Trending News

Subscribe Now

คุณกำลังโดนขโมยสมาธิหรือเปล่า

คุณกำลังโดนขโมยสมาธิหรือเปล่า

Article | Living

ทุกวันนี้เราเสียสมาธิในการทำงานง่ายกว่าเดิม จนอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งหลายคนมองว่าการที่เราเสียสมาธิง่าย หรือ “สมาธิสั้น” เกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เราไม่สามารถโฟกัสอะไรได้นาน

แต่วันนี้ นักเขียน Johann Hari จะมาอธิบายถึงแรงกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งเป็นพลังมหาศาลที่กำลังดูดความสนใจของเราออกจากสิ่งที่ควรสนใจง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยในหนังสือ Stolen Focus: Why You Can’t Pay Attention—and How to Think Deeply Again เขาพูดถึง 5 ประเด็น ดังนี้

คุณไม่ได้ล้มเหลวในการตั้งสมาธิ แต่คุณโดนขโมยสมาธิต่างหาก

ตอนนี้เรากำลังอยู่ในยุควิกฤติขาดสมาธิซึ่งท้าทายพอๆ กันกับวิกฤติโรคอ้วน หรือวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลย จากการวิจัยพบว่า นักเรียนนักศึกษาสามารถจดจ่อกับงานชิ้นหนึ่งได้เพียง 65 วินาที ในขณะที่พนักงานทั่วไปอยู่ที่ 3 นาที   แม้แต่นักธุรกิจหรือผู้บริหารระดับ Fortune Global 500 (การจัดอันดับประจำปีของบริษัทชั้นนำ 500 อันดับแรกทั่วโลก) ยังหาเวลาในการโฟกัสได้เพียง 28 นาทีต่อวัน 

บางคนอาจกำลังโทษตัวเองว่า ฉันมันอ่อนแอ ฉันมันไม่ได้เรื่อง แต่ความจริงแล้วจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 คน พบว่า การหลุดโฟกัสง่ายเกิดจากปัจจัยต่างๆ อีกมากมายที่ดึงความสนใจเราไป ตั้งแต่อาหารที่เราทาน ไปจนถึงอากาศที่เราหายใจเข้าไป และเรากำลังโดนขโมยสมาธิแม้กระทั่งตอนนอน  


หากพบว่าคุณใช้เวลาบนมือถือมากกว่า 3 ชั่วโมงในแต่ละวัน แปลว่าคุณกำลังสูญเสียสมาธิมากไปกว่าแค่โดนขโมยสมาธิ

ศาสตราจารย์ Earl Miller นักประสาทวิทยาแห่ง MIT บอกไว้ว่า สมองเราผลิตความคิดได้เพียงแค่ 1 – 2 เรื่องต่อครั้ง แต่คนในปัจจุบันกลับคิดว่าตัวเองสามารถจดจ่อกับโซเชียลมีเดียได้ถึง 6 แพลตฟอร์มในเวลาเดียวกัน ความจริงคุณไม่ได้จดจ่อ แต่คุณ “โยน” สมาธิข้ามไปมาต่างหาก และการโยนสมาธินี้มีราคาที่คุณต้องจ่าย ยิ่งข้ามไปมาระหว่างงานมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการทำงานของงานแต่ละชิ้นจะลดลงมากเท่านั้น หากคุณโดนรบกวนสมาธิ คุณจะต้องใช้เวลามากกว่า 23 นาทีโดยเฉลี่ยในการกลับมาโฟกัสใหม่ เพราะฉะนั้นถ้าคุณใช้เวลาบนมือถือมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน แปลว่าคุณกำลังมีปัญหาแล้วล่ะ 


โรคระบาดอย่างโควิด-19 ทำให้คุณต้องอยู่ในโหมด “ระแวดระวังสุดๆ” ซึ่งทำลายโฟกัสอย่างสิ้นเชิง

ลองนึกภาพตามว่า วันหนึ่งคุณไปเดินเล่น แล้วโดนหมีทำร้าย แต่คุณรอดมาได้ หลังจากนั้นหลายสัปดาห์หรืออาจจะหลายเดือน สิ่งที่คุณจดจ่อจะเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ จากที่ปกติคุณอาจจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า คุณจะกลายเป็นระแวดระวังสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวมากขึ้น และนั่นทำให้คุณตั้งสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ยากขึ้น เพราะคุณอยู่ในโหมดต้องคอยระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว แล้วเมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่าจะปลอดภัยแล้ว แต่กลับโดนหมีทำร้ายอีกครั้ง การระแวดระวังตัวที่มากกว่าเดิมนี้ เรียกว่า “Hypervigilence” หรือการระแวดระวังตัวแบบสุดๆ และนี่แหละคือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้


รูปแบบการทานอาหารแบบคนตะวันตกกำลังทำลายสมาธิและการโฟกัสของคุณ

หนึ่งศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ คือ “จิตเวชทางโภชนาการ” ซึ่งศึกษาว่าอาหารที่เราบริโภคเข้าไปมีผลต่อสมองอย่างไรบ้าง และจากการศึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้พบว่า “อาหารแปรรูป” ที่คนตะวันตกนิยมบริโภคช่วยฉุดพลังงานคุณให้ดีดขึ้นมาได้ แต่ก็ทำให้พลังงานตกได้เช่นกัน เหมือนกับการเติมน้ำมันสำหรับเครื่องบินเจ็ทลงไปในรถมินิ อีกทั้งอาหารที่คุณทานในปัจจุบันขาดสารอาหารจำเป็นที่สมองใช้พัฒนา มีงานวิจัยหนึ่งที่ให้เด็กเล็กปรับอาหารประจำวัน โดยตัดอาหารแปรรูปและอาหารสังเคราะห์ออกไป พบว่าเด็กๆ เหล่านั้นมีสมาธิมากขึ้นถึง 50% เพราะฉะนั้นพิสูจน์ได้แล้วว่าอาหารแปรรูปนอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังทำลายสมาธิหรือการจดจ่อไปด้วย  


หาทางพ้นวิกฤติโดยเริ่มจากภายใน

ทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่ตัวคุณก่อน พยายามหลีกเลี่ยงจากปัจจัยกระตุ้นที่ดึงความสนใจคุณไป เช่น เลิกตั้ง Notification ในมือถือ หรือเอามือถือไปไว้ไกลๆ เลยยิ่งดี นอกจากการหลีกเลี่ยงแล้ว เครื่องมือที่จะช่วยคุณจดจ่อได้ดีขึ้น คือ “การทำสมาธิ” ถ้าควบคุมปัจจัยภายนอกได้ยาก คุณก็ต้องหัดจากภายใน มีการวิจัยหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองสงบลง และทำให้คุณจดจ่อได้ดีขึ้น 

ปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เราเสียสมาธินั้นมีรอบด้าน และตราบใดที่ธุรกิจด้านโซเชียลมีเดียทั้งหลายยังทำเงินได้จากการขโมยความสนใจของเราไป ซึ่งนับจากนี้ไปจะยิ่งมีวิธีการที่แยบยลมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การพยายามกลับมาโฟกัสกับสิ่งตรงหน้าจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่จำเป็นต้องทำ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเรายังปล่อยให้เป็นแบบนี้เรื่อยๆ สุดท้ายสมองของเราจะเคยชินกับการเปลี่ยนโฟกัสไปมา และไม่สนใจกับประสิทธิภาพในการทำงาน จนในที่สุดสมองจะสูญเสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และทำงานได้อย่างลึกซึ้งนั่นเอง ส่วนใครมีคำถามอะไรเพิ่มเติม ลองไปหาหนังสือ Stolen Focus: Why You Can’t Pay Attention—and How to Think Deeply Again ของคุณ Johann Hari เพื่อหาคำตอบได้ จะได้ไม่ถูกขโมยสมาธิอีกอย่างไรล่ะ


ที่มาของข้อมูลIt’s not just you. Science explains how your focus is more scattered now and how to get it back

Related Articles

7 วิธีสร้างแบรนด์ผู้นำบน Twitter

“Twitter” แพลตฟอร์มที่เป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาหลากหลายของผู้คนบนโซเชียลมีเดีย เพราะฉะนั้นการที่แบรนด์สามารถเป็นผู้นำและสร้างคอนเน็กชันกับผู้ใช้บน Twitter ได้มีความสำคัญอย่างมาก แต่ด้วยสถานการณ์โควิดที่ถึงแม้กระแสจะซาลงแล้ว แต่ก็ยังไม่จบลงดี แล้วแบรนด์จะมีวิธีการสื่อสารอย่างไร? คุณเอมี่ สิทธิเสนี…

Article | Digital Marketing

Big History Project กับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โลก ที่สนุกที่สุด!

สนุกกับประวัติศาสตร์โลกไปกับ Big History Project วันนี้จะมาแนะนำเว็บไซต์ที่จะทำให้เรื่องน่าเบื่อ ๆ อย่างประวัติศาสต์โลกนั้นกลายเป็นเรื่องสนุกอย่าง BIG HISTORY PROJECT (school.bighistoryproject.com/bhplive)…

Article | Technology

Meta แล้วยังไงต่อ? ชวนฟัง Speakers CTC พูดถึงเรื่อง Metaverse

การเปลี่ยนชื่อจาก facebook มาเป็น Meta กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต้องหันมาให้ความสนใจ ทั้งในเรื่องของบริษัท Social Media ยกระดับองค์กรใหม่แบบเต็มตัว รวมไปถึงความตื่นตัวต่อโลก Metaverse

Article | Business