Trending News

Subscribe Now

มีแผนสำรองไม่ได้มีแต่เรื่องดี! มารู้จักความอันตรายของการมีแผนสองในชีวิต

มีแผนสำรองไม่ได้มีแต่เรื่องดี! มารู้จักความอันตรายของการมีแผนสองในชีวิต

Article | Living

เรามักถูกสอนมาตลอดว่าการมีแผนสำรองในชีวิตเป็นเรื่องจำเป็น หากไม่มีแผนสำรองก็เหมือนใช้ชีวิตอย่างประมาท แต่การมีแผนสำรองเป็นเรื่องที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ จริงๆ หรือ 

งานวิจัยของ  Ji Hae Shin และ Katy Milkman  ในหัวข้อ “How backup plans can harm goal pursuit: The unexpected downside of being prepared for failure (2016)” พูดถึงกรณีที่เรามีแผนสำรองไว้ล่วงหน้าแล้วทำให้เรากลับจริงจังกับแผนแรกน้อยลง เช่น เรื่องของการสมัครงาน เมื่อเทียบกันระหว่างคนที่สมัครงานที่อยากได้และมีโอกาสในการเข้าได้ยากมาก แล้วโฟกัสแต่งานนี้งานเดียว มีโอกาสที่จะได้งานมากกว่าคนที่เตรียมสมัครที่อื่น สำรองอาชีพอื่นไว้ด้วย 

อย่างไรก็ตาม แผนสำรอง (backup plan) ไม่เหมือนกับ กลยุทธ์พิชิตเป้าหมาย (action step) เพราะ backup plan คือ การที่เราวางแผนวิธีการอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน อาจทำให้เป้าหมายเปลี่ยน ในขณะที่ action step เป็นการซอยย่อยวิธีการอันเดียวนั้นให้ละเอียดขี้นเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น การลดน้ำหนัก ถ้าเราตั้งเป้าจะลดน้ำหนักแล้วก็เลยวางแผนสำรองไว้ด้วยว่าถ้าลดน้ำหนักไม่สำเร็จก็จะหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้ตัวเองดูดีแทน แต่ถ้าเราซอยย่อยกลยุทธ์พิชิตเป้าหมาย เราจะพยายามหาวิธีการในการจะลดน้ำหนักให้ได้ตามแผนที่ตั้งใจไว้แต่แรก ทั้งสองอย่างนี้แน่นอนว่าไม่เหมือนกัน เพราะการวางแผนสำรองเป็นการหาทางเลือกเผื่อไว้ในกรณีที่เราผิดพลาดจากแผนแรก และนั่นเป็นจุดที่ทำให้เรามุ่งมั่นกับแผนเราน้อยลง 

ในการวิจัยของ Shin กับ Milkman ได้แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง โดยทั้งหมดเป็นการศึกษากับนักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งหมด การทดลองแรก มีผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 60 คน โดยมีข้อกำหนดว่าถ้านักศึกษาสามารถทำโจทย์ที่ตั้งไว้ได้ จะได้รับเงิน 10 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ถ้ามี performance ที่ดี จะได้รับขนมฟรีเพิ่ม จากนั้นจึงแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม โดยที่กลุ่มหนึ่งจะไม่ได้รับคำแนะนำใดๆ ในขณะที่กลุ่มที่สองได้รับคำแนะนำว่าพวกเขาจะสามารถไปรับขนมฟรีได้ที่ไหนบ้าง หากไม่ได้จากการทดลองนี้ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มหลังที่ได้รับคำแนะนำ ซึ่งเสมือนเป็น backup plan มี performance ที่ต่ำกว่ากลุ่มแรกอย่างมีนัยยะ

การทดลองที่สองทำเหมือนการทดลองแรก แต่เพิ่มกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และเปลี่ยนของรางวัลเพิ่มเติมจากขนมเป็นการ์ดเวลาที่ทำให้การทดลองเสร็จได้ไวขึ้น 5 นาที หากทำ performance ได้ดี โดยที่กลุ่มแรกไม่ได้รับคำแนะนำใดๆ กลุ่มสองได้รับคำแนะนำว่าภายใน 24 ชั่วโมงนี้จะมีวิธีการประหยัดเวลา 5 นาทีวิธีอื่นได้อย่างไรบ้าง ส่วนกลุ่มสุดท้ายได้รับคำแนะนำเลยว่าจะได้การ์ดเวลานั้นมาได้อย่างไร ผลปรากฏว่ากลุ่มที่สองที่ได้รับคำแนะนำเรื่องการประหยัดเวลาทางอื่นมี performance ที่ต่ำที่สุด 

ส่วนการทดลองสุดท้าย ทำการทดลองเหมือนกับการทดลองแรก แต่เปลี่ยนรางวัลจากขนมเป็นเงินรางวัลเพิ่มหากมี performance ที่ดี และผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับคำแนะนำก็จะมี performance ที่ต่ำเช่นเดียวกับการทดลองแรก 

จากการทดลองทั้งสามอัน พบว่า การที่คนเรามีแผนสำรองในเรื่องต่างๆ ทำให้เราโฟกัสและมุ่งมั่นกับเป้าหมายหลักลดลง ดังนั้นการวางแผนที่ดี เราควรจะมีเป้าหมายหลักเพียงหนึ่งเดียวเพื่อไม่ให้เราหลุดโฟกัส แต่ประกอบไปด้วยกลยุทธ์ (action step) ที่หลากหลายไว้จึงจะช่วยให้เราถึงเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

Related Articles

ทิศทางและโอกาสทางธุรกิจในปี 2022 จากมุมมองของนักลงทุนระดับประเทศ

อัพเดตโอกาสทางธุรกิจของ Tech Business กำลังจะมาถึงในปี 2022 จากมุมมองของ Investor ระดับประเทศ โดยคุณมด-ธนพงศ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC)

Article | Business