Trending News

Subscribe Now

ถอดรหัสเบื้องหลังการพูดของทิม พิธา และพรรคก้าวไกล

ถอดรหัสเบื้องหลังการพูดของทิม พิธา และพรรคก้าวไกล

Article | Living

ในช่วงนี้เปิดโซเชียลไปทางไหนต่างก็ต้องเห็นหน้าของคุณทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถ้าใครได้สังเกตการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง คุณพิธาจะมีสไตล์การพูดที่ชัดเจนและดึงดูดผู้ฟัง จนรู้สึกว่าถ้าพูดได้แบบนี้คงมีเสน่ห์เพิ่มขึ้น มาลองดูเทคนิคหรือรหัสลับเบื้องหลังการพูดของทิม พิธา และพรรคก้าวไกลกัน

ไอเดียต้องชัด ใจความสำคัญต้องได้

หัวใจหลักสำคัญของการพูดแบบคุณพิธา และพรรคก้าวไกลก็คือ ‘ใจความสำคัญ’ ของการสื่อสาร ซึ่งการมีไอเดียที่ชัดจะทำให้คนในทีมเข้าใจว่าเราต้องการอะไร และพูดเรื่องเดียวกันได้อย่างถูกต้อง ถ้าไอเดียไม่ชัด สารตั้งต้นไม่ดี แน่นอนว่าสื่อสารยังไงก็ไม่มีทางชัด 

จะเห็นว่าเวลาคุณพิธาหรือพรรคก้าวไกลจะไปขึ้นเวทีไหน พวกเขาก็สามารถสื่อสารในสิ่งที่พูดได้อย่างชัดเจน อาทิ สโลแกนมีเราไม่มีลุง, ปิดสวิต์ สว., การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในการสื่อสารที่ทำให้คนฟังเข้าใจในทุกสถานการณ์

การใช้คำว่า ‘เรา’ กับทีม

ทุกครั้งที่คุณพิธาขึ้นปราศรัยถึงนโยบาย เขาจะพูดสรรพนามของตัวเองว่า ‘เรา’ แทนที่จะเป็น ‘ผม’ อยู่เสมอ สิ่งนี้สื่อถึงการเป็นทีมเวิร์กที่ดีกับองค์กร แสดงให้เห็นเลยว่าไอเดียหรือนโยบายใด ๆ ที่พรรคก้าวไกลคลอดออกมา ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่พวกเขาร่วมกันทำทั้งหมด นอกเหนือจากนั้นการใช้คำว่า ‘เรา’ ยังเป็นการตอกย้ำให้ทีมรู้ด้วยว่า ‘เราจะทำสิ่งนี้ด้วยกัน’

การใช้คำว่า ‘เรา’ กับผู้ฟัง

ในการปราศรัยของคุณพิธานั้น นอกจากจะใช้คำว่าเรากับทีมงานแล้ว เขาก็ยังใช้คำว่า ‘เรา’ กับผู้ฟังด้วย ซึ่งสิ่งนี้เป็นการ empower กลุ่มคนฟังให้รู้สึกว่าคนที่อยู่ตรงหน้าเป็นพวกเดียวกัน เป็นการสื่อว่านักการเมืองเป็นตัวแทนของประชาชน นอกจากนั้นทักษะการพูดว่า ‘เรา’ กับกลุ่มผู้ฟัง ยังเป็นเทคนิคสำคัญที่จะเรียกพลังมาจากประชาชนที่กำลังฟังอยู่ด้วย

ผู้พูดต้องมีความยืดหยุ่น สลับหนัก-เบา

การที่ผู้พูดมีคาแรกเตอร์ที่ยืดหยุ่น หมายถึงสามารถปรับการพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง และสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าได้ ไม่ว่าจะแบบเป็นมิตรหรือดุดันก็ตาม เพราะเทคนิคนี้จะช่วยบิลด์อารมณ์คนฟังให้รู้สึกมีส่วนร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามต้องย้อนกลับไปที่สารตั้งต้นในข้อ 1 ก่อน ถ้าใจความสำคัญของเราชัด ไม่ว่าจะมีคาแรกเตอร์แบบไหน เราก็จะสามารถสื่อสารไปได้อย่างตรงจุดในที่สุด

ต้องมีความรู้ประดับสมองในระดับ Global Level

ความรู้ก็เหมือนอาวุธ ยิ่งเรามีคลังความรู้ในหัวมากเท่าไหร่ เราก็สามารถตอบคำถามได้มากเท่านั้น ซึ่งความรู้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงจะให้เราเป็นผู้รอบรู้ทุกเรื่อง แต่เราต้องมีความเข้าใจโลก เข้าใจปัญหาระดับใกล้ตัวไปจนถึงไกลตัว ซึ่งการเข้าใจสิ่งรอบข้างจะทำให้เรามีความรู้ที่กว้างขวาง

สามารถรับฟังเนื้อหาเพิ่มเติมได้ใน Clubhouse ถอดบทเรียนการพูดแบบทิม พิธาและก้าวไกล โดย เก่ง- สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

Related Articles

NIKE ทำอย่างไรถึงชนะใจวัยรุ่น GEN Z

ผลสำรวจฤดูใบไม้ผลิปี 2021 ของ ‘Piper Sandler’ พบว่าวัยรุ่นอเมริกันอายุเฉลี่ย 16 ปี ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาชื่นชอบแบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้าแฟชันของ NIKE…

Creative/Design

รวมเคล็ดลับจัดพื้นที่ทำงานให้ดีต่อใจดีต่องาน

มนุษย์เราถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโต เรียนรู้ได้อยู่เสมอ การที่เราอยู่ในสถานที่แวดล้อมแบบไหน เรามักจะแนวโน้มที่จะพัฒนาตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามสภาวะแวดล้อมนั้น

Article | Living

6 เหตุผลที่หัวหน้าควรส่งเราไปงาน CTC2020

Personal Development พัฒนาตัวเองตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่เล็ก อย่างความสัมพันธ์ระหว่างทีมงาน การเข้าใจมนุษย์ การวางแผนการทำงาน จนถึงเรื่องใหญ่อย่างการตลาด, นวัตกรรม,…

Article | Creative/Design