Trending News

Subscribe Now

เมื่อสื่อยักษ์ NYTimes ซื้อ Wordle เสน่ห์เดิมของเกมนี้จะเปลี่ยนไปไหม?

เมื่อสื่อยักษ์ NYTimes ซื้อ Wordle เสน่ห์เดิมของเกมนี้จะเปลี่ยนไปไหม?

Article | Living

Wordle คืออะไร? แล้วทำไมสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง New York Times ถึงต้องลงทุนซื้อ?
ซึ่งถ้าเกมฟรีอย่าง Wordle ถูกซื้อแล้ว Core Values เดิมของเกมที่บรรดาแฟนเกมหลงรักจะเปลี่ยนไปจากเดิมไหม ลองมาหาคำตอบกัน


Wordle คืออะไร? ทำไมถึงฮิต

Wordle คือเกมเดาคำศัพท์ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยวิศวกรซอฟท์แวร์ชาวอเมริกันอย่าง ‘Josh Wardle’ โดยแต่เดิมนั้นเขาสร้างเกมนี้เป็นโปรเจกต์เล็กๆ เพื่อเล่นกันในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว กระทั่งค่อยๆ พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับผู้เล่นกลุ่มใหญ่และเป็นสาธารณะอย่างในปัจจุบัน 

ด้วยตัวเกม Wordle เองนั้นมีความเรียบง่ายมากๆ ทุกๆ 24 ชั่วโมง จะมีคำศัพท์มาใหม่ เอกลักษณ์คือทุกคำศัพท์จะมี 5 ตัวอักษร ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เล่นทุกๆ คนได้ลองทายดู โดยผู้เล่นสามารถลองทายได้ 6 ครั้ง ซึ่งเกมนี้สามารถเล่นได้ในเว็บบราว์เซอร์ทั้งในโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์  

Wordle ถูกปล่อยออกสู่สาธารณะครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2021 และเพียงไม่กี่เดือนเกมนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง กระทั่งในวันที่ 10 มกราคม เกมนี้มีผู้เล่นมากถึง 2.7 ล้านคน ก่อนจะถูกซื้อโดยบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง New York Times ในเดือนมกราคมปี 2022 หรือไม่กี่วันที่ผ่านมา


ทำไม New York Times ถึงต้องซื้อ Wordle?

ความนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของเกมทายคำศัพท์เกมนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเล่นๆ เพราะสำหรับโลกของเกมแล้วความนิยมของ Wordle ถือเป็นปรากฎการณ์หนึ่งเลยทีเดียว 

เป็นเรื่องง่ายมากที่เกมนี้จะทำให้ผู้เล่นรู้สึกติด ถึงขนาดที่มีกลุ่มผู้เล่นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
นับแต่ตอนเปิดตัวในช่วงเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา และมีรายงานว่ามีผู้เล่นเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านคนในระยะเวลาไม่กี่เดือน ความสำเร็จอันรวดเร็วนี้เลยทำให้ Wordle ดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อรายใหญ่ อย่าง ‘New York Times’ ได้


การซื้อของ New York Times ส่งผลกระทบอย่างไรต่อแฟนเกม?

เมื่อสื่อรายใหญ่อย่าง New York Times ประกาศว่าซื้อ Wordle ได้สำเร็จ แฟนๆ เกม Wordle ต่างตกอยู่ในความรู้สึกไม่มั่นใจว่าการซื้อกิจการครั้งนี้จะกระทบกับ core values ของเกมที่พวกเขาเล่นอยู่ทุกวันหรือเปล่า หรือว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปไหมหลังการซื้อครั้งนี้

หากพูดถึงเสน่ห์ของเกม Wordle แล้ว คงหนีไม่พ้น เรื่องความพร้อมใช้และการใช้งานได้สม่ำเสมอ สามารถรองรับกลุ่มคนจำนวนมาก รวมถึงการดีไซน์ที่เรียบง่าย อีกทั้งยังไม่มีโฆษณาหรือ pop-ups ขึ้นมาคอยรบกวน มีเพียงจอสองจอซึ่งแสดงตัวเกมและผลการเล่นซึ่งผู้เล่นสามารถแชร์ผลการเล่นของตัวเองให้เพื่อนๆ ได้ และยังเป็นเกมที่เล่นกันได้ง่ายๆ ทั้งในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว จนขับเคลื่อนให้เกิดเป็น community ได้


แต่เมื่อ New York Times เข้ามาซื้อ บรรดาแฟนๆ ของ Wordle จึงเริ่มเป็นกังวลว่าคุณภาพเหล่านี้ที่พวกเขาหลงรักอาจจะเปลี่ยนไป…

ด้วยความที่สื่อกระแสหลักเจ้าใหญ่นี้มีการตามเก็บข้อมูลเพื่อระบบ subscription และ paywall (วิธีการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ผู้อ่านสมัครจ่ายเงินเป็นสมาชิก) ทำให้แฟน Wordle บางส่วนเป็นกังวลว่าเกมโปรดของพวกเขาจะถูกใช้โมเดลเดียวกันกับ New York Times หรือเปล่า

ซึ่งความกังวลในเรื่องของ paywall ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเพียงข่าวลือ แต่ก็ยังไม่อาจหยุดยั้งความคิดของแฟนๆ ได้ว่า New York Times จะมองหาการทำกำไรจากการซื้อ Wordle (แม้บริษัทไหนต่างก็ทำเป็นเรื่องปกติ) ทว่าตราบใดที่ New York Times จะมองหาหนทางที่นำมาซึ่งแหล่งรายได้จากเกมยอดนิยมนี้ แต่ขณะเดียวกันนั้นก็ไม่ได้ลด core values เดิมของเกมและ community นี้ไป ความกังวลของผู้เล่นก็คงจะลดลงไปได้อย่างแน่นอน 


ซึ่งเราก็เชื่อว่าหลายคนคงจะจับตาดูว่าสื่อยักษ์ใหญ่เจ้านี้จะจัดการกับเกมคำศัพท์นี้ต่อไปอย่างไรในอนาคต


อ้างอิงเนื้อหาจาก


เรื่อง:  ป่าน – อดามาส
Content Creator ผู้ชอบงานเขียนมากกว่าทุกสิ่ง และชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตที่หาคำตอบไม่ค่อยเจอ

Related Articles

WEE! Active Work Desk เป็นทั้งโต๊ะทำงานและชิงช้าในตัว!

โต๊ะทำงานเป็นอีกที่ ที่เราใช้เวลานั่งจมอยู่เกือบทั้งวันแทบจะไม่ได้ขยับไปไหนเลย ทำเอาหลานคนเส้นตึงกันไปยกใหญ่ Simonas Palovis ดีไซน์เนอร์จากลิธัวเนีย จึงได้ออกแบบ “WEE! Active Work Desk” โต๊ะทำงานสไตล์มินิมอลที่เรียบง่าย แต่โก้มากกกกก มาพร้อมความมหัศจรรย์…

Article | Creative/Design

Spotify เล็งยกเลิกระบบ Shuffle เพื่อความสุนทรีย์ในการฟังเพลง

เคยมั้ยครับเวลาเราฟังเพลงในอัลบั้มต่างๆ ที่เรียงเรื่องราวและอารมณ์เพลงไว้อย่างดี แต่ต้องมาเจอการข้ามเพลงไปข้ามมาแบบที่เราไม่ได้ตั้งใจ

Article | Digital Marketing

ลบความจริงไม่ได้ มาลบอดีตใน Social Media กันดีกว่า

70% ของผู้จ้างงานเข้าไปดูข้อมูลของผู้สมัครผ่านทาง Social Media และ พนักงานกว่า 1 ใน 3 ที่โดนตำหนิหรือไล่ออก มีต้นตอมาจากเนื้อหาที่โพสต์ใน Social Media

Article | Living