Trending News

Subscribe Now

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

Design You Don't See | Podcast

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาที่เราดู sitcom ไม่ว่าจะของไทยหรือต่างประเทศ พอถึงจุดที่มันต้องตลกมักจะมีเสียงหัวเราะนำเสมอ?

sitcom ในอเมริกาจะเป็นคนหัวเราะที่ฟังดูเหมือนอัดมา แต่ในไทยจะมีผู้ชมอยู่ในห้องส่งด้วยทำให้เสียงฟังดูมีชีวิตชีวา ไม่เฟค

เมื่อคุณเริ่มชินกับเสียงหัวเราะใน sitcom ถ้าวันหนึ่ง sitcom ปราศจากเสียงหัวเราะนี้คงจะเหงาน่าดู หรือว่าถ้าคุณดูอาจจะงง ๆ ว่าฉันควรจะหัวเราะตรงไหน 

ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา มีงานวิจัยเกี่ยวกับการหัวเราะ หนึ่งในคนที่วิจัยศึกษาคือ Robert Provine เขาได้วิจัยว่า การหัวเราะเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เพราะเราเกิดมาเราก็สามารถหัวเราะได้เองโดยที่ไม่ต้องมีคนมาสอน 

จากการวิจัย Provine ได้สังเกตคนที่หัวเราะทั้งหมด 1,200 คน แล้วสรุปออกมาได้ว่า

1. การหัวเราะเป็นเรื่องสากล เมื่อใครหัวเราะ เราจะเข้าได้ทันทีว่าเขาคนนั้นมีความสุข

2. การหัวเราะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว และไม่มีใครสั่งให้เราหัวเราะได้ 

3. การหัวเราะเป็นการสื่อสารทางสังคม ถ้าเราอยู่คนเดียว เรามักจะไม่ค่อยหัวเราะ ถ้าเทียบกับการอยู่กับคนอื่น โดยการที่เราอยู่กับคนอื่นทำให้เราหัวเราะมากกว่าอยู่คนเดียวถึง 30 เท่าตัวเลยทีเดียว

4. การหัวเราะนั้นติดต่อกันได้ ถ้าได้ยินเสียงหัวเราะของคนอื่น สามารถทำให้เราหัวเราะตามได้

5. มนุษย์หัวเราะเป็นครั้งแรกเมื่ออายุประมาน 4 เดือน

6. เรามักจะไม่ค่อยหัวเราะช่วงกลางประโยค แต่เราจะหัวเราะหลังจากจบประโยคไปแล้ว

7. คนพูดจะหัวเราะมากกว่าคนฟังถึงสองเท่า

8. ผู้หญิงจะหัวเราะมากกว่าเพศชายถึงสองเท่าด้วยเช่นกัน

9. การหัวเราะบ่งบอกสถานะทางสังคมได้ ยิ่งสังคมสูงยิ่งหัวเราะน้อยลง 

จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า การหัวเราะนั้นไม่ได้มาจากอารมณ์ขันเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็มาจากการพูดคุย สนทนา การปฏิสัมพันธ์ทั่วไปก็สามารถสร้างเสียงหัวเราะได้ด้วยเหมือนกัน และถ้าคุณอยากพูดเรื่องอะไรตลก คุณต้องหัวเราะนำเพื่อให้เกิดโรคติดต่อของหัวเราะขึ้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำ sitcom ที่เราดูกันถึงมีเสียงหัวเราะนำนั่นเอง

เรียบเรียงโดย ภัทราวดี ศรีชัย นักศึกษาเอกฟิล์มที่มักจะมองทุกเรื่องในชีวิตให้เป็นเรื่องตลก

Related Articles

คนเลือกซื้อรถสีอะไรมากที่สุด และเพราะอะไร?

สีรถ หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถ ที่ไม่น้อยไปกว่าเรื่องเครื่องยนต์ ความประหยัด ความสะดวกสบาย และอื่น ๆ เลย จาก research…

Design You Don't See | Podcast

ตัวเลขแคลลอรี่ที่เขียนอยู่บนฉลากนั้น ไม่เป็นจริงตามที่เขียน?

จากบทความในนิตยสาร Science Illustrated ฉบับเดือนเมษายน ได้มีการพูดถึงเรื่อง “ฉลากอาหารโกหกเรา” ซึ่งในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างอาหารจำนวน 4 ชนิด ได้แก่…

Morning Call | Podcast