ในตอนนี้นักการตลาดและธุรกิจต่างมุ่งไปหนทางของการทำ Personlization หรือการตลาดส่วนบุคคลขึ้นมา แต่กระแสการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในต่างประเทศ และกำลังเริ่มเปลี่ยนไปจากการทำ Personalization ที่เป็นการทำสิ่งๆ ต่างเพื่อคนใด คนหนึ่ง มาเป็นการทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ที่ดีสำหรับสังคมโลก หรือโลกทั้งใบเพิ่มมากขึ้น
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาโดยตลอด ด้วยยุคนี้ที่ผลของการบริโภคอุปโภคของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นและความขัดแย้งเองต่าง ๆ ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ผลต่างๆ เริ่มเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น มลภาวะของโลกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนหรือขยะล้นโลก จนกระทั่งความขัดแย้งทางสังคมระหว่างความคิดเห็น ทำให้เกิดกระแสที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของต่างประเทศเรียกว่า Design For All Life เป็นการคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ได้ตอบโจทย์คนใด คนหนึ่ง แต่เป็นการตอบโจทย์ทุกๆ ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนโลกเพิ่มมากขึ้น แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะมองว่า การทำ Human Centric Design หรือ Customer Centric Design เป็นการออกแบบที่เห็นแก่ตัว และไม่ได้คิดถึงคนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในโลก โดยแนวคิด Design For All Life เป็นการนำเสนอของ John Thackara
John Thackara นำเสนอในพอดแคสต์ของตัวเองว่า ขณะที่การเมืองและธุรกิจแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดให้ตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นคือความต้องการเหล่านี้ทำลายโลกไปเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อทำให้โลกน่าอยู่ต่อไปคือแนวคิดว่า การเมืองและธุรกิจจะช่วยโลกให้ดีขึ้นได้อย่างไร และเราต้องเริ่มมองว่าการเติบโตทางธุรกิจไม่ได้หมายถึงตัวเลขผลประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น แต่เป็นการทำให้สิ่งแวดล้อม หรือคนนั้นมีความสุขเพิ่มขึ้นได้อย่างไรพร้อมกับรักษาโลกนี้ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ด้วยแนวคิดดังคือ การเปลี่ยนแปลงของการบริโภคมนุษย์ เช่น การบริโภคเนื้อวัวที่ในยุคหนึ่งที่ผู้บริโภคนิยมบริโภคเนื้อวัว Dry-aged เพราะมีรสชาติที่ดีหรือมีราคาแพงอย่างมาก และชื่นชมในการที่คนทำเนื้อหรือเลี้ยงวัวสามารถผลิตเนื้อที่มีคุณภาพสูงได้ แต่ด้วยในปัจจุบันที่สังคมรณรงค์การบริโภคเนื้อสัตว์ หันมาบริโภคสิ่งทดแทนจากพืชมากขึ้น ทำให้คุณค่าของการบริโภคเปลี่ยนไป ผู้บริโภคบางส่วนหันไปทานเนื้อเทียม เช่น Impossible Meat แทน และชื่นชมว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังบริโภคกำลังทำให้โลกนั้นดีขึ้น หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงการซื้อสินค้าที่ซื้อเป็นสินค้าที่ชิ้นๆ ที่หาซื้อได้ในชีวิตประจำวัน มาเป็นการนำภาชนะไปเติมสินค้า เพื่อลดขยะที่เกิดขึ้นจากการบริโภคนั้นๆ ซึ่ง Unilever ได้เริ่มทำโครงการกับบริษัท Loop โดยทำผลิตภัณฑ์ของตัวเองแทนที่จะใช้พลาสติก มาใช้อลูมิเนียมและแก้วที่ทนทานและใช้ได้หลายครั้งมากกว่า รวมทั้งรีไซเคิลได้ง่ายกว่าด้วย โดยทำเป็นระบบ E-commerce ให้สามารถซื้อขายออนไลน์ได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อโลกต่างๆ ด้วย เช่น Body Care ที่ปราศจากสารเคมีที่ทำลายโลก ทั้งหมดนี้เป็นเป้าหมายของ Unilever ที่จะกลายเป็นบริษัทที่มีขยะเป็น 0 ในปี 2021 ซึ่งคือปีหน้านี้เอง
ด้วยการคิดแบบนี้ทำให้วิธีการคิดของธุรกิจต้องเปลี่ยนไปด้วย แทนที่จะคิดถึงผลประโยชน์ตัวเอง ต้องคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม แทนที่จะทำผลิตภัณฑ์ใดเพื่อคนใดคนหนึ่ง ธุรกิจต้องมาคิดถึงผลิตภัณฑ์ที่ต้องตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ ในตอนนี้ก็มีแบรนด์ที่ใช้แนวคิดนี้แล้วอย่าง รองเท้า Dr. Martens ที่สามารถสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 70% ด้วยการออกผลิตภัณฑ์รองเท้าตัวเองที่ทำมาจากหนังสังเคราะห์ ลดการใช้หนังสัตว์ลงและถูกใจกลุ่มคนที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น หรือบริษัท Snøhetta ที่เป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบตึกที่สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้เองมากกว่าพลังงานที่ตึกใช้ไป พร้อมแจกจ่ายพลังงานเหล่านั้นให้กับชุมชนรอบตึกของตัวเองได้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ธุรกิจและการตลาดต้องรีบเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันจากแนวคิดเดิมที่ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มคนใด กลุ่มคนหนึ่ง มาเป็นการตอบโจทย์คุณค่าเพื่อส่วนร่วม การเสียสละอะไรที่เป็นส่วนตัว ทำให้โลกนั้นดีขึ้น การทำ Digital ไม่ได้แค่ทำ Digital Marketing เพื่อตอบโจทย์การขายหรือการทำเพื่อ Engagement อีกต่อไป แต่ต้องกลายมาเป็นการสร้างคุณค่าของการเชื่อมกันทางจิตวิญญาณ ความต้องการสูงสุดทางสังคมที่มนุษย์ต้องการขึ้นมา
เรื่อง : ฉกาจ ชลายุทธ Co-Founder&Visionary Chaos Theory
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข