Trending News

Subscribe Now

เรื่องไม่ง่ายที่ผู้หญิงมักเจอในการทำงาน (พร้อมวิธีแก้ไข)

เรื่องไม่ง่ายที่ผู้หญิงมักเจอในการทำงาน (พร้อมวิธีแก้ไข)

Article | Living

หากพูดถึงคำว่า “ผู้นำ” ภาพแวบแรกที่คุณเห็นในจินตนาการนั้น เป็นผู้ชาย หรือ ผู้หญิงก่อนกัน จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าสังคมไทยโดยเฉพาะในเรื่องของการทำงาน เรายังคงให้ความสำคัญกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะเริ่มมีบทบาทในตำแหน่งที่ใหญ่โตมากกมายในหลายๆ องค์กร แต่ก็ต้องยอมรับกันว่า ภาพลักษณ์ ของคำว่า “ผู้นำ” ของใครหลายๆ คนก็ยังคงเป็นภาพผู้ชายอยู่ดี 

เรื่องราวอุปสรรคที่ผู้หญิงทั่วโลกต่างก็ต้องเจอนั้น ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาองค์กรและการจัดการอย่าง อลิส เอคลีย์ (Alice Eagly) ได้ออกมาพูดถึงปัญหานี้ในบทความ “Women and the Labyrinth of Leadership” ว่า คนเรามักที่ความคิดแบบเหมารวม หรือ Stereotype โดยเฉพาะเรื่องของบทบาททางสังคมที่แบ่งแยกหน้าที่ของคนในสังคมที่ชัดเจนมากจนเกินไป ทั้งนี้อาจจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ชุดความคิดดังกล่าวจึงนำไปสู่ความคาดหวังที่ว่า ผู้ชายต้องเข้มแข็ง เป็นผู้นำ ในขณะที่ผู้หญิงต้องมีความเอาใจใส่ อ่อนโยน 

เมื่อเราใช้ชุดความเชื่อดังกล่าวไปกับการทำงาน บ่อยครั้งเมื่อผู้หญิงคนใดทำหน้าที่เป็นผู้นำและแสดงพฤติกรรมที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนโยน ผู้หญิงคนนั้นจึงมักถูกสงสัยว่า ทำงานได้ดี แต่นิสัยไม่ดี ไปโดยปริยาย ทำให้หลายๆ องค์กรยังไม่ค่อยให้ความเชื่อถือหรือไว้วางใจผู้หญิงให้เป็นผู้นำมากนัก 

ข้อมูลจาก Fortune 500 สนับสนุนเรื่องราวอุปสรรคนี้ของผู้หญิง เมื่อพิจารณารายชื่อ CEO ทั้งหมดจาก 500 องค์กรในสหรัฐอเมริกา มีผู้นำที่เป็นผู้หญิงเพียงแค่ 10% เท่านั้นเอง หรือแม้กระทั่งการทดลองวิจัยเรื่องการรับสมัครคนในตำแหน่งหัวหน้า โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ทำหน้าที่เป็นเหมือนฝ่ายบุคคลที่เลือกคนเข้าบริษัท เงื่อนใขคือต้องคัดเลือกจาก resume เท่านั้น กลุ่มผู้เข้าร่วมทดลองส่วนใหญ่จะเลือก resume ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ทั้งๆ ที่คุณสมบัตินั้นอาจมีเท่ากัน หรือ ใกล้เคียงกันก็ตาม 


4 วิธีการที่จะช่วยให้เราแก้อุปสรรคที่มองไม่เห็นเหล่านี้ที่ผู้หญิงต้องเผชิญ

  1. แชร์เรื่องนี้ออกไปให้มากที่สุด ทำให้คนทั่วไปได้ตระหนักถึงความคิดเหมารวมที่ไม่ควรจะมีต่อผู้หญิง อันจะเป็นอุปสรรคในการขึ้นเป็นผู้นำ
  2. สกัดกั้นความคิดอคติ เมื่อมีคนพูดถึงหรือมีความคิดที่เป็นในเชิงอคติต่อผู้หญิงในสังคม เราต้องกล้าที่จะพูด หรือ ท้วงติงขึ้นมา เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ถูกต้อง
  3. สร้างความคิดที่ว่าเรื่องของผู้หญิงก็คือเรื่องของทุกคน สร้างสังคมที่มีคุณภาพ สังคมที่เปิดโอกาสให้คนทุกเพศ ไม่ตัดสินกันแค่เรื่องของเพศเพียงอย่างเดียว
  4. เพิ่มตัวแทนองค์กรที่เป็นผู้หญิง หากเราเพิ่มผู้หญิงให้เป็นตัวแทนขององค์กรมากขึ้น คนก็จะเริ่มเห็นบทบาทของผู้หญิงมากขึ้นตามไปด้วย การสร้างตัวแทนนอกจากจะเป็นกำลังใจให้กับผู้หญิงด้วยกันเองแล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ และเยาวชน ถือเป็นการวางรากฐานใหม่ในอนาคตไปพร้อมๆ กัน

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิง หรือไม่ เราก็ควรสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับสังคมในอนาคตด้วยการกำหนดว่า “เพศ” ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือก “ผู้นำ” อีกต่อไป แต่เราควรจะมองที่ศักยภาพ ความสามารถ และจิตใจในการทำหน้าที่เป็นหลักกันจะดีกว่า 

Related Articles

Value Proposition คืออะไร? ถึงทำให้ FlowAccount เติบโตและระดมทุนได้ถึง 130 ล้านบาท!

FlowAccount คือ โปรแกรมทำบัญชีออนไลน์ ครบจบในที่เดียว มีระบบการใช้งานที่ง่าย ทำให้ขั้นตอนการทำบัญชี ซื้อ-ขาย จ่าย-รับ ทำเงินเดือน ช่วยเปิดบิล บันทึกค่าใช้จ่าย ทำบัญชี และอื่น ๆ

Article | Business

สีสันการตลาด Thailand Zocial Awards 2020

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะ ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลอันดับ 1…

Article

Millennial Manager ผู้บริหาร Gen ใหม่ องค์กรต้องใส่ใจอะไรบ้าง

ดังนั้นหากคุณเองเป็นชาว Millennial Manager เราจะหยิบคุณลักษณะเฉพาะที่ชาว Millennial มี มาปรับให้เหมาะกับการเป็น Manager ขององค์กรได้อย่างไร

Article | Business