Trending News

Subscribe Now

“จงกล้าที่จะแตกต่าง” แล้วแตกต่างอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

“จงกล้าที่จะแตกต่าง” แล้วแตกต่างอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

Article | Creative/Design

“ถ้าแตกต่างก็มักจะถูกต่อต้าน คนส่วนใหญ่จึงเลือกหนทางที่ปลอดภัยกว่า ด้วยการคิดและทำตาม ๆ กัน แต่โลกไม่เคยจำคนที่เดินตามคนอื่น”

หนังสือ Originals

คำถามคือ “แล้วจะแตกต่างอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ?”

Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดัง และอาจารย์จากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตัน (Wharton School) ได้ทำการศีกษากลุ่มคนที่คิดต่างและสร้างสิ่งที่แปลกใหม่ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จในวงกว้าง เขาพบว่าคนเหล่านั้นมีคุณสมบัติที่คล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อ เขาชวนตั้งคำถามผ่านตัวอักษรว่า คนแบบไหนที่ใช้ความแตกต่างมาเปลี่ยนโลก คนแบบไหนที่สามารถจุดกระแสให้ผู้คนเดินตามจนถูกขนามนามว่าเป็น “Originals”

“Originals” ถึงแม้จะแปลว่า ต้นแบบ หรือความสดใหม่ที่ไม่เหมือนใคร แต่ในหนังสือเล่มนี้บอกว่า แท้จริงแล้วความคิดทั้งหมดของเรา ไม่ว่าเราจะอะไรคิดมาก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลมาจากสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากโลกรอบตัว เรามีส่วนหยิบยืมความคิดคนอื่นมาตลอดเวลา โดยที่เราตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นคำว่า “Originals” ที่หนังสือเล่มนี้พูดถึงคือ คนที่ริเริ่ม ทำให้ความฝันของพวกเขาให้กลายเป็นจริง 

ภาพจาก se-ed.com

ผู้เขียนร่วมมือกับนักจิตวิทยาด้านการเมืองชื่อ จอห์น จอร์จ ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การตอบสนองของคนเราต่อสิ่งที่ไม่พวกเขาไม่พึงพอใจ ได้ความว่า หลายคนที่เผชิญกับปัญหาเหล่านั้น กลับไม่กล้าออกมาสู้กับมัน ไม่กล้าออกมาต่อต้าน ไม่กล้าออกมาเสนอแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งอันนี้เลยเป็นปัญหา 

ผู้เขียนบอกว่า คนที่กล้าออกมาสู้กับสิ่งเดิม ๆ เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ คนเหล่านี้มักจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ หรือเป็น ‘Originals’ ในมุมที่เขาพูดถึง 

เขาบอกต่อว่า สัญญาณที่จะบ่งบอกว่า คุณเป็นคนแบบ Originals หรือเปล่า คือการที่คุณกล้าปฎิเสธสิ่งเดิมๆ และตั้งคำถามว่า “มันมีอะไรใหม่ๆ ที่ดีกว่าสิ่งเดิมๆ นี้ หรือไม่” เขาเสริมว่า จุดเริ่มต้นที่จะทำให้คุณเป็นคนแบบนั้นได้คือ ความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การไตร่ตรองว่า แล้วทำไมมันถึงมีสิ่งเดิมๆ และเราจะสงสัยต่อไปว่า ทำไมเราถึงต้องทำแบบนั้นตั้งแต่แรกกันนะ พอเราเริ่ม มีความสงสัยมากขึ้น เราจะเจอกับภาวะ “วูจาเด” หรือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “เดจาวู”

“วูจาเด” คืออะไร? 

เดจาวู คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเวลาเราเจอกับสิ่งใหม่ๆ แต่ในใจคิดว่าสิ่งนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว ส่วน ”วูจาเด” คือ ความรู้สึกที่เราเจอกับสิ่งที่คุ้นเคย หรือเคยเจอมาแล้ว แต่เรากลับมองสิ่งนั้นด้วยมุมมองที่แปลกใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งใหม่ๆ เกี่ยวกับปัญหาเดิมนั่นเอง

ต่อมาเขาชวนเราตั้งคำถามว่า แล้วคนธรรมดาจะเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างไร 

ถ้าพูดถึงคนที่จะเปลี่ยนแปลงโลกเราจะนึกถึง เด็กอัจฉริยะ เด็กที่สอบได้คะแนนท้อป นักคณิตศศาสตร์โอลิมปิก แก้โจทย์แคลคูลัสได้แบบสบายๆ ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ พูดได้ 7 ภาษา หรืออะไรประมาณนี้ใช่ไหม

แต่ในหนังสือเล่มนี้บอกว่า เด็กอัจฉริยะแทบจะไม่เคยเติบโตขึ้นไปเปลี่ยนแปลงโลกเลย หลายคนอาจจะคิดว่า เด็กอัจฉริยะเก่งแค่ในตำรา ไม่เก่งเรื่องการดำเนินชีวิต จึงทำให้พวกกเขาไม่เคยเปลี่ยนแปลงโลกได้เลย ผู้เขียนแสดงหลักฐานให้เห็นว่า ความคิดนั้นไม่เป็นความจริง

ที่บอกว่าเด็กที่เป็นอัจฉริยะเก่งแต่ในเรื่องตำรา แต่ไม่เก่งในเรื่องการดำรงชีวิต เพราะว่าเอาเข้าจริงแล้ว คนที่เป็นอัจฉริยะก็ดำเนินชีวิตได้ดี ได้เก่ง เหมือนคนทั่วๆ ไปนั่นแหละ แต่เหตุผลที่เด็กอัจฉริยะไม่สามารถเป็นคนที่จะขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้าได้ก็เพราะว่า เขาถูกฉุดรั้งจากการไม่ได้เรียนรู้ที่จะทำตัวเป็นตัวต้นแบบ หรือ “The Originals” นั้นเอง

เขาบอกว่าการฝึกฝนทำให้เราเก่งก็จริง แต่มันไม่ได้สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา 

เด็กที่เป็นอัจฉริยะหรือมีพรสวรรค์ สามารถหัดเล่นถ้วงทำนองอันแสนยอดเยี่ยมของโมทซาร์ท (Mozart) และเล่นบทเพลงซิมโฟนี ของบีโธเฟน (Beethoven) ได้ แต่กลับไม่เคยแต่งเพลงเป็นของตัวเองเลย แทนที่จะคิดค้นกฎเกณฑ์ หรือเกมใหม่ๆ ของตัวเอง คนเหล่านี้กลับทำสิ่งที่เหมือนเดิม เพื่อให้ได้รับผลยอมรับจากพ่อแม่และการชื่นชมจากครูนั่นเอง

นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดมีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะเป็นคนโปรดของครู พูดง่ายๆ คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะเป็นคนที่ครูไม่ชอบ พร้อมบอกอีกว่า เขาไปศึกษาที่โรงเรียนครูประถม แล้วให้คุรครูลิสต์รายชื่อของนักเรียนคนโปรดขึ้นมาแล้วก็พบว่า นักเรียนที่ครูไม่ค่อยโปรดปรานหรือที่ครูไม่ค่อยชอบ มักจะเป็นกลุ่มคนที่ไม่ยอมเชื่อกับอะไรง่ายๆ ไม่ยอมคล้อยตามในสิ่งเดิมๆ แล้วก็มักจะตั้งกฎเกณฑ์ของตัวเองขึ้นมา

คุณครูมักจะชอบดุนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงๆ เพราะครูมองว่าคนพวกนี้เป็นพวกตัวปัญหา นักเรียนหลายคน จึงเรียนรู้ที่จะต้องยอมอยู่ในกรอบ แล้วเก็บแนวคิดต้นแบบไว้กับตัว สุดท้ายคนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นคนที่เชื่องที่สุดในโลกนั้นเอง 

กล้าที่จะแตกต่าง

ดังนั้น อัจฉริยะบุคคลหรือคนที่มักจะเปลี่ยนแปลงโลกส่วนมาก พวกเขาแทบจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าพวกเขาเปลี่ยนแปลงโลก ยกตัวอย่างเช่น จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ที่สนใจในกิจการข้าวสาลี แป้ง และการประมง ก็เพิ่งจะร่วมปฎิวัติหลังจากที่ อดัมส์ เสนอชื่อเขาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด วอชิงตัน ยังเขียนถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ผมพยายามทุกวิธีทางเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งนี้มาโดยตลอด

หรือกระทั่งคนที่โด่งดังอย่าง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr.) คนที่พยามพยามสู้เพื่อการต่อต้านเรื่องการเหยียดผิว เขาก็บอกว่า จริงแล้วเขาเองก็ไม่ได้อยากจะเกิดมาเพื่อต่อต้านเรื่องนี้ ความใฝ่ฝันสูงสุดของเขาคือการเป็นบาตรหลวง และเป็นอธการบดีของมหาวิทยาลัย

หนังสือเล่มนี้ยังบอกอีกว่า มีนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) เคยตั้งข้อสังเกตมา 1 อย่างว่า การเป็นต้นแบบ คือการทำลายล้างเชิงสร้างสรรค์ การสนับสนุนระบบใหม่มักจะต้องอาศัยการทำลายล้างวิธีการแบบเดิม ดังนั้นหลายคนจึงเก็บงำความคิดใหม่ๆ ไว้กับตัว เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นคนสร้างปัญหา

เขาบอกว่า พอเขาลองไปสัมภาษณ์พนักงานที่ทำงานต่างๆ ไม่ว่ าจะเป็นเรื่องการให้คำปรึกษา พนักงานให้บริการด้านการเงิน สื่อ เภสัชกรรม และการโฆษณา เขาพบว่าคน 85% เลือกที่จะนิ่งเงียบ ในการแสดงความคิดเห็นสำคัญต่อหน้าเจ้านาย เพราะว่าคิดว่าอยู่แบบเดิมๆ ก็ปลอดภัยดีแล้ว 

เขาบอกยังบอกอีกว่า เราค้นพบวิธีการทำให้ตัวเราดูเหมือนต้นแบบ เมื่อมองแบบผิวเผิน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว การผูกหูกระต่าย การสวมรองเท้าที่สีสันฉูดฉาด คือเราจะรู้สึกว่าเป็นคนที่ต่อต้านไม่แต่งตัวเหมือนคนอื่น แต่กลับไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำตัวเป็นต้นแบบจริงๆ เพราะเราไม่ยอมทำตามแนวความคิดอันทรงพลังในหัวของเราเองและค่านิยมหลักในใจของเรา 

คนต้นแบบนั้นมีเพียงไม่กี่คน เพราะว่า คนเรากลัวที่จะแสดงความเห็นและจุดยืนที่แตกต่าง

อ่านไปเรื่อยๆ เขาก็ชวนคิดว่า คนที่กล้าเป็น Originals จะต้องกล้าเสี่ยงด้วยรึป่าว? โดยโฟกัสไปที่ เจ้าของกิจการ เพราะความหมายของคำว่าเจ้าของกิจการคือ การเป็นคนที่รับความเสี่ยงเยอะที่สุด 

ในความจริงแล้วคนที่เป็น Originals กลับไม่ได้เป็นคนที่กล้าเสี่ยงขนาดนั้น แต่เป็นคนที่ Play safe ยกตัวอย่างเช่น ผู้ก่อตั้ง NIKE ตอนที่เขาทำธุรกิจอยู่ เขาต้องทำงานประจำไปด้วย เพราะว่ากลัวจะพลาด และตัวเองจะไม่มีเงินใช้ แม้กระทั่ง สตีฟ วอซเนียก (Steve Wozniak) คนที่เป็น Co-founder ร่วมกันกับ สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ตอนที่ทำ Apple ก็ยังคงทำงานประจำอยู่เช่นกัน หรือแม้แต่ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) เองที่บอกว่าออกมาจากการเรียน แต่ก็เป็นการหยุดพักการเรียน ซึ่งก็ไม่ได้เสี่ยง 100% 

ในขณะเดียวกันผลวิจัยพบว่า คนที่กล้า บ้าบิ่น ออกมาจากบริษัทเลย เพื่อที่จะออกมาทำธุรกิจของตัวเองกลับเป็นคนที่ประสบความล้มเหลวในการทำธุรกิจมากว่าคนที่ Play safe ซะอีก 

“Originals” คนต้นแบบ นับว่าเป็นหนังสือที่อ่านสนุก ค่อนข้างสร้างแรงบันดาลใจ และพลังได้เป็นอย่างมากทีเดียว

เรียบเรียงจาก : Morning Call Podcast
เรียบเรียงโดย : สนธยา สุตภักดิ์

Related Articles

ชวนหาคำตอบ ทำไมขวดบรรจุนมต้องเป็นขวดพลาสติกขุ่น

เคยสังเกตไหมว่าทำไมขวดนมที่ขายอยู่ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อแถวบ้านจึงใช้ขวดพลาสติกแบบขุ่น ไม่ใช้แบบใสเหมือนขวดน้ำที่ขายกันอยู่ทั่วไป? หากจะบอกว่าเป็นเพราะราคา หรือการออกแบบเพื่อความสวย เพื่อการตลาดแล้วละก็ ทำไมถึงใช้ขวดขุ่นเหมือนกันหมดทุกแบรนด์ ทุกรุ่น บางคนบอกว่าการใช้ขวดใสจะทำให้มีผลต่อนมที่บรรจุอยู่ข้างใน แน่นอนว่าเราอาจจะเคยเห็นนมบางยี่ห้อที่ใช้ขวดแก้วใส และนั่นก็ยิ่งเพิ่มความฉงนงงงวยเข้าไปอีก…

Article | Creative/Design | Design You Don't See | Podcast

การออกแบบทางออกที่คุณอาจยังไม่รู้

เคยไหมเวลาคุณไปที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นตึก ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่บนท้องถนน บางครั้งคุณสามารถหาก็หาทางออกไม่เจอ เชื่อไหมว่า ‘ทางออก’ เป็นส่วนหนึ่งของการดีไซน์ซึ่งไม่มีคำว่าบังเอิญและการที่สถานที่ต่างๆ หาทางออกง่ายหรือยาก ล้วนผ่านการออกแบบมาแล้วทั้งสิ้น…

Creative/Design | Design You Don't See | Podcast

5 แคมเปญชนะใจลูกค้าอสังหาฯ ช่วง COVID-19 โดย AP THAILAND

COVID-19 ส่งผลกระทบทำให้สภาพเศรษฐกิจซึมลงอย่างต่อเนื่อง นักการตลาดต่างต้องพับเก็บแผนบุกตลาดช่วงต้นปี 2020 มาคิดแคมเปญ ‘นอกกรอบ’ ในสภาวการณ์ที่ไม่ค่อยเป็นใจนี้ เพื่อสร้างภาพจำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าให้ได้ หนึ่งในแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ที่ลุกขึ้นมาสร้างสีสัน คลายอารมณ์หม่น…

Article | Digital Marketing