะมาหาคำตอบ หลายคนอาจเดาคำตอบว่าเบรกเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการขับรถ จึงต้องทำให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้เหยียบได้ง่ายซึ่งก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิด แต่เรื่องนี้ยังมีอะไรมากกว่านั้น โดยมันเกี่ยวของกับ Fitts’s Law ซึ่งเป็นกฎที่พูดถึงเรื่องการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลื่อนที่จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยดังนี้

1. ระยะทาง

แน่นอนว่าการจะเดินทางจาก A ไป B จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับว่า มันอยู่ห่างกันมากแค่ไหนด้วย หากอยู่ใกล้ก็ไปได้เร็ว เช่นเดียวกับเบรกและคันเร่งที่อยู่ใกล้กัน ทำให้เวลาที่เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเราสามารถที่จะขยับเท้าเพียงนิดเดียวเพื่อเปลี่ยนจากคันเร่งเป็นเบรกได้ไม่ยากเลย

2. ขนาด

หากระยะห่างระหว่างคันเร่งกับเบรกของรถ 2 คันเท่ากัน แต่รถคันหนึ่งมีที่เหยียบเบรกขนาดใหญ่ อีกคันหนึ่งขนาดเล็กกว่า แน่นอนว่าการเคลื่อนที่จากคันเร่งไปหาเบรกของรถ 2 คันนี้จะแตกต่างกัน โดยคันที่เบรกขนาดเล็กกว่าจะทำให้เคลื่อนที่ไปหาได้ช้ากว่า

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น เวลาเราจะล็อกอินเข้าระบบอะไรสักอย่าง เราจะเจอปุ่ม Submit ขนาดใหญ่เพราะต้องการให้เห็นง่ายและเลื่อนไปกดได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปุ่ม Forgot password ที่มักจะอยู่ใกล้ ๆ กัน เรากลับต้องใช้เวลาในการกะให้กดได้พอสมควร เพราะมันมีขนาดที่เล็กกว่านั่นเอง

Fitts’s Law เหล่านี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปุ่มหยุดฉุกเฉิน ปุ่มดับเครื่องยนต์ ฯลฯ ดังนั้นหากคุณจะต้องออกแบบอะไรสักอย่าง ลองนึกถึงกฎเหล่านี้และนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบของคุณดูสิว่า มันสามารถทำให้งานดีไซน์ของคุณใช้งานได้ดีขึ้นได้หรือไม่

ถอดความจาก: Design You Don’t See Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟังแบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

เรียบเรียงโดย: รมิตา ตั้งกุลบริบูรณ์
นักศึกษาจบใหม่จากคณะวารสารฯ ที่ยังคงเชื่อว่าสิ่งพิมพ์ไม่ใช่สื่อแต่คือ Content อยู่ระหว่างใช้ชีวิต Freelance กับกระเป๋าที่เริ่มจะแบน ตอนนี้ยังไม่คิดเรื่องแฟนเพราะแม้แต่เพื่อนก็ยังขาดแคลน

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

Work From Home: Take It Seriously ถึงเวลาแล้วที่ต้องจริงจัง?

ในวันที่เรามองเห็นแล้วว่า COVID-19 จะอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ มากกว่าแค่การทำความคุ้นเคยกับ Work from Home แต่เรากำลังเดินทางเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ บริษัทและพนักงานควรต้องคิดและเตรียมตัวเตรียมใจในเรื่องอะไรกันบ้าง ฟังคำตอบเรื่องนี้ได้ใน…

Podcast