Trending News

Subscribe Now

เบื้องลึกเบื้องหลัง “ทำไมคนไม่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ”

เบื้องลึกเบื้องหลัง “ทำไมคนไม่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ”

Article | Living

หลังจากต้องทำงานที่บ้านกันมาได้สองปี หลายคนเริ่มปรับตัวและชอบการทำงานที่บ้านไปแล้ว เมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มดีขึ้น หลายคนจึงเริ่มรู้สึกไม่ค่อยเต็มใจที่จะกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศกันมากนัก แต่อะไรคือสาเหตุหลักที่พวกเขาเหล่านั้นไม่อยากกลับไปออฟฟิศกันนะ

การศึกษาล่าสุดจาก George Washington University พบว่า การทำงานที่บ้านทำให้พนักงานหลายคนไม่รู้สึกผูกพันกับหัวหน้า กล้าที่จะทำอะไรหลายอย่างโดยไม่แคร์สื่อ และสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่คนอยากทำงานที่บ้านมากกว่า นั่นเป็นเพราะพวกเขาสามารถรับ “งานนอก” ได้  มีตัวอย่างที่น่าตกใจคือ ข่าวของผู้ช่วยครูใหญ่คนหนึ่งที่ Washington D.C. กลายเป็นครูใหญ่ที่ Rhode Island ด้วย หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนเหล่านี้กล้าทำเรื่องบ้าบิ่นแบบนี้ได้  เนื่องจากไม่มีใครมาคอยสังเกตว่าผลการทำงานแย่ลง หรือ ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลงเพราะแอบทำงานนอก  โดยคนส่วนใหญ่กลับมองว่าเป็นเพราะต้องปรับตัวกับการทำงานที่บ้านมากกว่า ทำให้พวกเขาเหล่านี้ฉวยโอกาสตรงนี้แอบรับงานนอกเพิ่ม

งานวิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างกว่าพันคน 80% เป็นคนที่ทำงานที่บ้านตั้งแต่ปี 2020 อายุตั้งแต่  26-44 ปี อายุเฉลี่ยคือ 34 ปี  58% เป็นผู้ชาย และอีก 42% เป็นผู้หญิง  โดยคำถามหลักมีสองคำถาม ดังนี้

1. คุณเริ่มแอบทำงานนอกตั้งแต่เริ่มทำงานที่บ้านเลยไหม ถ้าใช่ ทำงานเฉลี่ยสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง?

จากคำตอบพบว่า 57% ทำงานประจำเพียงอย่างเดียว เพราะแค่งานประจำก็ยุ่งมากแล้ว  อีก 18% บอกว่าทำงานนอกตั้งแต่ก่อนเริ่มทำงานที่บ้านแล้ว  ส่วนอีก 13% ทำงาน 10-20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้กับบริษัทอื่น 8% บอกว่าใช้เวลา 20-30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับงานนอก  และอีก 4% บอกว่าทำสองงานพร้อมกัน นั่นแปลว่า คนกว่า 12% ทำงานนอกเกิน 20-30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

2. คุณคิดว่าการรับงานนอกทำให้ประสิทธิภาพในทำงานประจำลดลงหรือไม่?

พบว่า คนที่แอบทำงานนอก 10-20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดว่าการทำงานนอกมีผลต่องานประจำเพียงเล็กน้อย ส่วนคนที่แอบทำงานนอก 20-30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ต่างยอมรับว่าประสิทธิภาพในการทำงานประจำลดลงแบบเห็นได้ชัด 

จากข้อมูลนี้ เราน่าจะคาดเดาไว้ว่า ยิ่งคนแอบทำงานนอกมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งเชื่อว่าตัวเองทำงานประจำได้แย่ลงมากเท่านั้น  แต่ความจริงกลับไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว  เพราะคนที่แอบทำงานนอกเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลับคิดว่าไม่มีผลต่องานประจำแบบสุดๆ เพียงแค่เห็นได้ชัดเฉยๆ ไม่ต่างจากคนที่แอบทำงานนอก 20-30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความจริงมีคำอธิบายง่ายๆ ด้วย “ทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด” (Cognitive Dissonance) นั่นคือ ยิ่งเราทำงานหนัก เราจะยิ่งพยายามหาเหตุผลมาอธิบายความพยายามที่เราทำว่าถูกต้องแล้ว เรียกอีกอย่างว่าเป็นปรากฏการณ์ “Escalation of Commitment” การตัดสินใจที่ยังคงยึดถืออยู่กับการตัดสินใจเดิม เพื่อยืนยันว่าการตัดสินใจก่อนหน้านี้ถูกต้อง ทั้งที่มีหลักฐานว่าการตัดสินใจนั้นผิด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนขโมยเวลาทำงานประจำไปแอบทำงานนอก กลับรู้สึกว่าผลงานในงานประจำนั้นตกลงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น 

งานวิจัยนี้ได้ออกมาเขย่าความเชื่อเดิมที่ว่า การทำงานที่บ้านทำให้คนมีเวลาในการดูแลตัวเอง หรือใช้เวลากับการพักผ่อนหย่อนใจได้มากขึ้น  และแน่นอนว่าเราต่างก็ต้องการเงินที่มากขึ้น บางทีการทำงานนอกก็เป็นความท้าทายใหม่ๆ หรืออาจเป็นแค่การคว้าโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่มีในงานประจำ 


ดูเหมือนว่าความจงรักภักดีที่มีต่อบริษัทเป็นเรื่องที่หาได้ยากแล้วสมัยนี้ เพราะการทำงานที่บ้านทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ระหว่างเจ้านายลูกน้อง การสังสรรค์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือความผูกพันต่างๆ ถูกแทนที่ด้วยการตื่นสาย หรือ การประชุมทั้งที่ใส่ชุดนอน เป็นต้น เมื่อความผูกพันลดลงจึงเป็นเบื้องหลังที่ทำให้พนักงานบางคนกล้าที่จะรับงานนอกได้โดยไม่สนใจเจ้านายเลย และนี่คือสาเหตุเบื้องลึกที่ทำให้หลายคนไม่อยากกลับไปงานที่ออฟฟิศ เพราะทำให้พวกเขาแอบรับงานนอกไม่ได้นั่นเอง 


ที่มาของข้อมูลThe hidden reason people don’t want to go back to the office


เรื่อง:  ป่าน – อดามาส
Content Creator ผู้ชอบงานเขียนมากกว่าทุกสิ่ง และชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตที่หาคำตอบไม่ค่อยเจอ

Related Articles

3 สิ่งที่ผู้นำตัวจริงควรทำทุกวัน

ผู้นำแบบไหนที่โลกต้องการในศตวรรษที่ 21การเปลี่ยนแปลงในอนาคตไม่เลือกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง หัวหน้า หรือนั่งเก้าอี้ผู้บริหาร

Article | Entrepreneur

ใจบ้าน สตูดิโอ : กลุ่มสถาปนิกผู้เชื่อในพื้นที่สาธารณะของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

เมื่อพูดถึงพื้นที่สาธารณะ หลายคนอาจนึกถึงสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านสำคัญของเมืองเป็นลำดับแรกๆ แต่ประเด็นพื้นที่สาธารณะคราวนี้ เราอยากชวนทุกคนให้ลองมองในพื้นที่ขนาดเล็กลงมา จากสเกลเมืองสู่บริบทชุมชน ที่แม้จะมีขนาดเล็กกว่า แต่ก็มีสำคัญและส่งผลต่อผู้คนโดยรอบไม่น้อยไปกว่าโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะใหญ่ๆ และเป็นการเคลื่อนไหวจากพื้นที่ขนาดเล็กที่สามารถส่งผลใหญ่กระทั่งเข้าไปมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง นี่คือสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่พยายามทำมาโดยตลอด 10…

Article | Creative/Design