Trending News

Subscribe Now

5 ประเด็นหลักที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับกระแส FIFA World Cup 2022

5 ประเด็นหลักที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับกระแส FIFA World Cup 2022

Article | Digital Marketing

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน 2565 เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (FIFA World Cup Qatar 2022) ครั้งที่ 22 ที่ประเทศกาตาร์ พบว่า มีทั้งสิ้น 148,137 ข้อความ จากทั้งหมด 23,621,012 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์ต่อวัน 463,157 เอ็นเกจเมนต์

กระแสดังกล่าวถูกพูดถึงบน Facebook ทั้งสิ้น 75.87% ตามมาด้วย Twitter 12.12%, YouTube 5.48%, และอื่นๆ 6.53% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของคนที่พูดถึงเรื่องดังกล่าว พบว่า เป็นเพศชาย 76.25% และเพศหญิง 23.75% โดยเป็นบุคคลในช่วงอายุ 18-24 ปี (51.1%) มากที่สุด รองลงมาเป็นช่วงอายุ 25-34 ปี (35.61%)

เมื่อลองมาดูกระแสทั้งหมด พบว่า สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ

  1. ข่าวนักฟุตบอล/สโมสร (9,048,261 เอ็นเกจเมนต์)
    ชาวโซเชียลสนใจข่าวเกี่ยวข้องกับนักฟุตบอลและสโมสรเป็นจำนวนมาก ซึ่งข่าวในช่วงนี้ที่ออกมาจะเป็นการอัปเดตสถานการณ์ภายในทีม อาทิ อาการบาดเจ็บของหลุยส์ ดิอาซ ทำให้เขาต้องรักษาตัว 6-8 สัปดาห์ และจะไม่ได้ลงสนามจนจบฟุตบอลโลก เป็นต้น
  1. ค่าลิขสิทธิ์ (3,227,988 เอ็นเกจเมนต์)
    ชาวโซเชียลพูดถึงข่าวค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ว่ามีราคามากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเสียงส่วนมากเห็นพ้องกันว่าแพงเกินไปและอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในส่วนอื่นๆ มากกว่า อาทิ การศึกษาในประเทศ
  1. การของบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน (1,978,426 เอ็นเกจเมนต์)
    สืบเนื่องจากค่าลิขสิทธิ์ข้างต้น ทำให้จากตอนแรกที่รัฐบาลมีงบไม่เพียงพอ ต้องเร่งหาหน่วยงานเอกชนมาช่วยเหลือในจุดนี้ ทำให้มีคนกล่าวถึงบริษัทเอกชนอย่าง True, ThaiBev และ PTT
  1. จองกุก BTS (1,238,617 เอ็นเกจเมนต์)
    ชาวโซเชียลพูดถึงข่าวจองกุก BTS ร่วมแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่สร้างความประทับใจให้แฟนๆ เป็นอย่างมาก
  1. แคมเปญและโปรโมชั่นของแบรนด์ที่เกาะกระแสฟุตบอลโลก (923,752 เอ็นเกจเมนต์)
    หลากหลายแบรนด์หันมาเกาะกระแสการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วยการออกโปรโมชั่นเอาใจแฟนบอล อาทิ Adidas มีการจ้างอินฟลูเอ็นเซอร์โดยให้ใส่เสื้อแบรนด์และเขียนแคปชั่นชวนเชียร์บอลโลก, McDonals ที่จ้างอินฟลูเอ็นเซอร์โปรโมทชุดเบอร์เกอร์ FIFA World Cup และชุด FIFA Sharing Box, Coke ที่จ้างอินฟลูเอ็นเซอร์โปรโมทกระป๋องรุ่นลิมิเต็ดที่เป็นธง 8 ประเทศ ซึ่งขายเฉพาะช่วงจัดงานฟุตบอลโลกเท่านั้น

นอกจากนี้ ชาวโซเชียลยังพูดถึงฟุตบอลไทย ซึ่งความคิดเห็นส่วนใหญ่คิดว่าถ้าหากไม่มีการแข่งขันของนักกีฬาไทยในฟุตบอลโลก ไม่ได้ดูก็ไม่เป็นไร และอยากเก็บเงินไว้ดีกว่า ส่วนบุคคลที่ต้องการติดตามการถ่ายทอดสดควรหาช่องทางด้วยตัวเองโดยที่ไม่ลำบากเงินส่วนรวมของประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด

Related Articles

Creative Commons ลิขสิทธิ์ทางผลงาน ใช้แบบไหนถึงถูกต้อง

ผลงานทั้งหมดที่ถูกผลิตขึ้นมาล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงาน หรือที่เราเรียกว่า Copyright (สัญลักษณ์อักษรซีในวงกลม © ) ซึ่งเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถทำอะไรก็ได้กับงานตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำสำเนา ดัดแปลง แจกจ่าย…

1A4 | Article

ทำไมการให้ลาคลอดนานกว่าปกติเป็นผลดีต่อองค์กร

สิ่งที่ทุกองค์กรกำลังเผชิญในขณะนี้ไม่ว่าเป็นบริษัทเปิดใหม่หรือว่าบริษัทใหญ่ คือการขาดแคลนทีมงาน หากคุณลองดูตลาดหางานอันดุเดือดตอนนี้

Article | Business | Living