Trending News

Subscribe Now

นิทานเปลี่ยนโลก กำเนิดอาหรับราตรี และโคลัมบัสไม่ได้เจออเมริกา Storytelling part 1

นิทานเปลี่ยนโลก กำเนิดอาหรับราตรี และโคลัมบัสไม่ได้เจออเมริกา Storytelling part 1

Creative/Design | Morning Call | Podcast

วันนี้ได้รับเกียรติจากทาง DEPA ให้ไปร่วมพิธีเปิดออฟฟิศใหม่แถวลาดพร้าว โดยในช่วงพิธีเปิดมีการบรรยาย นำโดยผมและคุณไอซ์ ซึ่งเป็นผู้จัดคลาส DNA ให้กับทาง DEPA

หัวข้อที่ผมได้รับโจทย์มาคือ Storytelling ผมเลยตั้งชื่อหัวข้อว่า “Storytelling Secret and why it matters for brand” ตอนได้รับโจทย์มาก็ได้ไปทำรีเสิร์ช ต้องบอกว่าคำว่า storytelling เป็นคำที่ถูกพูดถึงมากแล้ว รวมถึงศาสตร์ของการเล่าเรื่องว่า ต้องเล่ายังไงให้คนสนใจ จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีมามากกว่าพันปีแล้ว เลยเกิดไอเดียว่าเราลองย้อนกลับไปศึกษาว่าการเล่าเรื่องมันสำคัญยังไงและในอดีตเขาเล่าเรื่องกันยังไง

Storytelling ในครั้งนี้ของแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ นิทานเปลี่ยนโลก เรื่องเล่าที่เราไม่เคยรู้หรือมีความเชื่อผิด ๆ มาตลอด มาดูว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ส่วนที่ 2 คือ Storytelling Secret ถ้าอยากเล่าเรื่องให้น่าเชื่อถือหรือเปลี่ยนโลกได้ต้องทำยังไง

หลายคนคิดว่าตัวเองเล่าเรื่องหรือพูดไม่เก่ง จะเป็น Storyteller ได้ไหม จริง ๆ แล้วทุกคนเป็นนักเล่าเรื่องอยู่แล้ว เราเล่าเรื่องของตัวเราเองตั้งแต่เช้าที่เลือกแต่งตัว เลือกว่าจะแต่งให้ดูสุภาพ เท่ หรือน่ารัก โดยเฉพาะผู้หญิงที่แต่งหน้าในลุคต่าง ๆ ก็เป็นการเล่าเรื่องเหมือนกัน หรือแม้กระทั้งกระเป๋าที่เราถือ ก็เป็น Story อย่างหนึ่ง

Timelines Of Everything เป็นหนังสืออินโฟกราฟฟิกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของทุกอย่าง รวมถึงการ Sharing Story ด้วย เมื่อย้อนกลับไปหาการเล่าเรื่องที่เก่าแก่ที่สุดคือ ยุคเมโสโปเตเมีย ผ่านภาพวาดต่าง ๆ แต่เรื่องที่หลายคนรู้จักน่าจะเป็น One Thousand And One Stories หรือในชื่อไทยคือ นิทานอาหรับราตรี มีความเก่าแก่ประมาณศตวรรษที่ 8-15

นิทานอาหรับราตรีมีเรื่องย่อยประมาณ 1,001 เรื่อง เป็นเรื่องราวของกษัตริย์ที่พบว่าภรรยานอกใจ กษัตริย์โมโหและแค้นที่ผู้หญิงไปคบชู้ หลังจากนั้นเขาเลยมุ่งมั่นว่าทุกคืน เขาจะไปหาผู้หญิงมาหนึ่งคนมานอนด้วยเพียงคืนเดียว เมื่อตื่นขึ้นมาเขาจะฆ่าตัดหัวผู้หญิงพวกนั้นทิ้ง เพื่อที่ผู้หญิงพวกนั้นที่เป็นเหมือนภรรยาของเขา จะได้ไม่ต้องนอกใจไปหาคนอื่นอีก เขาทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนไปเจอผู้หญิงอยู่คนหนึ่งที่ถูกคัดเลือกมา จริง ๆ พ่อของผู้หญิงคนนี้ไม่อยากให้ไป แต่ผู้หญิงคนนี้ทนเห็นสิ่งนี้ไม่ได้แล้ว ไม่รู้ผู้หญิงในเมืองนี้จะต้องถูกฆ่าอีกกี่คน จึงขัดใจพ่อและไปเป็นภรรยาให้กษัตริย์องค์นี้ 

ตกกลางคืนก่อนจะนอนกับกษัตริย์ ผู้หญิงขอกับเขาว่า เธอมีสัญญากับน้องสาวที่ตายไปแล้วว่าจะเล่านิทานในน้องสาวฟังและเธอคิดว่านี่เป็นคืนสุดท้ายแล้ว จึงจะขอเล่านิทานให้น้องผู้ล่วงลับฟัง กษัตริย์จึงอนุญาต ในขณะที่เล่า กษัตริย์ก็เคลิ้ม มาถึงตอนที่นิทานกำลังพีกผู้หญิงก็หยุด เพราะเธอเล่าจนถึงเช้าซึ่งหมดเวลาแล้ว เธอเล่าได้เฉพาะกลางคืน กษัตริย์ก็โมโห เธอบอกว่าถ้าอยากฟังต่อเดี๋ยวคืนนี้เล่าให้ฟัง กลายเป็นว่ากษัติร์ยต้องไว้ชีวิตเพราะอยากฟังนิทานต่อ

คืนถัดมาผู้หญิงคนนี้เริ่มเล่านิทานต่อและทำเหมือนเดิม คือเล่าจนถึงจุดพีกแล้วหยุดกลางคัน กษัตริย์ก็ไว้ชีวิตเธออีกเช่นเคย เป็นแบบนี้เรื่อย ๆ ทั้งหมด 1,000 คืน และคืนที่ 1,001 ผู้หญิงบอกว่าหมดเรื่องจะเล่าและวันนี้ไม่มีเรื่องเล่าแล้ว เธอเตรียมตัวที่จะตาย แต่กษัตริย์ตกหลุมรักเธอและไม่ต้องการฆ่าเธอแล้ว นิทานทั้งหมดที่เธอเล่ามาจึงกลายเป็นนิทาน 1,001 คืน นิทานหลาย ๆ เรื่องก็คือเรื่องที่เรารู้จัก เช่น ซินแบต อะลาดิน เป็นต้น

นิยายยาวเรื่องแรกของโลกเป็นของญี่ปุ่นเกิดเมื่อศตวรรษที่ 1000 ชื่อ The Tales Of Kenji หรือตำนานของเก็นจิ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ตกหลุมรักหญิงสาวต่ำต้อย จนคนอื่น ๆ อิจฉาหญิงสาวคนนั้นและเธอถูกกลั่นแกล้งจนตาย

ซึ่งหญิงสาวและจักพรรดิมีลูกคนหนึ่งชื่อเก็นจิ จักรพรรดิรักเก็นจิมาก แต่ให้ขึ้นครองราชย์ไม่ได้เพราะคนไม่ชอบ เก็นจิมีสัมพันธ์กับผู้หญิงมากมายและลงท้ายด้วยการไปมีอะไรกับพระชายาของจักรพรรดิ โดยนิยายเรื่องดังกล่าวเพิ่งมีการเฉลิมฉลองครบรอบ 1,000 ปี

ในศตวรรษที่ 16 เป็นช่วงกำเนิด Journey To The West หรือ Monkey Magic เรื่องราวการเดินทางของชาวพุทธที่เดินทางจากอินเดียไปจีน ซึ่งพอเดาได้ว่าเป็นเรื่องของพระถังซัมจั๋งกับไซอิ๋ว นอกจากนี้ในช่วงนี้ยังเป็นปีเริ่มต้นเรื่องต่าง ๆ ของ Shakespear อีกด้วย

ส่วนช่วงศตวรรษที่ 18 เริ่มมีนิยายจากพี่น้องตระกูลกริมม์ที่แต่งนิทานอย่างสโนวไวท์ ปี 1818 และนิยายของแมรี เชลลีย์ผู้แต่งแฟรงเกน สไตน์ ปี 1897 นิยายแดร็กคูล่า แต่งโดยแบรม สโตกเกอร์ และในปี 1865 ก็ได้แก่ Alice In Wonderland

ในช่วงปี 1864 – 1865 เป็นช่วงที่มีนิยาย Science Fiction หรือนิยายวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมาก โดยนิยายที่โด่งดังคือ Journey To The Center Of The Earth โดยช่วงนี้เป็นยุคทองของนิยาย เพราะปี 1887 ก็มีเชอร์ล็อก โฮล์มส์ และในช่วง 1997 – 2007 นิยายที่นับว่าโด่งดังคือ แฮรี่ พอตเตอร์ 

นิทานที่เปลี่ยนโลกมีอะไรบ้าง ?

จะขอยกเรื่องที่มีชื่อเสียงมา 3 เรื่อง

1. คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มีชื่อเสียงในเรื่องของการพิสูจน์ว่าโลกกลม และเป็นคนแรกที่ค้นพบทวีปอเมริกา สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราเรียนมา

แต่ความจริงคือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นคนอิตาลี แต่ตอนออกเรือ เขาออกมาจากสเปน ลองคิดภาพว่าจากยุโรปไปเอเชีย ก็ควรจะออกไปทางทิศตะวันออก เจอจีน อินเดีย ญี่ปุ่น แต่เพื่อพิสูจว่าโลกกลม เขาจะออกไปทางทิศตะวันตก เพราะถ้าโลกนี้มันกลมจริง ๆ เราจะสามารถเดินทางอ้อมโลกไปเจออินเดียได้อีกครั้ง

ตอนนั้นหลายคนบอกว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส อาจจะตกเลข เพราะเขาคิดว่าโลกเล็กและเดินทางไม่กี่วันก็อาจจะเจออินเดีย แต่ในความเป็นจริงแล้วใช้เวลานานกว่านั้น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ออกเดินทางและพบกับแผ่นดินที่เขาคิดว่านั่นคืออินเดีย เขาขึ้นฝั่งแล้วจับประชาชนมาทำเป็นทาส หลังจากนั้นก็นำทาสกลับมาขายที่ยุโรป

แต่ในความเป็นจริง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ไม่ใช่คนที่ค้นพบว่าโลกกลม เพราะทฤษฎีนี้มีมาตั้งแต่ยุคสมัยของ อริสโตเติล พูดง่าย ๆ คือยุคของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าโลกกลม

แล้วเขาเป็นคนค้นพบอเมริกาใช่ไหม? คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะประมาณ 500 ปีก่อนยุคคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เคยมีชาวกรีนแลนด์และชาวจีนเดินทางไปเจออเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องอาหารและการทอผ้า ที่สำคัญคือคนจีนที่เคยเดินทางไปถึงอเมริกาใช้เรือขนาดใหญ่ และมีจำนวนมากถึง 200 ลำ ในขณะที่คริสโตเฟอร์ใช้เรืองเพียงแค่ 3 ลำและมีขนาดที่เล็กกว่า เรียกได้ว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ไม่เคยเหยียบแผ่นดินอเมริกาเลยด้วยซ้ำ แต่เป็นหมู่เกาะบาฮามัส 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดนี้ขึ้น คือ วอชิงตัน เออร์วิ่ง นักเขียนเจ้าของเรื่อง Sleepy Hollows เรื่องของชายขี่ม้าหัวขาดที่ไล่ฆ่าคน และแต่งเรื่องประวัติศาสตร์ของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยมีการเขียนว่าเขาเป็นคนที่ค้นพบอเมริกาและค้นพบว่าโลกกลม ประกอบกับช่วงนั้นต้องการฮีโร่ เพื่อเชิดชูคน ๆ หนึ่งขึ้นมา จึงนำเรื่องของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ขึ้นมาเล่า นี่จึงเป็นตัวอย่างของนิทานที่เปลี่ยนให้โลกเชื่อว่าคน ๆ หนึ่งคือฮีโร่

2. สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด

ก่อนที่ดิสนีย์จะนำมาปรับ เนื้อเรื่องเดิมสโนไวท์เป็นเจ้าหญิงที่สลบอยู่บนปราสาท วันหนึ่งมีเจ้าชายขี่ม้าผ่านมาและแอบปีนเข้าไปในปราสาท เจอสโนไวท์หลับอยู่ เลยข่มขืนเธอจนมีลูกแฝด สิ่งที่ทำให้นิทานเรื่องนี้เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกคือ เจ้าชายอยากแต่งงานกับสโนวไวท์ แต่เขามีภรรยาอยู่แล้ว ซึ่งภรรยาไม่ชอบสโนวไวท์ รวมถึงลูกฝาแฝดและมีแผนจะฆ่าสโนไวท์ด้วย

3. ซินเดอเรลล่า

เนื้อเรื่องที่เราคุ้นเคยกันดีของซินเดอเรลล่าคือ หญิงสาวที่ลืมรองเท้าแก้วในงานเต้นรำและเจ้าชายก็ออกตามหาหญิงสาวคนนั้น โดยประกาศให้หญิงสาวทั่วทั้งเมืองมาลองใส่ ตามเนื้อเรื่องเดิมแล้วซินเดอเรลล่ามีพี่สาว 2 คน ที่อยากใส่เท้าตัวเองลงไปในรองเท้าแก้วให้ได้ แต่เท้าของพวกเธอใหญ่เกิน ทั้งสองเลยสับนิ้วโป้งและหั่นส้นเท้าตัวเองออก เพื่อให้พอดีกับรองเท้าแก้วแต่สุดท้ายแล้ววิธีนี้ก็ไม่ได้ผล เพราะในรองเท้ามีเลือด ทำให้เจ้าชายไม่เชื่อ

นับเป็นนิทานเปลี่ยนโลก 3 เรื่องดัง ที่ความจริงไม่เหมือนกับสิ่งที่เรารู้หรือเคยเชื่อมาก่อน ซึ่งต่อไปเราจะพาไปดูความลับของการเล่าเรื่องกับ 9 เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) ว่าเขาทำกันอย่างไรบ้าง

ภาพจาก Liana Mikah, Simon Matzinger

Related Articles

Content นั้นสำคัญ แต่การนำเสนอนั้นสำคัญกว่า

“แมกาซีนจะตายหมดหรือเปล่า”  “ถ้าถามกลับ เขาซื้อแมกาซีนเพราะอะไร เพราะกระดาษหรือเปล่า” เมื่อมนุษย์มีความต้องการข่าวสารที่เฉพาะสำหรับตนเองแล้ว รายการวิทยุจึงกลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของสื่อ Digital แต่รายการวิทยุหรือสื่อสมัยเก่านั้นจะเปลี่ยนตนเองได้อย่างไร ที่ผ่านมา สำนักพิมพ์ไทยรัฐ…

Creative Wisdom | Podcast

วิธีรับมือกับคนอารมณ์ร้อนในวันร้อน ๆ

สัปดาห์ที่ผ่านมาอากาศร้อนมาก ๆ จนแทบจะทำอะไรไม่ได้เลยเพราะไม่สบายเนื้อตัว หงุดหงิดก็ง่ายขึ้นมาก เพราะความไม่สบายตัวของเราก็ทำให้หงุดหงิดเบา ๆ เป็นทุนตั้งต้นตั้งแต่ออกจากบ้าน แล้วในวันร้อน ๆ แบบนี้เราเลี่ยงอะไรก็ได้…

Podcast | The Organice