Trending News

Subscribe Now

ทำไมป้ายในสนามบินถึงใช้ฟอนต์เหมือนกัน ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง

ทำไมป้ายในสนามบินถึงใช้ฟอนต์เหมือนกัน ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง

Creative/Design | Design You Don't See | Podcast

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมป้ายในสนามบินถึงมักจะใช้ฟอนต์ที่เหมือนกัน ทำไมบริเวณเกตที่เรารอเครื่องบินมักจะเป็นกระจกบานใหญ่ ๆ ทั้งที่มันทำให้แสงแดดเข้า ทำให้เปลืองไฟและทำให้ร้อน

ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง แล้วชั้นขาออกถึงอยู่ชั้นบน แล้วทำไมพื้นที่เกตมักจะเป็นพรม แต่พื้นบริเวณก่อนถึงเกตมักจะเป็นหินหรือกระเบื้อง ก่อนที่จะไปถึงคำตอบนั้น เรามาทำความรู้จักกับสนามบินกันก่อนดีกว่า

คุณรู้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับสนามบินบ้าง ?

อย่างสนามบินสุวรรณภูมิของประเทศไทยเป็นหนึ่งในสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วยังถูกจัดอันดับว่าเป็นสนามบินที่วุ่นวายอันดับที่ 21 ของโลก ทุกวันนี้สนามบินสุวรรณภูมิรองรับนักท่องเที่ยวถึง 63 ล้านคน มากกว่าปีที่แล้วถึง 4.1% (ข้อมูลจากปี2018) แต่จริง ๆ แล้วสนามบินสุวรรณภูมิถูกออกแบบมาให้รองรับนักท่องเที่ยวแค่ 45 ล้านคน เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม สนามบินสุวรรณภูมิมีแผนจะขยายพื้นที่ให้รองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น โดยปัจจุบันมีโครงการจะขยายเป็นสุวรรณภูมิเฟส 2 และมีแนวโน้มจะขยายไปถึงเฟส 5 ซึ่งจะรองรับนักท่องเที่ยวได้ถึง 105 ล้านคน และมีเกตให้บินเข้าออกถึง 157 เกต จากปัจจุบันที่มีเพียง 51 เกต เท่านั้น

สุวรรณภูมิถูกจัดอันดับในอยู่ในอันดับ 36 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก จากที่เมื่อก่อนเคยถูกจัดอยู่ระดับ Top มาแล้ว

แล้วสนามบินไหนล่ะ ที่อยู่ 5 อันดับแรกที่ดีที่สุด ?

อันดับ 5 คือ สนามบินที่ชื่อว่า Hamad Internatinal Airport (ประเทศกาตาร์)
อันดับ 4 สนามบิน Hong Kong International Airport (ฮ่องกง)
อันดับ 3 สนามบิน Tokyo Haneda Airport (ประเทศญี่ปุ่น)
อันดับ 2 สนามบิน Incheon International Airport (ประเทศเกาหลี)
อันดับ 1 สนามบิน Changi International Airport (ประเทศสิงคโปร์)

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยว ‘สนามบิน’ กลับเข้ามาถึงเรื่องดีไซน์ที่เป็นคำตอบของคำถามข้างต้นกันบ้าง

เมื่อคุณลองสังเกตป้ายในสนามบินไม่ว่าจะเป็น ป้ายบอกทางเข้าห้องน้ำ หรือป้ายต่างๆ ซึ่งป้ายพวกนี้มักจะใช้ฟอนต์ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ส่วนมากจะใช้ฟอนต์แค่ 3 ฟอนต์ เท่านั้นคือ Helvetica , Frutiger และ Clearview ซึ่งทั้งสามฟอนต์มีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นฟอนต์แบบ San Serif หรือ ฟอนต์ที่ไม่มีขา เหตุนี้ก็เพราะฟอนต์ที่ไม่มีขานั้นอ่านได้ง่ายกว่า

แต่ในบางกรณีอย่างหนังสือที่มีตัวหนังสือเต็มไปหมดฟอนต์ที่ใช้มักจะเป็นฟอนต์ Serif หรือฟอนต์ที่มีขา เพราะอ่านได้ง่ายกว่าบนแฟตฟอร์มของหนังสือ

อย่างในหนังสือภาษาไทยฟอนต์แบบ Serif จะเป็นฟอนต์ที่มีหัว แต่ถ้าอ่านในคอมพิวเตอร์ถ้าใช้ฟอนต์ที่ไม่มีหัวก็จะดูโมเดิร์นกว่าและอ่านง่ายกว่าบนคอมพิวเตอร์

โดยทั้ง 3 ฟอนต์ที่นิยมใช้ เพราะเป็นฟอนต์ที่มองระยะไกลก็ยังคงเห็นได้อย่างชัดเจน

โดยมีทฤษฎีว่าทุก ๆ 1 นิ้ว ที่ฟอนต์สูงขึ้น จะทำให้คนมองเห็นได้ไกลขึ้น 40 ฟุต ดังนั้นถ้าทำป้ายให้ฟอนต์มีขนาดสูง 3 นิ้ว จะทำให้คนเห็นข้อความนั้นได้ไกลถึง 120 ฟุตเลยทีเดียว

แล้วคำถามที่ว่า ทำไมสนามบินชอบใช้กระจกบานใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในเกต เขาอยากให้เราเห็นเครื่องบินใช่ไหม? ก็อาจจะใช่ แต่ว่ากระจกบานใหญ่นั้นทำให้เปลืองไฟเพราะมันทำให้ร้อน แล้วจะใช้ทำไม?

เหตุผลหนึ่งที่ใช้กระจกแบบนี้เพราะมนุษย์เวลาเดินในสนามบินที่กว้างใหญ่ก็จะมีหลงทางกันบ้าง แต่ถ้าได้เห็นบรรยากาศข้างนอกเขาจะรู้ว่า เขาจะรู้ว่าเขาอยู่ส่วนไหนของสนามบิน รู้ว่านี่คือทางออก นี่คือทางขึ้นเครื่องบิน

ดังนั้น เขาจึงต้องใช้กระจกบานใหญ่ ๆ เพราะจะทำให้คนไม่หลงทางนั่นเอง

แล้วทำไมชั้นขาเข้ามักอยู่ชั้นล่าง ส่วนชั้นขาออกมักจะอยู่ชั้นบน? นั่นเพราะขาออกคือบริเวณที่คนใช้เวลามากที่สุด ส่วนขาเข้าคือคนที่บินมาแล้วอยากจะกลับเข้าไปในเมือง คนเหล่านี้ไม่อยากจะอยู่ในสนามบินนาน ดังนั้นเขาจึงให้อยู่ชั้นหนึ่งเพราะทำให้อยู่ใกล้พื้นดินมากที่สุดจะไม่ต้องลงบันไดเลื่อนให้ยุ่งยาก

สุดท้ายทำไมเวลาเรารอเครื่องบินตามเกต พื้นบริเวณนั้นมักจะเป็นพรม แต่บริเวณก่อนเข้าเกต พื้นจะเป็นกระเบื้องหรือหิน นั่นเพราะเวลาเราเดินบนพื้นแข็ง ๆ เราจะรู้สึกว่าเป็นทางเดิน แต่ถ้าเป็นพื้นพรมจะให้ความรู้สึกรีแลกซ์มากกว่า

ดังนั้น ที่เลือกใช้พื้นพรมตรงบริเวณเกตที่ต้องรอขึ้นเครื่อง เพราะเขาอยากให้คนที่นั่งรอรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกเหมือนถึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น

ถอดความจาก: Design You Don’t See Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

เรียบเรียงโดย ภัทราวดี ศรีชัย นักศึกษาเอกฟิล์มที่มักจะมองทุกเรื่องในชีวิตให้เป็นเรื่องตลก

Related Articles

เยิรเงาสลัว หนังสือเล่มเล็กที่พูดถึงแสงเงาที่ละเมียดละไมและมีความพิเศษเป็นของตัวเอง

เยิรเงาสลัว (In Praise of Shadows) คำว่า “เยิร” ไม่มีคำแปลในพจนานุกรม แต่สามารถสื่อความหมายได้ว่า “เยินยอ”…

Morning Call | Podcast

3 วิธีปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ในวันที่ไอเดียตีบตัน

เชื่อว่าหลายคนเคยเคยนั่งคิดงานมาทั้งวันจนมาถึงจุดที่สมองมันตัน ไปต่อไม่ได้แล้ว คิดงานไม่ออก คิดอะไรที่สร้างสรรค์ยาก แล้วจะทำอย่างไรดี วันนี้ Creative Talk จะพาทุกคนไปหาวิธีปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ในวันที่รู้สึกตีบตันไอเดียซะเหลือเกิน กับ…

Article | Creative/Design