Trending News

Subscribe Now

เยิรเงาสลัว หนังสือเล่มเล็กที่พูดถึงแสงเงาที่ละเมียดละไมและมีความพิเศษเป็นของตัวเอง

เยิรเงาสลัว หนังสือเล่มเล็กที่พูดถึงแสงเงาที่ละเมียดละไมและมีความพิเศษเป็นของตัวเอง

Morning Call | Podcast

เยิรเงาสลัว (In Praise of Shadows) คำว่า “เยิร” ไม่มีคำแปลในพจนานุกรม แต่สามารถสื่อความหมายได้ว่า “เยินยอ” หรือชื่นชมนั่นเอง

หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า “คนเอเชียชื่นชมในแสงเงา ในขณะที่คนยุโรปมักจะชอบเปิดไฟให้สว่างจ้า”

เยิรเงาสลัว เป็นหนังสือของจุนอิชิโร ทานิซากิ (Jun’ichiro Tanizaki) นักเขียนชาวญี่ปุ่น ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดย คุณสุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Openbooks

นี่ไม่ใช่หนังสือ How-to ที่มีขั้นตอนชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร แต่เป็นหนังสือเล่มบาง 192 หน้า ราคา 265 บาท ที่จะทำให้เราเข้าใจแสงสลัว ความสวยงามของความมืด และจังหวะความหมายแบบญี่ปุ่นอย่างลุ่มลึก ผ่านสำนวนของผู้แปลและความละเอียดของสำนักพิมพ์ ตั้งแต่การจัดวางตัวอักษระไปจนถึงกระดาษที่ใช้

ผู้เขียนอยากให้เราชื่นชมการออกแบบของคนเอเชียในยุคโบราณ และเปรียบเทียบกับความทันสมัยของคนยุโรป

ชามกระเบื้อง – ชามไม้ไผ่

คนยุโรปชอบแสงสว่างเงา ๆ สังเกตได้จากชามกระเบื้องเคลือบสีขาวที่มีการขัดเงา ในขณะที่ชามซุปมิโสะของคนญี่ปุ่นจะเป็นชามไม้ไผ่สีดำและมีสีแดงอยู่ด้านใน

ผู้เขียนบอกว่า ชามกระเบื้องของยุโรปมีข้อเสียคือมีน้ำหนักมาก และมีเสียงดังเกินไปเวลาเราวางหรือเมื่อกระทบกระทั่งกัน ส่วนชามไม้ไผ่ของญี่ปุ่นจะออกแบบให้เราสัมผัสได้ถึงมวลของซุปที่อยู่ในถ้วยขณะที่ถือชามอยู่ด้วยสองมือ

แสงสว่าง – ความมืด

คนยุโรปชอบเปิดไฟในบ้านให้สว่าง ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะใช้แสงเทียนและประตูกระดาษ เพื่อไม่ให้แสงเข้ามามากเกินไป

เวลาเราเข้าไปที่วัดเก่าแก่ของญี่ปุ่นก็จะพบกับความมืดสลัว ๆ และเห็นพระพุทธรูปสีทองอยู่ข้างใน สีทองสามารถเล่นกับแสงได้ ทำให้องค์พระมีแสงสะท้อนออกมาเป็นประกายที่โดดเด่นสวยงามเมื่อมองในห้องที่มีแสงสลัว ต่างกับปัจจุบันที่มีการใส่แสงไฟเข้ามา ทำให้เมื่อเข้าไปในโบสถ์ก็จะเห็นทั้งองค์พระ หิ้งพระ กำแพง ตัวพระจึงไม่ได้มีความโดดเด่นมาก

กระดาษสีขาว – กระดาษโบราณ

กระดาษที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นกระดาษสีขาวสไตล์ยุโรป สีขาวจะสะท้อนแสงเข้าตา มีความหยาบกระด้าง และส่งเสียงดังเวลาเราพลิกกระดาษ

ในขณะที่กระดาษโบราณของญี่ปุ่นหรือจีนจะมีความเป็นสีเหลือง ซึ่งดูดซับแสงเข้าไปได้ เวลาเราขยำกระดาษก็ไม่ค่อยมีเสียงดัง

ความละเมียดของสำนวนในหนังสือเล่มนี้เป็นการเขียนพรรณาที่มีความเป็นศิลปะและให้อารมณ์ความรู้สึกที่ดีมาก ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความตั้งใจเลือกใช้คำศัพท์ในขณะที่อ่านและซึมซับกับตัวอักษร เหมือนกำลังถือผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งอยู่เลยก็ว่าได้

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

ลูกค้าไม่ซื้อของ เพราะราคาแพงหรือลูกค้าไม่มีเงิน?

เรื่องของการตั้งราคา บางคนทำธุรกิจอาจจะกังวลว่า ฉันควรตั้งราคาอย่างไรดี? น้อง ๆ หลายคนที่มีความคิดอยากทำ Startup หลายคนมาพร้อมกับไอเดียที่ดี แต่เมื่อมีคำถามว่าจะเอารายได้มาจากไหน ส่วนใหญ่…

Creative Wisdom | Podcast

เทคนิคเคลียร์กองหนังสือที่ซื้อมาโดยวู่วาม

ผ่านช่วงสัปดาห์หนังสือมาได้ซักพัก หมดค่าเสียหายกันไปเท่าไหร่บ้างคะ แต่หลายครั้งเราก็อดใจไม่ได้จริง ๆ  แค่เดินผ่านร้านหนังสือ ขอให้ได้โฉบเข้าไปหน่อยเถอะ ลูบ ๆ จับ ๆ…

Podcast | The Organice