Trending News

Subscribe Now

AI ช่วยชีวิตคุณและแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ได้อย่างไรบ้าง

AI ช่วยชีวิตคุณและแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ได้อย่างไรบ้าง

Article | Technology

โรคเกี่ยวกับปอด เช่น โรคมะเร็งปอด วัณโรค ปอดอักเสบ เป็นกลุ่มโรคที่ติดอันดับทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดในปัจจุบัน

ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเหล่านี้จะได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือพบโรคช้า โดยการใช้ภาพถ่ายเอกซเรย์เป็นวิธีการที่แพทย์ใช้เพื่อคัดกรอง และวินิจฉัยโรคดังกล่าว แต่การที่จะวินิจฉัยโรคจากภาพถ่ายเอกซเรย์ให้ได้ความแม่นยำสูงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์รังสีวินิจฉัยเฉพาะทาง ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนอย่างมาก ขณะเดียวกันโรงพยาบาลในต่างจังหวัดขนาดเล็กส่วนใหญ่ไม่มีแพทย์รังสี

ดังนั้นในวันนี้ อาจารย์จ๋า ดร.วราสิณี ฉายแสงมงคล อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม FIBO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และผู้ร่วมก่อตั้ง Perceptra ซึ่งพัฒนาแพลต์ฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งเป็นตัวที่ช่วยเรื่องโควิดในตอนนี้ด้วย เป็น ระบบ Inspectra (อินสเป็คทรา) ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์นี้ เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยเหลือแพทย์ตรวจจับความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก พร้อมทั้งพูดคุยกันในเรื่อง AI จะมาช่วยแก้ปัญหาทางการแพทย์และโรคระบาดได้อย่างไร


ปัจจัยอะไรที่ทำให้อาจารย์สนใจและพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนด้านการแพทย์

อาจารย์จ๋า ดร.วราสิณี ฉายแสงมงคล เริ่มต้นสนใจธุรกิจเกี่ยวกับด้าน เทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนด้านการแพทย์ เนื่องจากการเรียนจบมาทางด้าน combinational neural science โดยเฉพาะ เน้นเรียนรู้เรื่องการ deep learning algorithms เพื่อตอบโจทย์ model ข้อมูลสมอง และเริ่มสนใจเรื่องการทำ AI การตัดสินใจของมนุษย์ ต่อมาได้เริ่มทำงานเป็นนักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์มาตลอด แต่มีความสนใจอยากลองทำ AI ที่ impact กับคนจริงๆ ยิ่งถ้าจะมาช่วยเหลือ หรือช่วยชีวิตคนได้จริงจะดีมาก โดยมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็คือ การเจอ partner ที่มี deep passion ใน healthcare สนใจในเรื่องเดียวกัน เลยเริ่มทำ AI ที่มาช่วยเรื่องการแพทย์อย่างจริงจัง สรุปคือ สนใจ AI สามารถทำประโยชน์ได้ บวกกับมาเจอคนที่อินกับวงการแพทย์ จึงเกิดเป็น Perceptra 


ในปัจจุบัน AI ของ Perceptra สามารถทำอะไรได้บ้าง และเป็นประโยชน์กับคุณหมอในเรื่องไหนบ้าง

ข้อมูลในโรงพยาบาล 80-90% คือ ภาพ ที่เหลือจะเป็นการเขียนสรุปจากแพทย์ ดังนั้น Perceptra จึงสร้าง  ระบบ Inspectra (อินสเป็คทรา) ระบบนี้ เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยเหลือแพทย์ตรวจจับความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก ซึ่งจะช่วยให้หมอสามารถวินิจฉัยได้แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แรกเริ่มพัฒนาร่วมกันกับทางโรงพยาบาลศิริราช โดยมีความแม่นยำ 94-96% 


AI ของ Perceptra มีความพิเศษอย่างไร เมื่อเทียบกับ AI ในรูปแบบเดียวกันจากต่างประเทศ

ความพิเศษของ Inspectra (อินสเป็คทรา) ก็คือ 

  1. Inspectra (อินสเป็คทรา) มีความแม่นยำ 94-96% เทียบเท่ามาตรฐานในต่างประเทศในปัจจุบัน จะต้องมีข้อมูลที่เยอะ และดี โดย Inspectra มี Data อยู่ที่ 1.5 ล้านภาพ เยอะเป็น Top 5 ของโลก เป็น Data คนไทยอยู่ที่ 1 ใน 3 และข้อมูลที่มีนั้นเป็นข้อมูลที่เป็น Data Rich ซึ่ง Perceptra ได้ข้อมูลดังกล่าวมาจากทางโรงพยาบาลศิริราช
  2. มี Algorithm ที่แม่นยำ และมีการ Clean ข้อมูลก่อนนำไป Training ให้ AI ซึ่ง Inspectra (อินสเป็คทรา) ใช้ AI ร่วมกันทำงาน 3 ตัว
  3. มี System Architecture สร้างให้มีระบบ security สำหรับป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล ฯลฯ

โดย 3 ข้อหลักนี้ที่ทำให้ Inspectra (อินสเป็คทรา) มีมาตรฐานที่เทียบเท่ากับต่างประเทศ ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 2 ปี 


ปัจจุบัน AI เหล่านี้ไปอยู่ในโรงพยาบาลทั่วประเทศหรือยัง และมีเสียงตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง

ตอนนี้เริ่มที่แรกที่ โรงพยาบาลศิริราช (เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่วิจัยและพัฒนาร่วมกัน) ต่อมาเป็น โรงพยาบาลรามา และในช่วงโควิดก็มีเปิดให้ทดลองให้ใช้เพิ่มอีก 45 แห่งทั่วประเทศ และมีความสนใจเพิ่มมากขึ้นทุกวัน 

หลายคนอาจจะคิดว่าระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะมาแทนที่แพทย์ แต่จริงๆแล้ว เป็นผู้ช่วยแพทย์ให้มีข้อมูลเพิ่มขึ้นในการตัดสินใจ การวินิจฉัยยังอยู่ที่แพทย์ แต่ AI จะช่วยแพทย์อ่านผลได้รวดเร็วขึ้น ลดการวินิจฉัยผิดพลาด และช่วยลดงานได้มาก จึงทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก จากแพทย์ที่ได้ใช้งาน


มีอุปสรรคปัญหาอะไรบ้าง ระหว่างที่ Perceptra พัฒนา AI ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์

ปัญหาในช่วงแรกที่เจอก็คือเรื่องของการได้ข้อมูลมาสำหรับใช้วิจัย และพัฒนา ทาง Perceptra ต้องใช้เวลา และความพยายามอย่างมากในการแสดงความจริงใจ และอธิบายผลที่จะได้จากการใช้เครื่องมือนี้ แต่ในปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ก็ลดน้อยลงไป เริ่มได้รับการยอมรับจากหลายโรงพยาบาลแล้ว นอกนั้นจะเป็นอุปสรรคจากภายในเพราะเรื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การทดลอง วิจัย และพัฒนาในช่วงแรกจึงมีส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จอยู่บ่อยครั้ง แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้


สถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ Perceptra ได้นำ AI มาช่วยแก้สถานการณ์อย่างไรบ้าง

Perceptra เปิดให้โรงพยาบาลได้ทดลองใช้ฟรี ช่วงแรกจะเป็นการช่วยวิเคราะห์ว่าปอดอักเสบหรือไม่ จะระบุไม่ได้ว่าติดเชื่อหรือไม่ แต่ล่าสุดที่ Covid-19 สามารถติดเชื่อที่ปอดได้ และในขณะนั้นผู้ป่วยต้องเอ็กซเรย์ทุกวัน เพื่อดูว่าเชื่อลงปอดหรือยัง ทำให้งานของแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้นมากในแต่ละวัน ซึ่ง AI สามารถช่วยได้มาก ทั้งบอกได้ว่าเป็นโรคอะไร และจับสีด้วยว่าอยู่ตรงไหน และยังสามารถนำไปใช้ได้จริงกับโรงพยาบาลในหลายจังหวัด รวมถึงโรงพยาบาลสนามด้วย

อาจารย์จ๋า ยังเสริมอีกว่า AI ของ Perceptra มีความพิเศษที่อยู่บน Cloud และสามารถ Update ข้อมูล เพื่อ training AI ให้ได้ฝึกฝน และเรียนรู้อยู่เสมอ และทำให้เกิดเป็นความแม่นยำมากขึ้นด้วย ซึ่ง Speed ของการอ่านข้อมูลของ AI ประมาณ 500 ภาพ/นาที เทียบกับคุณหมอ 1 ภาพ/นาที


สรุปได้ว่า ถึงแม้ในปัจุบันนั้น ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือช่วยแพทย์ได้ดี แต่ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่แทนแพทย์ได้ แต่ที่ชัดเจนมากๆ คือระบบสามารถมาช่วยงานแพทย์ได้จริงในหลายรูปแบบ และเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ ช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระหน้าที่ได้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ต่อให้ในอนาคมี AI ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้ทั้งหมด ในความเป็นจริงพฤติกรรมของคนไข้ก็ยังคงต้องการพบแพทย์อยู่ดี


รับชมรายการเต็ม AI แก้ปัญหาทางการแพทย์และโควิด​ 19 ได้อย่างไร และแวะมาพูดคุยเพิ่มเติมกันได้ที่เฟซบุ๊ค Creative Talk

Related Articles

เราจะวัดผล Influencer Campaign อย่างไร ในวันที่ Instagram ไม่แสดงยอด Like

จากข่าวก่อนหน้านี้ที่บอกว่า Instagram ได้เริ่มทดสอบการออกแบบจัดวางหน้าตาใหม่เพื่อซ่อน like ของโพสต์ Instagram ในประเทศแคนนาดา ไอร์แลนด์ อิตาลี่ ญี่ปุ่น…

Article | Digital Marketing

ไอติม ‘รสชาติน่ารัก’ ที่สอดไส้ศิลปวัฒนธรรมไทย คุยเบื้องหลังธุรกิจสุดครีเอทีฟ ที่มาของไอศกรีมลายกระเบื้องวัดอรุณฯ

“คนต้องเก๊ตตั้งแต่ ‘คำแรก’ ที่กัด” หนึ่งในความตั้งใจที่ถูกถ่ายออกมาของคุณน้ำตาล – ศิริญญา เจ้าของไอศกรีมลายกระเบื้องวัดอรุณฯ

Article | Business | Creative/Design

7 ภาพยนตร์ Creative ช่วยสร้างจินตนาการ

7 ภาพยนตร์เนื้อหาสนุกที่จะต่อยอดไอเดียความคิด ความครีเอทีฟ ให้คุณ แนะนำโดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO บริษัท RGB72…

Article | Creative/Design | Morning Call | Podcast