Trending News

Subscribe Now

อนาคตของมวลมนุษยชาติ กับ ยูวาล โนอาห์ ฮารารี ผู้เขียน Sapien

อนาคตของมวลมนุษยชาติ กับ ยูวาล โนอาห์ ฮารารี ผู้เขียน Sapien

Morning Call | Podcast

จากวิดีโอสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ The New York Times ที่สัมภาษณ์นักเขียน 2 ท่าน นั่นคือ โทมัส ฟรายด์แมน และ ยูวาล โนอาห์ ฮารารี ซึ่งเป็นคนที่เขียนหนังสือ Sapien โดยเฉพาะยูวาลที่โด่งดัง Sapien เป็นหนังสือที่พูดถึงมนุษยชาติ สิ่งที่หล่อหลอมเราที่ทำให้เราเป็นอย่างทุกวันนี้ โดยวิดีโอสัมภาษณ์นี้มีความยาวประมาณ 1 ชั่วโมกว่า ๆ พูดในเรื่องของอนาคต

เรื่องราวที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ใน The New York Times และจากการสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่ผ่านมา โดยเรื่องราวเริ่มจากยูวาลบอกว่าเดิมที่ความเป็นชาตินิยมค่อนข้างมีความสำคัญต่อมนุษยชาติ เพราะการเป็นชาตินิยมทำให้คนรักชาติ รักพื้นที่บ้านเกิดของตน ทำให้คนหลาย ๆ คนที่ไม่รู้จักกันเลยสามารถรักกันได้ เหมือนวลีที่เรารักประเทศไทย คนไทยหรือเปล่า ทำให้บางครั้งที่เราเจอคนไทยด้วยกันมันทำให้เราอยากคุย รู้สึกเชื่อถือ เชื่อใจ เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน เพราะความเป็นชาตินิยม สังเกตได้จากเวลาเราหลงทางในต่างประเทศแล้วเจอคนไทยด้วยกัน เราจะเชื่อสิ่งที่เขาแนะนำ ความเป็นชาตินิยมทำให้คนที่ไม่รู้จักกันเลยเพราะความเป็นชาตินิยม

ยูวาล พูดต่อว่าบางครั้งเราทะเลาะกับคนในครอบครัวเยอะกว่าคนนอกครอบครัวอีก แต่ในอนาคตความเป็นชาตินิยมไม่เพียงพอแล้ว แต่เราต้องคิดในระดับ Globalization หรือ การที่เราต้องทำอะไรร่วมกันระดับโลก ในอนาคตมี 3 เรื่องที่เป็นวาระสำคัญของโลกใบนี้

  1. ปัญหานิวเคลียร์
  2. ภาวะโลกร้อน
  3. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Technology Disruption)

สองเรื่องแรกเป็นเรื่องที่เรารู้กันอยู่แล้ว เคยศึกษามาแล้ว รู้แล้วว่าจะเกิดอะไร พอจะคาดเดาได้ และเหลือว่าเราจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้ไหม รณรงค์ได้จริงไหม แก้ปัญหาจริงได้ไหม แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องที่ 3 เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ทำให้คนในยุคนี้ยังไม่มีใครมองออกเลยว่าอนาคตในอีก 10-30 ปี ข้างหน้าจะหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะในบทสัมภาษณ์คนถามได้ถามยูวาลว่ามองอนาคตในระยะยาวอย่างไร ยูวาลบอกว่าคำว่าระยะยาวมันน่าสนใจมาก เพราะไม่รู้ว่าระยะยาวมันยาวขนาดไหน 

อนาคตของมวลมนุษยชาติ

มันทำให้นึกถึงพอดแคสของคุณรวิศ Mission to the Moon ว่า ถ้าเราสามารถย้ายคนจากเมื่อปี 1918 มาอยู่ในปี 2018 คน ๆ นั้นจะมีอาการช็อกตายได้เลย เพราะความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นค่อนข้างล้ำและเปลี่ยนไปมากจากเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา เขาอาจตกใจว่าเดี๋ยวนี้เราสามารถดูฟุตบอลแบบสด ๆ จากคนที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง หรือการวิ่งอย่างรวดเร็วของรถ รวมถึงการที่เรามีโทรศัพท์มือถือที่สื่อสารได้ตลอดเวลาแถมเห็นหน้าได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนช็อก แต่ถ้าเราพาคนจากปี 1818 มาอยู่ในปี 1918 เขาจะไม่ค่อยช็อกเท่าไหร่ เพราะวิวัฒนาการในช่วงปี 1818-1918 ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก

เรื่องนี้ทำให้คิดต่อได้ว่าพอวิวัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงมี AI ที่สามารถพัฒนาความรู้ของตัวเองได้อย่างรวดเร็วในระดับยกกำลัง ทำให้กราฟการเรียนรู้พุ่งสูงมากจนกลายเป็นเส้นชัน 

กลับมาที่บทสัมภาษณ์ ยูวาล บอกว่าเทคโนโลยีอย่าง AI หรือ Biotech มีความสามารถในการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย ดังนั้นด้วยการพัฒนาของมัน ทำให้เราไม่สามารถหยั่งรู้อนาคตได้เลย แม้จะเป็นระยะ 10-15 ปี ก็ตาม แม้แต่เรื่องง่าย ๆ อย่างเช่น ตลาดแรงงาน เราไม่รู้เลยว่าต่อไปจะมีใครตกงานขนาดไหน

บวกกับบทสัมภาษณ์ของทาง GM และผู้แปลหนังสือ Sapien ซึ่งยูวาลได้เสริมว่าเดิมทีการผลิตสินค้าที่ต้องทำในโรงงานต้องใช้แรงงานคน ซึ่งค่าแรงในอเมริกาและยุโรปมีราคาสูง จึงได้ย้ายฐานการผลิตมาในโซนเอเชีย แต่ถ้าในอีก 10-15 ปี การเข้ามาของ AI และ Robot ทำให้เรื่องของแรงงานราคาถูกไม่จำเป็นอีกต่อไป ฐานการผลิตอาจย้ายกลับไปที่อเมริกาหรือยุโรปแบบเดิมก็เป็นได้ สังเกตว่านักการเมืองหรือผู้นำประเทศหลาย ๆ คนในช่วงนี้พยายามไม่โฟกัสการพุ่งไปสู่อนาคต แต่จะพูดว่าอยากย้อนกลับไปอยู่ยุคอดีต เช่น โดนัลด์ ทรัมปป์ อยากย้อนกลับไปในปี 1960 รวมถึง ปูติน และผู้นำในตะวันออกกลางบางคนที่อยากย้อนกลับในช่วงคริสต์ศาสนาเพิ่งเริ่มต้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ตะวันออกกลางรุ่งเรืองที่สุด เป็นต้น 

ยูวาลบอกว่าเขาสามารถบอกเกี่ยวกับอดีตได้ 2 สิ่งคือ อดีตไม่ได้ดีอย่างที่เราคิด และต่อให้เราทำให้ตายยังไง อดีตก็ไม่มีทางย้อนกลับมา โดยตอนนี้ประเทศที่ยูวาลมองเห็นว่าใส่ใจกับการสร้างอนาคตมาก ๆ มีอยู่ประเทศเดียว นั่นคือ ประเทศจีน 

ในด้านของการศึกษา โทมัส บอกว่าการที่เขาได้มีโอกาสไปร่วมงานกับ AT&T มีช่วงหนึ่งที่ AT&T มีการเก็บข้อมูลของพนักงาน ดูความสามารถของพนักงาน และนำมาแมตช์กับความต้องการของบริษัท เช่น เมื่อเช็กความสามารถของพนักงาน แล้วสมมติว่าความต้องการของ AT&T มี 10 อย่าง แต่พนักงานมีความสามารถแค่ 7 อย่าง อีก 3 อย่างที่ยังขาด ทาง AT&T จะมี Online Course ให้เรียน และออกค่าเล่าเรียนให้ แต่มีข้อแม้คือ 3 เรื่องที่ต้องเรียนเพิ่ม ต้องใช้เวลาส่วนตัวไปเรียนเท่านั้น 

ยูวาลไม่เห็นด้วยและบอกว่ามันเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา แต่การที่เราจะให้คนต้องมาเปลี่ยนตัวเองโดยเฉพาะคนที่อายุเยอะแล้วน่าจะเป็นเรื่องยาก สำหรับคนอายุน้อยการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นความท้าทาย แต่สำหรับคนอายุมากมันเป็นความยากแล้ว 

ยูวาลบอกว่าสิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเราเปลี่ยนไม่ได้ หรือมีการวัผลที่ชัดเจน มันจะเกิดการแบ่งแยกอย่างชัดเจน เดิมที่ในศตวรรษที่ 20 เรามีการแบ่งแยกอยู่แล้วตามกลุ่มของคน เช่น กลุ่มคนเป็นเกย์ เลสเบี้ยน เอเชีย เป็นต้น การแบ่งแยกกลุ่มคนก่อให้เกิดการเหมารวมบางอย่างจากข้อมูลที่ผิดพลาด เช่น คนที่เป็นเกย์มีความเก่งและทะเยอทะยานสูง ผู้หญิงมีความอ่อนแอและเรื่องมาก ผู้ชายเป็นเด็กและติดเก็ม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการเหมารวมจากข้อมูลที่ผิดพลาด 

เราอาจเห็นผู้หญิงที่ดราม่าแค่กลุ่มเดียว  แต่เราก็เหมารวมว่าผู้หญิงทุกคนต้องเป็นแบบนั้น แต่ถ้าต่อไป AI หรือมีระบบที่สามารถ track คนได้แบบนั้น มันก็จะทำให้คนแย่ลง พูดง่าย ๆ ว่าไม่จำเป็นต้องโฟกัสแค่เรื่องของการศึกษา แต่ AI ฉลาดพอที่จะเก็บข้อมูลตั้งแต่สมัยอนุบาล สิ่งที่เราเคยไปพูด หรือโพสต์ตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ ซึ่งสามารถคิดคำนวณออกมาเป็นทัศนคติหรือพฤติกรรม และหากระบบบอกว่าเราเป็นคนขี้เกียจหรือไม่พยายามหาความรู้ใหม่ ๆ เราจะทำยังไง? เราต้องพยายามเป็นคนขยันในช่วงอายุ 40 หรือเปล่า มันเป็นเรื่องที่น่ากลัว

โทมัสบอกว่ามันอาจเป็นเรื่องดีก็ได้ถ้าระบบรู้ว่า เรามีความสามารถแค่ 7 จาก 10 อย่างที่ AT&T อยากได้ และเราบอกว่าเราปรับตัวไม่ได้ ระบบอาจแมตช์ได้ว่า 7 อย่างที่เรามีอาจตรงกับความต้องการของบางบริษัท มันอาจไปค้นหาบริษัทที่ต้องการ 7 อย่างนี้แล้วแมตช์พอดีก็ได้ 

อนาคตของมวลมนุษยชาติ

สิ่งที่น่าสนใจคือเดิมเราเคยถามเด็กว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร วันนี้เราต้องเปลี่ยนเป็นถ้าเขาอยากจะเป็นอะไร เขาจะสามารถเป็นแบบนั้นได้ยังไง เปลี่ยนจาก What you want to be when you grow up? เป็น How you want to be when you grow up? ไม่แน่ว่าแต่เดิมที่เราเรียนหนังสือเกือบ 15 ปี เพื่อเอาไปทำงานตอนอายุ 20 อาจจะสายไป การเรียน 5 ปี พอปีที่ 6 ความรู้เหล่านั้นอาจล้าสมัยไปแล้ว

อีกประเด็นคือเรื่องของการเป็นคนดี ยูวาลบอกว่าคำว่าผิดชอบชั่วดีจะให้คำนิยามมากขึ้นในอนาคต เพราะมนุษย์สร้างหลาย ๆ สิ่งขึ้นมาเยอะมาก จนทำให้ทุอย่างซับซ้อนและสับสน เช่น เมื่อก่อนในทางศาสนาบอกว่าห้ามลักขโมย วิ่งในสมัยก่อนอาจหมายถึงการหยิบของโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ววิ่งหนีไป แต่ถ้าในปัจจุบันเราบอกว่าเราไม่เคยขโมยของของใคร แต่บังเอิญเราไปซื้อหุ้นของโรงงานสักโรงงานหนึ่ง แล้วโรงงานนั้นตั้งใจปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ แทนที่จะถูกกฎหมายเล่นงาน แต่โรงงานนี้อาจมีทนายมือดีที่เปลี่ยนผิดให้เป็นถูกได้ ทำให้โรงงานไม่ผิดกฎหมาย โรงงานนี้ยังทำกำไรและแบ่งปันให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเราด้วย ถามว่าเราขโมยไหม Steal The River หรือเปล่า ซึ่งคำว่า Steal ในสมัยก่อนและปัจจุบันมีความแตกต่างและให้คำนิยามได้ยากกว่า

และทั้งหมดนี้ก็คือบทสัมภาษณ์ที่พูดคุยกันระหว่างบุคคลสองท่านที่มากด้วยความสามารถด้านเทคโนโลยีและอนาคต ซึ่งอย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า อนาคตแม้แต่ในระยะอีกแค่ 5ปี เท่านั้นก็ยังยากที่จะคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ภาพจาก Simon Wijers, Pixabay

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

4 เรื่องที่คุณต้องรู้ในการตั้งราคา

จากบทความที่แล้ว กล่าวถึงเรื่องที่ว่าทำไมลูกค้าไม่ซื้อของเรา เป็นเพราะราคาสินค้าเราแพงหรือลูกค้าไม่มีตังค์? ซึ่งจริงแล้วเหตุผลที่มากกว่าการตั้งราคาว่าจะถูกหรือแพง นั่นคือในมุมมองผู้บริโภค เขามองว่าสินค้าเรามีคุณค่าพอกับเงินที่จะจ่ายเขามากน้อยแค่ไหน ครั้งนี้เราเลยจะพูดถึง 4 เรื่องที่ต้องรู้ในการตั้งราคามาแนะนำให้ฟังกัน ต้องทำอย่างไร…

Creative Wisdom | Podcast

9 เทคนิค นำประชุมอย่างไร ให้จบไวและได้เนื้อหา

ประชุมอย่างไรให้ได้เนื้อหา ทริกนี้ เป็นสิ่งที่ได้ทดลองเองและสังเกตมาจากคนที่นำประชุมดี ๆ และได้อ่านมาจากบทความด้วย ซึ่งมีอยู่ 9 ข้อหลัก ๆ คือ…

Entrepreneur | Podcast | The Organice

ทำงานกับ Partner ยังไงให้ได้งาน ได้เพื่อน และได้เงิน

ในการทำงานเราต้องคุยกับคน 3 กลุ่ม คือเพื่อนร่วมงานในออฟฟิศคือคนที่ช่วยกันทำงานจนสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนรวมงาน น้องในทีมหรือเจ้านาย กลุ่มที่สองคือลูกค้า คนที่เราต้องแก้ปัญหาด้วย Product หรือ…

Podcast | The Organice