Trending News

Subscribe Now

6 สิ่งที่ SME ควรทำ ก่อนลุยขายของออนไลน์ในปี 2021

6 สิ่งที่ SME ควรทำ ก่อนลุยขายของออนไลน์ในปี 2021

Article | Digital Marketing

ยุคนี้ใคร ๆ ก็หันมาขายออนไลน์ จึงไม่ง่ายและต้องแข่งขันสูง แต่ถ้าคุณยอมลำบากทำการบ้านหนักในตอนนี้ CREATIVE TALK เชื่อแน่ว่าคุณจะขายได้ขายดีอย่างแน่นอน ลองมาตั้งหลักกันด้วย 6 สิ่งที่ SME ควรทำ ก่อนลุยขายออนไลน์ในปี 2021 ซึ่งเราได้สรุปเคล็ดลับจาก คุณทิป มัณฑิตา จินดา Digital Tips Academy มาฝากกันค่ะ

1. ขายของออนไลน์ถ้าไม่ต่างก็ตาย

การสร้าง Branding นั้นสำคัญมาก ท่ามกลางสินค้าส่งตรงจากจีนเข้ามาตีตลาดไทยในราคาที่ถูกกว่า พ่อค้าแม่ค้าไทยจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ชูจุดเด่น มีคุณภาพ และบริการที่ใส่ใจผู้ซื้อ เพื่อจะสู้และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ เช่น หมูแดดเดียวตราอีเหมียวปีนตู้กับข้าว ไม่ใช่อาหารแปลกใหม่ แต่เพราะคาแรกเตอร์ที่ชัดเจน นำเสนอน่าสนใจ ตั้งแต่การตั้งชื่อแบรนด์ได้ติดหู ไปจนถึงวิธีโพสต์สร้างอารมณ์ขันแบบที่คนไทยชอบ ทำให้ลูกค้าจดจำได้และพร้อมจะเปิดใจช่วยอุดหนุน ยิ่งถ้าติดใจในสินค้าเพราะรักษาความอร่อย ความสะอาด และความใส่ใจไว้ได้สม่ำเสมอ ก็มีโอกาสสูงที่ลูกค้าจะเวียนกลับมาซื้อซ้ำ เป็นลูกค้าขาประจำของเราได้

2. ต้องเรียล จริงใจ เป็นตัวของตัวเอง และน่าเชื่อถือ

ถึงพูดไม่เก่งก็อาจ LIVE ขายของได้ดี ลูกค้าสมัยนี้ดูกันที่ความจริงใจ สินค้ามีสรรพคุณตรงกับความต้องการ ยิ่งถ้านำเสนอขายได้ถูกใจตรงจริตกันก็เป็นอันลงชื่อสนใจหรือ CF กันรัวๆ ส่วนถ้าคุณต้องการขายสินค้าล็อตใหญ่เข้าองค์กร ก็จำเป็นต้องมีความน่าเชื่อถือสูงจึงจะตีตลาด B2B ได้สำเร็จ เช่น เว็บไซต์ที่ดีไซน์ทันสมัยสวยงาม ระบบการใช้งานง่าย โหลดไว และมีเนื้อหาครบถ้วน เป็นต้น

3. เข้าใจธรรมชาติของผู้ใช้งานแต่ละแพลตฟอร์ม

ก่อนจะไปตีตลาดที่ไหนก็ต้องศึกษาทำการบ้าน เรียนรู้ธรรมชาติของคนในสังคมโซเชียลนั้นให้ดีเสียก่อน การปล่อยโฆษณาตัวเดียวกันลงทุกแพลตฟอร์ม ไม่มีทางได้ผลเท่ากัน หากต้องการขายของใน TikTok อย่างน้อย 120 นาทีแรก ก็ต้องให้เวลาตัวเองศึกษาระบบ และให้ระบบได้เรียนรู้ความสนใจของเรา จึงจะทำให้เรามองหาวิธีต่อยอดต่อไปได้

4. เก็บ Data มาวิเคราะห์ลูกค้าให้ลึกขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ SME ขนาดเล็กแค่ไหนก็สามารถเก็บข้อมูลได้ หากใครยังไม่เริ่มเก็บฐานข้อมูลก็ควรรีบ เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ทำให้นักการตลาดและผู้ประกอบการจะถูกปิดกั้นข้อมูลไม่ให้เข้าถึง Insight ของลูกค้าได้ง่ายๆ อีกแล้ว ถ้าหากลูกค้าไม่ยินยอม ทำให้โอกาสจะทำโฆษณาแบบ Retargeting เพื่อตามตื๊อให้ลูกค้าซื้อนั้นทำได้น้อยลง แล้วการคำนวณ cost per result ก็จะลดความสำคัญลงด้วย ทำให้ไม่คุ้มค่ายิง Ads ที่ต้องจ่ายแพงขึ้น

ถ้าจะให้ดีต้องมี 1st Party Data ของตัวเองไม่อาศัยแต่ 3rd Party Data ของแพลตฟอร์มต่างๆ เพราะจะช่วยหา Interest มาทำ Marketing แบบ Lookalike Audience นำไปวิเคราะห์ศึกษาพฤติกรรมและเส้นทางการจับจ่ายของลูกค้าได้ละเอียดขึ้น เพื่อที่จะสามารถประเมินความต้องการสินค้าของลูกค้าได้.เมื่อนักการตลาดติดตามเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า (Conversion Tracking) มาได้ จะช่วยให้แรนด์วางกลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย เพื่อปิดการขาย (Consent) ได้นั่นเอง และคุณทิปยังแนะนำให้ทุกคนลองศึกษาวิธีใช้งาน LINE OA เพื่อเก็บ 1st Party Data จากลูกค้าโดยตรงไว้ด้วย

แบรนด์ควรระวังเรื่องอะไรบ้างในการเก็บข้อมูลส่วนตัว เพราะอาจผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ลองอ่านได้ในบทความนี้

5. ป้อนคอนเทนต์และปั้นคอมมูนิตี้เพิ่มการมีส่วนร่วม

หมดยุคการขายแบบ Hard Sale หรือกำงบยิง Ads อย่างเดียวแล้ว เพราะระบบอัลกอริธึมที่เปลี่ยนบ่อย ทั้งยังแตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม จะทำให้คุณปั๊มยอดไปไม่ถึงไหน ถ้าไม่มียอดออแกนิกจากคอนเทนต์ที่ดีมาช่วยพยุงไว้

คอนเทนต์จะช่วยสร้าง Brand Awareness ให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้คนได้ ซึ่งจำเป็นต้องเล่าเรื่องที่ลูกค้าอยากฟัง เป็นประโยชน์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ถ้าจะทำโฆษณาก็ต้องใส่ความครีเอทีฟสูง เพิ่มความสนุกน่าติดตาม ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายใส่ใจและให้ความสำคัญ.คุณทิปยังให้ความเห็นว่า Video Content สั้นๆ ยังมีช่องว่างให้เป็นพื้นที่ทำคอนเทนต์แทรกโฆษณาได้ และหากจะทำ Live ให้ลองทำเป็นคลิปแนวตั้ง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีกว่าสำหรับผู้ชมผ่านมือถือเพราะดูได้เต็มจอ ซึ่งสร้างข้อได้เปรียบในแพลตฟอร์มอย่าง TikTok, Facebook Live, และ Instagram ได้

Live ขายของยังต้องกลายเป็น Livetertainment เหมือนรายการวาไรตี้ที่คาดเดาไม่ได้ เสน่ห์บางอย่างจะทำให้คนติดใจ อยากมาเฝ้าจอรอชมไลฟ์ครั้งต่อไป กระตุ้นให้ตื่นเต้นอยากมีส่วนร่วมทดสอบความมือไว กดจองซื้อให้ทันสักครั้ง เป็นต้น

6. ใส่ใจประสบการณ์ลูกค้าและต้องไม่ลืมดูแลงานหลังบ้าน

ก่อนจะยิง Ads ควรเตรียมการวางแผนไว้หลายๆ กรณี ดูกำลังการผลิตออร์เดอร์มีเท่าไหร่ ต้องสต๊อกสินค้าแค่ไหน มีคนคอยตอบคำถามและดำเนินการจัดส่งได้ทันใจลูกค้าหรือเปล่า อย่าปล่อยให้เกิดเหตุขายดีแต่โชคร้ายที่คนหรือของเราไม่พอ ก็จะเป็นอันเสียลูกค้าไปอย่างน่าเสียดาย

สรุปจาก Digital SME Trends Q1/2021 สามารถรับชม LIVE เต็มๆ ได้ที่นี่
Facebook: https://www.facebook.com/creativetalklive/videos/1644016769138890
YouTube: https://youtu.be/snrm0nv53qU

ติดตามอ่านและรับชมรับฟัง CREATIVE TALK ได้ทาง

Related Articles

พิชิต Customer Journey ด้วยหลัก Customer Aspiration

ในสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจแข่งขันกันสูง การส่งมอบการเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความแตกต่างให้แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ

Article | Business | Digital Marketing

ความพยายามอยู่ที่ไหน แล้วเราจะเจออะไรอยู่ที่นั่น

ความพยายามในหลายครั้งถูกพูดถึงแนวคิดที่เรียกว่า GRIT ซึ่งหมายถึง ความทรหดอดทน เป็นความมุ่งมั่นกับการทำบางอย่างให้สำเร็จอย่างไม่ย่อท้อ

Article | Living

Millennial Manager ผู้บริหาร Gen ใหม่ องค์กรต้องใส่ใจอะไรบ้าง

ดังนั้นหากคุณเองเป็นชาว Millennial Manager เราจะหยิบคุณลักษณะเฉพาะที่ชาว Millennial มี มาปรับให้เหมาะกับการเป็น Manager ขององค์กรได้อย่างไร

Article | Business