Trending News

Subscribe Now

การรับคนเข้าทำงานที่ผิดพลาดของหัวหน้ามือใหม่

การรับคนเข้าทำงานที่ผิดพลาดของหัวหน้ามือใหม่

Morning Call | Podcast

จาก “ลูกน้องมืออาชีพ” สู่ “หัวหน้ามือใหม่” เลือกลูกน้องยังไงให้มีประสิทธิภาพ?

แน่นอนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งของการทำงาน เราจะกลายร่างจาก “ลูกน้อง” สู่ “หัวหน้า” ที่มาพร้อมหน้าที่ความรับผิดชอบมากมาย ซึ่งหน้าที่หนึ่งที่เราต้องได้รับแน่นอนนั้นคือการหา “ลูกน้อง” นั่นเอง

แล้วส่วนมากเราเลือกลูกน้องจากอะไรกัน ? คุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ได้พูดถึงการหาลูกน้องไว้ว่า

“คนที่อยู่ในระดับหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัท ที่จำเป็นต้องหาลูกน้องเพื่อขยายหรือสร้างทีม สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนเป็นหัวหน้าคือ เรามักจะมองหาคนที่เหมือนเรา หรือ มินิมี (Mini Me) ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราก็จะได้งานรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่หลากหลาย เพราะเมื่อหัวหน้าเสนอไอเดีย ไอเดียหนึ่งไป ทุกคนก็จะเห็นด้วยหมด”

แน่นอนว่าปัญหาการมองหาคนที่เหมือนกันของหัวหน้าเป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดา Whitney Johnson เจ้าของหนังสือ Build an “A” Team: Play To Their Strengths and Lead Them Up the Learning Curve และนักเขียนแห่ง Harward Business Review หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาเขียนเป็นบทความในหัวข้อ “3 Common Hiring Mistake New Manager Should Avoid” หรือ 3 ข้อผิดลาดที่ผู้จัดการมือใหม่ควรหลีกเลี่ยงในการจ้างคน

1. If only I could clone myself (ถ้าแค่ฉันจะสามารถสร้างอีกร่างของตัวเองขึ้นมาได้)

การจ้างลูกน้องที่เหมือนเรามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ไอเดียไม่หลากหลายซึ่งเป็นการทำร้ายทีมแล้ว ยังเป็นการทำร้ายลูกน้องในทีม เพราะเขาจะถูกจำกัดการเรียนรู้ (Learining Curves) จากการที่ทุกคนคิด และทำเหมือน ๆ กัน ทำให้งานที่ทำไม่แปลกใหม่

สิ่งที่ควรทำ:
อย่าจ้างคนที่เหมือนเรา แต่จ้างคนที่สามารถสร้าง คิดหรือนำไอเดียใหม่ ๆ มาให้ทีมได้ดีกว่า !

2. If only I could find someone to do all the  annoying stuff that I don’t want to do (ถ้าแค่จะมีใครสักคนมาทำงานที่ฉันไม่อยากทำ)

การจ้างคนหรือหาลูกน้องเพิ่มเพื่อมาช่วยงานเราเป็นเรื่องปกติ แต่การหาใครบางคนมาทำงานที่เราไม่อยากทำหรืองานขยะ (Junk Work) เป็นการทำร้ายและดูถูกลูกน้องทางหนึ่ง การจ้างเขามาทำงานในลักษณะนี้จะทำให้เขาถูกจำกัดการเรียนรู้ (Learining Curves) เพราะเขาอยู่กับงานขยะ งานที่ไม่สนุก ถ้าขนาดเรายังไม่อยากทำ เขาจะไปอยากทำได้ยังไง ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาการลาออก เราจะรักษาคนไว้ได้ยากขึ้น เพราะเขาเบื่อที่จะทำงานที่ไม่ได้พัฒนาความสามารถของเขา

สิ่งที่ควรทำ:
อย่าจ้างคนมาทำงานขยะให้เรา

3. If only I know how to do that (ถ้าแค่ฉันรู้ว่ามันทำยังไง)

นอกจากการจ้างงานเพื่อมาช่วยเราแล้ว เรายังจ้างคนที่เชี่ยวชาญในด้านที่เราไม่ถนัด เพิ่มมาเสริมทีมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่บางครั้งกลับกลายเป็นเราเองที่รู้สึกแย่เพราะคิดว่าเขาเก่งกว่า คิดว่าทำไมเขารู้แล้วเราไม่รู้ ซึ่งบางครั้งความคิดเหล่าพัฒนากลายเป็นความอิจฉาและอยากที่จะขัดขวางการทำงานของเขาในอนาคต

สิ่งที่ควรทำ:
ปรับ Mindset และทัศนคติ อย่าคิดว่าลูกน้องเก่งกว่า เราควรคิดว่า ถ้าเราไม่รู้เรื่องอะไร เราต้องพยายามรู้เรื่องนั้นให้ได้ด้วยการเรียนรู้ อย่าอายที่จะถามลูกน้องว่าทำยังไง เรียนรู้จากเขาไป เพราะสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งคือเรารู้เรื่องที่เราไม่รู้ คนส่วนใหญ่มักจะรู้ว่าตัวเองรู้อะไร แต่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร

แน่นอนว่า 3 ข้อข้างบนไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้จัดการหน้าใหม่เท่านั้น แม้แต่คนที่เป็นหัวหน้ามานานแล้วก็ยังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เหมือนกัน สุดท้ายนี้ Whitney ได้ฝากถึงหัวหน้างานทุกคนว่า หากเราจ้างคนโดยโฟกัสไปที่งานที่ต้องเสร็จ (Job-to-be-done) มากกว่างานที่ต้องทำ เราจะมีโอกาสพบเจอและจ้างคนที่ถูกต้องกับงาน มากกว่าการจ้างคนผิดงาน ผิดตำแหน่ง เราควรพยายามโฟกัสว่างานที่ต้องเสร็จจริง ๆ มันมีอะไร อย่ามองว่าจ้างให้เขามาทำอะไร

อ้างอิงจาก Harvard Business Review, Whitney Johnson

ติดตามฟัง Morning Call Podcast EP. อื่นได้ที่ SOUNDCLOUD และ SPOTIFY

Related Articles

แนะนำ What If? หนังสือที่มุ่งตอบคำถามโง่ๆ จนได้ดี

“What if?” (จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้า…) หนังสือที่รวบรวมคำถามแปลกประหลาด หลุดโลก หรือคำถามที่เราคาดไม่ถึงไว้ด้วยกัน โดยคนตอบหรือผู้ที่เขียนหนังคือเล่มนี้ก็คือ แรนดัลล์ มุนโร…

Living | Morning Call | Podcast

เรามีปัญหาที่ต้องแก้มากเกินไปหรือเปล่า? 3 วิธีลดปัญหาเพื่อโฟกัสการแก้ไขปัญหา

“ปัญหา” สิ่งที่เราต้องเจอกันทุกวัน บางคนชอบแก้ปัญหา บางคนชอบดอง บางครั้งคนอื่นนำปัญหามาปรึกษาหรือให้เราช่วยแก้ ในทางกลับกันเมื่อเรามองคนอื่น อาจมองว่าคนอื่นมีปัญหาที่เยอะกว่าเรามากและสามารถแก้ไขได้ ส่วนตัวเรามีไม่กี่อย่างและเริ่มคิดว่าควรแก้ปัญหาให้ได้มากกว่านี้หรือเปล่า สำหรับคนที่มีปัญหาเยอะ มีเรื่องให้ต้องแก้ไขมาก…

Morning Call | Podcast

LAYOFF ทางรอด หรือ ทางเลือก

โควิด19 กับ เลย์ออฟ อะไรจะน่ากลัวกว่ากัน ในภาวะที่มนุษย์งานและเจ้าของกิจการต้องลุ้นกันทุกวันในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนทางธุรกิจทุกวันนี้ เมื่อไหร่ควรพิจารณาทางเลือกนี้ และถ้าต้องใช้ทางเลือกนี้ทั้งเจ้าของกิจการและพนักงานต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ลองฟังคำตอบได้ใน Peopleship Podcast…

Podcast