Trending News

Subscribe Now

The Archer เรียนรู้ปรัญชาชีวิตผ่านวิถีธนู

The Archer เรียนรู้ปรัญชาชีวิตผ่านวิถีธนู

Article | Living

‘คันธนูนั้นไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มันเป็นเพียงการยืดออกไปของมือและความปรารถนาในใจของผู้ยิงธนู มันอาจจะคร่าอะไรสักอย่างไป หรืออาจทำให้เราได้ไตร่ตรองอะไรสักอย่าง ดังนั้นจงชัดเจนกับความตั้งใจของตัวเองอยู่เสมอ’ – The Archer by Paulo Coelho

The Archer หรือ ปราชญ์แห่งธนู ผลงานของ Paulo Coelho (เปาโล คูเอลญู) นักเขียนระดับโลกเจ้าของหนังสือคลาสสิกอย่าง ‘ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน’ หรือ The Alchemist ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี

ซึ่ง The Archer นั้นเป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่เดินทางตามหานักธนูชื่อดังในตำนานนาม ‘เท็ตสึยะ’ นักธนูผู้ผันตัวมาใช้ชีวิตเงียบๆ เป็นช่างไม้ ซึ่งเด็กหนุ่มต้องการแสวงหาความรู้จากนักธนูในตำนานคนนี้เพื่อตอบคำถามมากมายที่เขาสงสัย พร้อมกับต้องการพิสูจน์ฝีมือของตัวเอง เขาจึงการพยายามให้ ‘เท็ตสึยะ’ แสดงฝีมือการยิงธนูออกมาให้ได้ ซึ่งเท็ตสึยะ ก็ได้ตอบคำถามมากมายของเด็กหนุ่มผ่านวิถีของการยิงธนู

โดยงานเขียนของ Paolo ในเล่มนี้ ให้ทั้งข้อคิดในเรื่องของเป้าหมาย , มิตรภาพ , การปรับตัว , การพัฒนาตัวเอง รวมถึงความสำคัญของความพยายาม โดยทุกอย่างล้วนเล่าผ่านวิถีของธนูที่เปรียบได้อย่างลึกซึ้งกับการใช้ชีวิต

และสิ่งสำคัญที่ The Archer ได้บอกเรา ก็คือ การใช้ชีวิตนั้นจะไม่มีทางเติมเต็มได้ หากการกระทำและจิตวิญญาณของเรานั้นดำเนินไปโดยไม่มีความเชื่อมโยงกัน และนอกจากนั้นแล้วชีวิตที่ถูกบีบหรือโดนตีกรอบโดยความกลัวที่จะถูกปฏิเสธหรือความกลัวที่จะต้องพบเจอกับความล้มเหลว ก็ไม่ใช่ชีวิตที่คุ้มค่า

เราจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงดูบ้าง เพราะถ้าคุณไม่ลองเผชิญกับความเสี่ยงเลย คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าตัวคุณนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง พร้อมกันนั้นคุณก็ต้องสร้างความกล้าหาญให้ตัวเอง และโอบกอดการเดินทางของชีวิตที่ไม่อาจจินตนาการคาดคิด ที่โชคชะตาได้หยิบยื่นให้

และหนังสือเล่มนี้ยังได้มอบปรัชญาของชีวิต ผ่านการยกตัวอย่างวิถีของคันธนูว่า วิถีของธนู เป็นทั้งวิถีของความเป็นสุขและความกระตือรือล้น เป็นทั้งวิถีของความสมบูรณ์แบบและความผิดพลาด และยังเป็นวิถีของวิธีการและสัญชาตญาณ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้และเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ หากเรายังไม่ล้มเลิกการยิงธนู

Related Articles

สู้วิกฤตการณ์โลกในอนาคตด้วย Data โดยใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์

จากบทความก่อนที่ผมเล่าว่า สังคมโลก พฤติกรรมมนุษย์จะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังวิกฤตนี้ เพราะในอดีตหลายวิกฤตก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อทั้งโลกไม่ว่าจะสงครามโลกหรือโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเมื่อปี 1918 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า  500 ล้านคนทั่วโลก วิกฤตการณ์เหล่านั้นยากที่จะป้องกันเพราะในอดีตยังไม่มีการทำข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ไม่รวดเร็วเช่นทุกวันนี้ …

Article | Technology

DEAR DARKNESS, ความมืดที่รัก นิทรรศการศิลปะบนเซรามิกในอารมณ์ดาร์ก ๆ

นิทรรศการศิลปะบนเซรามิกในอารมณ์ดาร์ก ๆ ที่จะพาไปสำรวจแสงสว่างและสีสันต่าง ๆ ในความมืดของจิตใจ พร้อมเรียนรู้เรื่องราวของโรคลมชัก รวมถึงการทำงานที่ใช้ความเศร้าหมองมาช่วยเป็นแรงผลักดัน ผ่านตัวละครชื่อ “กัดยิ้ม” ชมนิทรรศการฟรี…

Article | Creative/Design