Trending News

Subscribe Now

Moderna รักษาทีมงานกว่าพันคนไม่ให้ Burn out จากการเร่งผลิตวัคซีนได้อย่างไร

Moderna รักษาทีมงานกว่าพันคนไม่ให้ Burn out จากการเร่งผลิตวัคซีนได้อย่างไร

Article | Business

วัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ ทีมงานผู้ผลิตและพัฒนาวัคซีน คือ กลุ่มคนที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาในการจัดสรรวัคซีนให้แก่คนทั่วโลก 

Moderna เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกาซึ่งก่อตั้งในปี 2010 ในช่วงปี 2019 บริษัทมีพนักงานเพียง 700 คน (ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนพนักงานหลายหมื่นคนของบริษัทคู่แข่ง) แต่หลังจากปี 2020 เป็นต้นมา การเร่งผลิตวัคซีนทำให้บริษัทต้องเพิ่มจำนวนพนักงานขึ้นถึง 330% จนกลายเป็นจำนวน 3,300 คนภายในสองปีนี้ ซึ่งกลุ่มคนที่ต่างก็ต้องทำงานหนักเหล่านี้ย่อมเสี่ยงต่ออาการ Burn out แน่นอน 


Moderna ทำอย่างไรให้ทีมงานทำงานพร้อมกับใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลได้

Tracey Franklin หัวหน้าฝ่ายบุคคลที่เพิ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเมื่อ กันยายน ปี 2019 เล่าให้ฟังว่า “พวกเราแทบจะต้องเปลี่ยนองค์กรในชั่วข้ามคืนเลย” จากองค์กรที่มีขนาด 700 คน พอเกิดวิกฤติ กลายเป็นทุกคนต่างต้องทำงานข้ามแผนกไปมา ต้องประสานงานกับบริษัทและองค์กรต่างประเทศทั่วโลก การเร่งผลิตและพัฒนาวัคซีนถือเป็นช่วงสุ่มเสี่ยงต่อการเกิด Burn out มากที่สุด ทำให้บริษัทต้องอาศัยขุมกำลังใหม่ๆ มาเสริมทัพ และการเติบโตในเวลาอันรวดเร็วแบบนี้เป็นอะไรที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับเป็นความท้าทายอีกด้านของบริษัทเอง

สิ่งที่ตามมาจากการเพิ่มขึ้นของทีมงานขนาดใหญ่ คือ การจัดการให้ทุกคนที่เข้ามาใหม่รู้บทบาทและหน้าที่ของตัวเองในเวลาอันสั้น ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ต้องดูแลพวกเขาให้ทั่วถึงว่าพวกเขาปรับตัวเข้ากับองค์กรได้ไหม มีอะไรขาดเหลือหรือเปล่า  

บริษัทจึงตั้งสิ่งที่เรียกว่า “12 แนวความคิดแบบ Moderna” (12 Moderna’s Mindsets) ถือเป็นลิสต์ปรัชญาหลักของบริษัทให้พนักงานทุกคนเห็นคุณค่าในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ

  1. We act with urgency. การกระทำทันทีจะช่วยรักษาชีวิตอีกมากมายในอนาคตได้
  2. We pursue options in parallel. การมีแผนสำรองควบคู่เสมอทำให้เกิดทางเลือกที่ดีที่สุด
  3. We accept risk. การยอมรับความเสี่ยงถือเป็นทางเลือกเดียวที่จะสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ 
  4. We obsess over learning. ไม่จำเป็นต้องฉลาดที่สุด แต่ต้องเรียนรู้ให้เร็วที่สุด
  5. We pivot fearlessly. การก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจด้วยข้อมูลใหม่ๆ เสมอ 
  6. We question convention. การยึดติดกับกรอบความคิดเดิมๆ จะฉุดรั้งจากการก้าวไปข้างหน้า
  7. We push past possible. ความยิ่งใหญ่อยู่นอกโซนแห่งความสบาย
  8. We behave like owners. คำตอบที่ทุกคนตามหาอยู่นอกเหนือสิ่งที่ระบุไว้ในหน้าที่ตำแหน่งงาน
  9. We act with dynamic range. การวางกลยุทธ์ไปพร้อมๆ กับลองทำไปด้วยในทุกๆ ขั้นตอน 
  10. We remove viscosity. ความกระตือรือร้นในการทำงานมีผลต่อคนรอบข้าง
  11. We prioritize the platform. การให้ความสำคัญกับรูปแบบแพลตฟอร์มมากกว่าแค่ตัวสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
  12. We digitize everywhere possible. การใช้พลังของข้อมูลดิจิทัลเพื่อสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่

แนวความคิดทั้ง 12 ข้อ นับเป็นบัญญัติในการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้แข็งแกร่งและชัดเจน สร้างขวัญกำลังใจ ทำให้ทีมงานทุกคนใส่ใจ และปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ 

เมื่อแนวความคิดทั้ง 12 ข้อถูกนำไปใช้แล้ว ทีมงานบุคคลของ Franklin เองก็สร้างแรงสนับสนุนให้พนักงานทุกคนทำหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกังวลภาระภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับงาน ให้พวกเขาได้ปฏิบัติงานเต็มความสามารถ โดยเริ่มจากการตั้งกรุ๊ปที่ชื่อว่า “เสียงของพนักงาน” (Voice of Employee) ที่ทุกคนสามารถให้ Feedback แก่ทีมบริหารได้ทันที ทุกเรื่องที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ ความเท่าเทียม รายได้ นอกจากนี้บริษัทมีการตั้งศูนย์ดูแลเด็กชั่วคราวเพื่อพนักงานที่เป็นพ่อแม่ลูกเล็ก เปิดโอกาสให้พนักงานปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดูแลด้านสุขภาวะทั้งกายและใจ มอบอาหารกลางวันฟรี ฯลฯ อีกมากมาย  


การเข้าใจและฟังเสียงทีมงาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทั้งหนักหน่วงและเร่งด่วนแบบนี้ มีส่วนช่วยอย่างมากที่ทำให้พนักงานไม่ Burn out และรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาทำมีคุณค่าส่งเสริมเป็นแรงใจให้มุ่งมั่นทำหน้าที่ของตนต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ บริษัทไม่ได้ทำหน้าที่ออกกฎ จ่ายเงิน และให้พนักงานทำงานให้คุ้มเงินเดือนอีกต่อไป แต่การพึ่งพา สนับสนุนกันและกันระหว่างบริษัท และทีมงานกลับทำให้บริษัทยิ่งเติบโตและก้าวไปได้ไกลกว่าที่เคย 


ที่มาของข้อมูล

Related Articles

บทเรียนที่ได้จากสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดของ Steve Jobs

บทเรียนที่ Steve Jobs ได้เรียนรู้ ตกตะกอนและพร้อมจะถ่ายทอด ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากคนที่ผ่านร้อนหนาวและความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในระดับเปลี่ยนโลก

Article | Living

Expectation Management ตอน2 ทำของดีมากไปก็เท่านั้น ถ้าพลาดแค่สิ่งเดียว

มาต่อกันในตอนที่สองนะครับ ซึ่งเรื่อง Expectaton Management หรือการจัดการกับความคาดหวังนี้ถ้าใครยังไม่ได้อ่านตอนแรก แนะนำให้ไปลองอ่านดูก่อนนะครับ Expectation Management ตอน 1 จัดการกับการคาดหวัง…

Entrepreneur | Morning Call | Podcast