Trending News

Subscribe Now

เรื่องเล่า Culture Ep. 2: วิธีหาว่าวัฒนธรรมขององค์กรคืออะไร

เรื่องเล่า Culture Ep. 2: วิธีหาว่าวัฒนธรรมขององค์กรคืออะไร

Article | Business

ในฐานะผู้นำองค์กร เรารู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ววัฒนธรรมองค์กรของเราคืออะไรครับ? อย่างที่เกริ่นไปใน Ep. 1 วัฒนธรรมองค์กรไม่ใช่แค่คำสวยหรูที่ติดอยู่โถงทางเดินในออฟฟิศ ประโยคเด็ดๆ บนเว็บไซต์หรือในเอกสารรับพนักงานใหม่ การที่ผู้นำพูดว่าวัฒนธรรมขององค์กรนั้นคืออะไรเป็นเรื่องง่าย แต่การจะทำให้วัฒนธรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจริงนั้นยากกว่ามาก 

การที่ CEO ไปถามระดับผู้จัดการหรือผู้บริหารด้วยกันเองเพื่อหาคำตอบว่าวัฒนธรรมองค์กรปัจจุบันคืออะไร พวกเขาจะให้ชุดคำตอบที่ผ่านกระบวนการคิดมาแล้ว เป็นคำตอบที่ CEO อยากได้ยินและเลือกที่จะหลีกเลี่ยงในการตอบคำถามที่จะขัดหูขัดใจ CEO ได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้วนั่นเป็นหน้าที่ของผู้จัดการและผู้บริหาร นอกจากจัดการและบริหารงานแล้ว ยังต้องบริหารนายด้วย

วิธีการที่ดีที่สุดในการหาคำตอบว่า วัฒนธรรมองค์กรของเรามีอะไรบ้าง คือการไปพูดคุยกับพนักงานใหม่ครับ ไปคุยกับพวกเขาหลังจากสองอาทิตย์แรกที่เข้ามาทำงานกับองค์กรของเรา ระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่พวกเขาเริ่มรู้แล้วว่าต้องทำตัวอย่างไรเพื่อจะอยู่รอดในองค์กรนี้ อะไรที่ทำแล้วจะเข้ากับพนักงานคนอื่นได้ จะได้รับการเอ็นดูจากหัวหน้างาน และได้รับการยอมรับเป็น “พวกเดียวกัน” 

ไม่ต้องชวนผู้จัดการเข้าฟังด้วย จงไปคุยตรงๆ ตัวต่อตัวกับพนักงานคนนั้นเลย แล้วถามคำถามดังต่อไปนี้

  • อะไรคือสิ่งที่แตกต่างระหว่างที่ทำงานปัจจุบันและที่อื่นๆ ที่เคยทำงานมา เลือกโฟกัสเฉพาะเรื่องที่แย่ ๆ มากกว่าเรื่องดี ๆ
  • ถ้าพนักงานคนนั้นเป็น CEO อะไรเป็นเรื่องที่อยากจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในองค์กรนี้ (ข้อนี้ต้องเค้นคำตอบออกมาหน่อย)

ช่วงสองอาทิตย์แรก เป็นช่วงที่พนักงานใหม่ค้นพบสถานะของตัวเองในองค์กรในแบบที่เจ้าตัวเองก็ไม่รู้ตัว อะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้งานเดินและประสบผลสำเร็จ ใครในทีมหรือในฝ่ายที่ต้องเข้าหา เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าจะปฏิบัติกับเขาอย่างไร และที่สำคัญความประทับใจครั้งแรกที่พนักงานใหม่มีต่อวัฒนธรรมองค์กรนั้นเป็นเรื่องที่ยากที่จะลืม มันจะติดตรึงตราใจไปตลอดที่พวกเขายังทำงานอยู่ในองค์กรและอาจจะตลอดไป

ผมเคยทำงานอยู่ที่หนึ่งเป็นเวลาไม่นานมาก ในอาทิตย์แรกที่เข้าทำงาน ผมได้รับมอบหมายงานชิ้นหนึ่งมา ซึ่งหัวหน้าชาวต่างชาติถามผมว่างานนี้ใช้เวลาทำเสร็จเมื่อไหร่ ผมตอบไปว่าไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งสุดท้ายผมทำเสร็จส่งงานภายในสามวัน หลังส่งงานหัวหน้าพูดกลางแผนกว่า งานนี้ผมสามารถทำเสร็จในสามวันในขณะที่คนอื่นบอกว่าต้องใช้เวลาสองอาทิตย์ 

ใช่ครับ ผมได้รับงานนี้มาโดยที่ไม่รู้ว่าหัวหน้าเคยยื่นงานนี้ให้พี่ในทีมประเมินเวลาทำงานมาก่อนแล้ว หลังจากนั้นเหตุการณ์นั้นไม่นาน พี่ในทีมท่านหนึ่งมานั่งคุยแล้วบอกกับผมว่า เวลาทำงานให้ดึง ๆ ไว้หน่อย อย่าส่งงานเร็วเกินไปเพราะจะโดนใช้งานหนักขึ้นอีกโดยไม่จำเป็น ยิ่งทำงานเสร็จไวงานจะยิ่งเยอะ ทำให้ผมรู้ว่าที่ทำงานนี้มีวัฒนธรรมของการดึงงานเพราะไม่อยากทำงานเยอะ การที่ผมไม่ตามน้ำไปกับ culture นี้ผมรู้ตัวว่าผมจะกลายเป็น “คนนอก” ของทีมทันที ดังนั้นวิธีการที่จะเข้ากับทุกคนได้ในตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวนั้นผมต้องปรับตัวให้เข้ากับ culture ที่มีอยู่ก่อนแล้วให้ได้ครับ เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ผมจำติดตรึงใจมาถึงทุกวันนี้แม้จะทำงานที่นั่นไม่นานและผ่านเหตุการณ์นั้นมาเกิน 15 ปีแล้วครับ

ดังนั้นหากเจ้าของกิจการและ CEO ท่านใดที่อยากรู้ว่าวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเป็นอย่างไร อย่ามัวแต่คิดเอาเองและคุยกับระดับผู้จัดการอย่างเดียวนะครับ ลองไปนั่งคุยกับพนักงานใหม่ดูเชื่อว่าน่าจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ culture บริษัทของเรามากพอสมควรเลยครับ

คุณณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Co-Founder at The Flight 19 Agency

เรื่อง : ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Co-Founder The Flight 19 Agency
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข

ติดตามคอนเทนต์ซีรีส์ เรื่องเล่า Culture ทั้งหมดได้ที่นี่


บทความที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

เตรียมตัวรับมืออย่างไร เมื่อชีวิตการงานของเราต้องเป็นหัวหน้าที่อายุน้อย

เพราะตัวเลขของอายุไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จของคนในยุคปัจจุบันสักเท่าไหร่ อีกทั้งคนที่ประสบความสำเร็จเองก็ดูท่ามีอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ อย่างวลีที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งอย่าง อายุน้อยร้อยล้าน แต่ปัจจัยหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเราประสบความสำเร็จคือวุฒิภาวะและประสบการณ์ที่อาจจะยังไม่เจนจัดหรือเก๋าเกมพอที่จะควบคุมหรือรับมือกับบางสถานการณ์ได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะคนที่ก้าวขึ้นมาในตำแหน่ง ‘หัวหน้า’ เพราะเรื่องของคนเป็นเรื่องของประสบการณ์หรือการแก้ไขปัญหาล้วนแต่เป็นทักษะเฉพาะตัวของแต่ละคน ไม่มีคำตอบในตำราหรือชีวิตมหาวิทยาลัยที่ถูกต้อง…

Article | Living

รักเกิดขึ้นที่สมองหรือหัวใจ และจุดกำเนิดสัญลักษณ์รูปหัวใจ

จุดกำเนิดที่พูดเรื่องความรักไม่ใช่ว่าอินเลิฟแต่อย่างใด แต่ได้รับหนังสือจากน้องคนหนึ่งชื่อ น้องส้ม ศรีตลา ชาญวิเศษ เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Love never Fail ไม่มีความรักครั้งไหนที่สูญเปล่า…

Creative/Design | Morning Call | Podcast

เรื่องเล่า Culture EP.3 – วิธีการสร้าง Culture จากการตั้งกฎที่ชวนตั้งคำถาม

ก่อนที่วัฒนธรรมองค์กรจะถูกกำหนดขึ้นมาเองจากความเคยชินและวิธีปฏิบัติตัวของคนในองค์กร เราสามารถที่จะสร้างวัฒนธรรมที่ดีขึ้นมาได้ วิธีการสร้าง culture ที่แนะนำโดย Ben Horowitz ในหนังสือ What You…

Article | Business