Trending News

Subscribe Now

เข้าใจอารมณ์ลบและจัดการอารมณ์โกรธใน 1 นาที

เข้าใจอารมณ์ลบและจัดการอารมณ์โกรธใน 1 นาที

Article

เหตุการณ์เดียวกัน แต่ละคนมีวิธีการรับมือแตกต่างกัน เมื่อเกิดอารมณ์ลบ อย่า.. อย่ารีบขจัดมันออกไป ให้สำรวจมันก่อนว่า ทำไมเราถึงโกรธ ทำไมเราถึงเสียใจ ทำไมเราถึงอิจฉา?

1.ระบุให้ได้ว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นคือความรู้สึกอะไร

เช่น เมื่อถูกหัวหน้างานตำหนิ แล้วเรารู้สึกไม่ดี ต้องบอกให้ได้ว่าความรู้สึกนั้นคืออะไร เช่น อัดอั้นใจ โกรธ เกลียด เสียใจ เป็นต้น

2. ความคิดแบบไหนที่ทำให้เกิดความรู้สึกนี้เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น

สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจคือ ปัจจัยภายนอก ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกทั้งหมด ขั้นตอนต่อไปเราอาจจะต้องสำรวจปมในใจลึก ๆ ว่า อะไรที่มากระตุ้นให้ควบคุมความรู้สึกไม่ได้ ให้เกิดความรู้สึกไม่ดี เช่น อาจเป็นคำพูดหนึ่งที่หัวหน้าใช้ตำหนิ ซึ่งเป็นคำที่เคยทำให้เรารู้สึกไม่ดีมาก่อน เป็นต้น

3. พุ่งความสนใจไปกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ทำความเข้าใจและยอมรับว่า ความรู้สึกทางลบไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ปัจจุบันดีขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรพุ่งความสนใจไปกับการหาวิธีแก้ปัญหาจะดีกว่า

ดังนั้น เมื่อใดที่คุณเกิดอารมณ์ลบ ให้ลองใช้เวลา 1 นาที เดินหนีอออกสถานการณ์นั้น หาที่เงียบ ๆ อยู่คนเดียว และอนุญาตให้ตัวเองโกรธ แล้วรับความโกรธกับตัวเองให้ได้ และรีบหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้

ฟังพอดแคสต์ได้ที่

SoundCloud : https://bit.ly/3jb8f9c
YouTube : https://youtu.be/vBa6Q0EKRtE

Related Articles

ต้องพัฒนาแค่ไหนถึงจะพอ? ในยุคช่องว่างทางทักษะ

เมื่อสกิลที่องค์กรอยากได้ กับสกิลที่คนทำงานมีเริ่มไม่แมตช์กัน สกิลที่เรามีจะพอไหม เมื่อช่องว่างทางทักษะกำลังบีบให้พนักงานต้องพัฒนาตัวเองมากกว่าเดิม

Article | Technology

“เปลี่ยนจุดอ่อน ให้เป็นจุดแข็ง” ด้วยการบอกจุดด้อยของตัวเอง

จุดอ่อนของคุณคืออะไร? ถ้าใครเคยผ่านการสัมภาษณ์งานมาแล้ว หนึ่งในคำถามที่มักจะถูกถามอยู่เสมอก็คือ “จงบอกข้อเสียของคุณ” ดังนั้น เวลาเรากำลังพรีเซนต์อะไรก็ตาม “อย่าลืมนำเสนอจุดอ่อนของเราด้วย” ลองนึกภาพตามว่า ตลอดเวลาที่เรากำลังพูดถึงข้อดีต่าง ๆ…

Article

มีแผนสำรองไม่ได้มีแต่เรื่องดี! มารู้จักความอันตรายของการมีแผนสองในชีวิต

เรามักถูกสอนมาตลอดว่าการมีแผนสำรองในชีวิตเป็นเรื่องจำเป็น หากไม่มีแผนสำรองก็เหมือนใช้ชีวิตอย่างประมาท แต่การมีแผนสำรองเป็นเรื่องที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ จริงๆ หรือ

Article | Living