Trending News

Subscribe Now

ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตัวแปรสำคัญที่สร้างความขัดแย้งต่อความคิดผู้คนในแต่ละเจน

ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตัวแปรสำคัญที่สร้างความขัดแย้งต่อความคิดผู้คนในแต่ละเจน

Article | Living

เด็กสมัยนี้ พวกรุ่นไดโนเสาร์ หรือมนุษย์ป้า มนุษย์ลุง นี้เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันอย่างมากเมื่อมีการปะทะกันทางความคิดระหว่างคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าในโลกออนไลน์ ก่อนปี 2000 ที่ผ่านมา โลกไม่เคยเผชิญความขัดแย้งทางช่วงวัยมากขนาดนี้ ความขัดแย้งเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้น ตั้งแต่การใช้ชีวิตในสังคม การทำงาน จนถึงความเชื่อเรื่องการเมืองและศาสนาต่างๆ โดยทั้งหมดนี้สิ่งที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งเหล่านี้ คือ ความเปลี่ยนของแปลงเทคโนโลยี

ช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา เราปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ถ้าลองภาพ 30-40 ปีที่แล้ว ไทยเองยังเป็นการเปลี่ยนแปลงโทรทัศน์ข่าวดำมาเป็นโทรทัศน์สี หลายบ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือโทรศัพท์และโลกยังไม่มีอินเทอร์เน็ต   ตอนนั้นหากดูจากความเร็วในการเปลี่ยนแปลงหรือการใช้ชีวิตแทบไม่มีความแตกต่างกันระหว่างคนรุ่นปู่รุ่นย่าหรือพ่อรุ่นแม่ เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ช้าไปในแต่ละปี แต่เมื่อมีการปฏิวัติโลกจากการกำเนิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเมื่ออินเทอร์เนต  และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่างๆ มีบทบาทในชีวิตประจำวันของคน ทำให้คนที่เกิดช่วงเวลานี้ได้เจออะไรใหม่ๆ ตลอดเวลาและรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้น แน่นอนสิ่งที่ตามมาคือเปลี่ยนแปลงทางความคิดและทัศนคติของผู้คนอย่างมากมาย เราลองมาวิเคราะห์เทียบกันในแต่ละช่วงวัยที่เกิดขึ้น 

ยุค Baby Boomer

1. ยุค Baby Boomer

คนยุคนี้เกิดในช่วงที่บ้านเมืองสงบสุข มีความเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาต่าง ๆ น้อยมาก คนรุ่นนี้ยังทำงานในที่ทำงานเดิมเป็นเวลานานเพราะต้องการความมั่นคงและ เก็บเงินสร้างเนื้อสร้างตัว สิ่งที่เกิดขึ้นของคนในช่วงเวลานี้คือ การทำอะไรแบบเดิม ๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่แทบไม่ต้องเผชิญ ทำให้คนรุ่นนี้รู้สึกว่าไม่ต้องประตัวอะไรมากนัก เพราะโลกมีความเปลี่ยนแปลงช้า เต็มไปด้วยความสุข และการแข่งขันในธุรกิจต่าง ๆ ยังคงมีน้อยอย่างมาก

ยุค Gen X

2. ยุค Gen X

คนยุคนี้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาและการเปลี่ยนไปของโลกทันที เช่นสังคมนิยมอย่างสหภาพโซเวียตล้มสลาย การเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนต หรือที่เรียกว่าโลกจากโลกอนาล๊อกมาเป็นดิจิทัลนั้นเอง  ทำให้คนที่เกิดยุคนี้เป็นคนที่ปรับตัวได้ค่อนข้างดี และเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงคืออะไร เริ่มมองเห็นว่าโลกรอบตัวเป็นอย่างไรบ้าง กลุ่มคนเหล่านี้มีความรับผิดชอบงานเหมือนคน Baby boomer  แต่ที่เปลี่ยนไปคือการมองหาโอกาสหรืออะไรที่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้างชีวิตมีความสมดุลมากขึ้น 

3. ยุค Gen Y

การพัฒนาของอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปของโลกคือธุรกิจเก่า เริ่มล่มสลายและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ คนกลุ่มนี้โตมาพร้อมกับ Youtube, Google หรือ Napster  นั้นพร้อมกับการมาของ iPhone  ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงของคนยุคนี้อย่างรวดเร็ว คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ไวมาก ส่งผลให้เกิดการปรับตัวเองอย่างเร็ว  สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนกลุ่มนี้เริ่มเห็นข้อมูลที่เข้ามา การที่โลกมีโจทย์ที่เปลี่ยนไปทำให้วิธีการแบบ Baby boomer ไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป และต้องการวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ไข 

นอกจากนี้ด้วยข้อมูลที่เข้ามา ทำให้คน Gen Y เห็นภาพที่คนละแบบกับ Baby boomer ที่ไม่เคยเห็นข้อมูลเหล่านี้ ทำให้มีชุดข้อมูลคนละแบบในการคุยและเกิดความขัดแย้งขึ้นมานั้นเอง 

4. ยุค Gen Z

Gen Z คือที่เกิดมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน ทำให้ว่าตัวเองมีทางเลือก ทำให้คนในยุคนี้ไม่ยึดติดกับอดีต และหาอะไรที่เหมาะสมกับตัวเอง รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ใช่ ทำให้คนในยุคก่อนหน้าจะรู้สึกว่าคนเหล่านี้ไม่มีความอดทน หรือเปลี่ยนงานบ่อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนยุคนี้จะรู้สึกว่าถ้าไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองต้องการทำไมต้องทน แขณะที่ยังมีทางเลือกอีกมากมาย 

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คนกลุ่มนี้ปรับตัวได้เร็ว เรียนรู้ได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีความมั่นใจในตัวเองสูง เพราะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองได้เห็นหรือเข้าใจจากการเปลี่ยนแปลงทางข้อมูลที่ตัวเองได้รับรู้ ทำให้พวกเขาขัดแย้งกับกลุ่มคน Gen Baby boomer หรือ Gen X เช่นกัน ด้วยข้อมูลที่มีมากกว่า ประกอบกับอารมณ์ที่ยังเป็นวัยรุ่นทำให้เกิดการตอบโต้อย่างรุนแรง 

ท้ายสุดแล้วความขัดแย้งทางช่วงวัยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะนิสัยหรือบุคลิกของคนยุคนั้นเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร  สิ่งหนึ่งที่ขาดอย่างมากในการสลายความขัดแย้งทางช่วงวัยเหล่านี้คือการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แล้วลดอัตตาของตัวเองลงนั้นว่า เป็นผู้ใหญ่ เกิดก่อน มีประสบการณ์ แต่พวกเขาต้องทำความเข้าใจว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน ความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอาจใช้ไม่ได้ในยุคนี้ และต้องเริ่มเรียนรู้จากคนยุคใหม่ คนรุ่นใหม่ก็ต้องเรียนรู้จากคนรุ่นเก่าในเรื่องประสบการณ์ที่เคยมี และวิธีการบริหารจัดการเรื่องรอบตัวต่างๆ ทิ้งอัตตาไป

ทั้งหมดนี้ถ้าคนทุกรุ่นร่วมมือกันได้ หาทางร่วมกันย่อมสามารถทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและทำให้คนทุกยุคสมัยรู้สึกมีความสุขขึ้นมาได้ทันที 

เรื่อง : ฉกาจ ชลายุทธ Co-Founder&Visionary Chaos Theory
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข


บทความที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

หลักการออกแบบ Apple Store เซ็นทรัลเวิลด์ ที่ซ่อนเทคโนโลยีไว้ในงานดีไซน์

Apple Store เซ็นทรัลเวิลด์ นับเป็นสาขาที่ 2 ในประเทศไทยที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คุณพัชระพล กาญจนสิริภักดี ได้มีโอกาสไปเดินชมบรรยากาศในร้านแห่งนี้มาแล้ว พร้อมกับมาแชร์ให้เราฟังในบทความที่แล้ว…

Article | Technology

‘นักดื่ม’ คนไม่ดีทางสังคม หรือ แพะรับบาป จากกลไกรัฐแบบไทยๆ

ดูจะเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานระหว่างภาครัฐไทยกับผู้ชื่นชอบการดื่มสุรารวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านนั่งดื่มทั้งหลายที่มักถูกผลักให้เป็นฝ่ายคนไม่ดีในสายตาสังคมเสมอ แต่นักดื่มเป็นคนไม่ดีจริงๆ หรือมีกลไกบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลังกระบวนการคิดนี้ หากไม่ดีจริงน่าสงสัยว่าทำไมรัฐถึงไม่สั่งห้ามจำหน่ายไปเลย วันนี้เราจึงขอชวนมาขบคิดกันในประเด็นนี้ อีกทั้งช่วงที่ผ่านมานี้บาร์หลายๆ แห่ง ต้องปิดตัวชั่วคราวตามมาตรการรัฐแต่ไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด Creative Talk…

Article | Living

สำรวจความเคลื่อนไหววงการออกแบบกับฉมา ในยุคที่สังคมก้าวสู่ยุคผู้สูงวัย

หลายปีมานี้ปรากฏการณ์ระดับโลกที่หลายประเทศต้องเจอ คือความท้าทายในการก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงวัย’ องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ในปี 2030 จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 1.4…

Article | Creative/Design