Trending News

Subscribe Now

เป็นหัวหน้าหมดไฟ ต้องทำอย่างไรดี

เป็นหัวหน้าหมดไฟ ต้องทำอย่างไรดี

Article | Living

รู้หรือไม่ ตำแหน่งที่มีโอกาสเกิด “Burnout” หรือ “ภาวะหมดไฟ” ได้มากที่สุดในองค์กรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ คือ “ผู้จัดการ” (Manager)

ก่อนหน้าที่โรคระบาดครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นเรามักจะเริ่มได้ยินคำว่า Burnout กันมาบ้างแล้ว นั่นก็คือ สภาวะเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ โดยเกิดจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งงานใดก็ตามก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้ โดยภาวะนี้ WHO (องค์การอนามัยโลก) ถึงกับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นภาวะผิดปกติ แต่ยังไม่ถึงกับถูกจัดเป็นความเจ็บป่วยทางการแพทย์ 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตำแหน่ง “ผู้จัดการ” มีแนวโน้มที่จะเผชิญภาวะ Burnout ได้มากกว่าตำแหน่งงานอื่นๆ เพราะต้องเป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารซึ่งเป็นคนออกคำสั่ง กับทีมงานผู้นำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติ แถมยังต้องเป็นกระบอกเสียงให้กับทีมงานสะท้อนขึ้นไปให้ถึงผู้บริหาร ในขณะที่ก็ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง โดยที่มีผู้บริหารเป็นผู้กำหนดทิศทาง 


5 คำถาม Checklist ให้คุณได้ลองเช็คดูว่าคุณเข้าข่ายอยู่ในภาวะหมดไฟหรือไม่

  1. มีการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันภายในทีมงาน หรือ มีการปฎิบัติที่ไม่ทั่วถึงหรือไม่
  2. ปริมาณงานไม่สัมพันธ์กับปริมาณคนที่มีหรือไม่
  3. หน้าที่ในการทำงานไม่ชัดเจนหรือไม่
  4. มีการสื่อสารและปฎิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันและกันน้อยเกินไปหรือไม่
  5. เวลาในการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือไม่

หากคุณถามตัวเองทั้ง 5 ข้อนี้แล้วพบว่าตัวเองเข้าข่ายทั้ง 5 ข้อนั่นถือว่าเป็นอันตราย และกำลังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะ Burnout อย่างไรก็ตาม ข่าวดี คือ ภาวะนี้เมื่อเป็นแล้ว “หายได้” 


4 เทคนิคช่วยให้ผู้จัดการหายจากภาวะหมดไฟ

1. อัปเดตปัจจุบันและอนาคตให้สม่ำเสมอ 

ระหว่างการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่าง ผู้บริหาร และ ผู้จัดการ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารได้รู้ภาวะปัจจุบันขององค์กร ในขณะที่ผู้จัดการเองก็จะได้รู้ว่ากำลังจะไปในทิศทางไหน 

2. ผู้จัดการก็ต้องการคนจัดการ

ทีมงานยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องการการจัดการมากมายหลายเรื่อง ผู้บริหารอาจต้องหมั่นเช็คว่าตอนนี้ภาวะกดดันของผู้จัดการอยู่ในระดับไหน นอกจากนี้ก็ควรจะหมั่นใส่ใจและสอบถามสารทุกข์สุขดิบของผู้จัดการที่นอกเหนือจากเรื่องงานบ้าง เพราะเขาอาจมีปัญหาส่วนตัวที่ต้องจัดการอยู่ในขณะนั้นก็เป็นได้

3. พัฒนาทักษะจากจุดแข็ง

ผู้บริหารอาจต้องมองหาว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้จัดการทำได้ดี และส่งเสริม สร้างให้เขาเติบโตจากจุดที่ทำได้ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้น ให้อาวุธของเขาแข็งแกร่งมากขึ้น เมื่อเขารู้สึกว่าสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ความเครียดก็จะน้อยลง ทำให้ภาวะหมดไฟลดลงตาม

4. พักเพื่อเติมไฟ

เมื่อร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า การพักผ่อนแม้เพียงชั่วคราวก็ช่วยยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น การพักที่ดีต้องถามตัวเองก่อนว่า ต้องการการพักผ่อนแบบไหน หากต้องการความสนุก ให้ลองไปหากิจกรรมใหม่ๆ ทำ หากต้องการความสุข ให้ลองไปพักผ่อนกับคนที่เราอยากอยู่ด้วย บางคนอาจลากลับบ้านที่ต่างจังหวัด หรือหากต้องการความสงบ อาจลองเปลี่ยนสถานที่ทำงานเพื่อให้โฟกัสกับงานได้ดีขึ้น (เทคนิคการไปพักผ่อนนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกระดับตำแหน่งงาน)


เมื่อผู้จัดการเองที่เหนื่อยล้าหมดไฟ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของทั้งทีมแล้ว ยังส่งผลถึงผู้บริหารโดนตรงด้วย เพราะถ้าผู้จัดการอยู่ไม่ไหว แล้วใครกันจะมาช่วยจัดการทั้งทีมกัน อาการหมดไฟนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ทุกคนควรหมั่นสังเกตอาการเหล่านี้ภายในทีม และถ้าเป็นตัวผู้จัดการเองที่รู้ตัวว่ากำลังตกอยู่ในภาวะนี้ก็ควรแบ่งปันเรื่องราวให้ทั้งผู้บริหารและทีมได้ทราบ เพื่อช่วยกันจัดการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุกัน 


แต่หากไม่อยากหมดไฟ จนไปต่อไม่ไหว มารับพลังงานดีๆ กันได้ใน Session “Should I quit my job?: อยู่ต่อหรือพอแค่นี้” กับคุณท๊อฟฟี่ แบรดชอว์ Founder และ Creator of ‘Toffy Bradshaw’ ที่งาน CREATIVE TALK CONFERENCE 2022 วันเสาร์อาทิตย์ที่ 25 – 26 มิถุนายน 2022 ณ BITEC BANGNA ได้เลย ซื้อบัตรได้ที่ www.ctc2022.com 

Related Articles

2 เดือนเหมือน 2 ปี รวมสิ่งที่นักการตลาดต้องรับมือเมื่อโลกหมุนเร็ว

สองเดือนของปี 2021 ผ่านไปแล้ว เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน? มีอะไรเกิดขึ้นมากมายเปรียบเหมือนผ่านไป 2 ปี ในบทความนี้จะมารีวิวสิ่งที่เกิดขึ้นกับแวดวง Digial Marketing…

Article | Digital Marketing

การพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมในยุค New Normal กับ Openbox

ถึงแม้เราจะเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ย่างเข้าสู่ครึ่งปี 2020 แล้ว แต่ทว่าโรคระบาดนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่วิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal จึงเปลี่ยนพฤติกรรมและกลายเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ในทุกด้านของทุกคน ทั้งด้านร่างกายที่ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอและนานเกิน 30…

Article | Creative/Design

เรียนรู้จากก้าวเดินที่ผิดพลาดของสตาร์ทอัพ

เมื่อคราวที่แล้ว เราได้พูดกันถึงเรื่อง การพัฒนาตัวเองด้วยวิธีการแบบสตาร์ทอัพไปแล้วนะคะ และอย่างที่เราได้ทิ้งท้ายกันเอาไว้ ว่าเหรียญนั้นมีสองด้านเสมอ บางครั้งก็มีเรื่องราวซ่อนอยู่ข้างใน คล้ายโอริโอ้ที่มีไส้ให้เราต้อง บิด ชิมครีม จุ่มนม…

Article | Entrepreneur