Trending News

Subscribe Now

“คนอวัยวะหมู” เทคโนโลยี “CRISPR” แก้ปัญหาอวัยวะขาดแคลนของมนุษย์

“คนอวัยวะหมู” เทคโนโลยี “CRISPR” แก้ปัญหาอวัยวะขาดแคลนของมนุษย์

Morning Call | Podcast | Technology

เรื่องของการที่นักวิทยศาสตร์ในปัจจุบันพยายามนำอวัยะของหมูมาแทนอวัยวะของมนุษย์ที่กำลังขาดแคลน การพยายามพัฒนาเทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ขนาดนี้ ทำมานานหลายสิบปีแล้ว

เรื่องของคนอวัยวะหมู วิวัฒนาการของการที่มนุษย์พยายามที่จะนำอวัยวะหมูไปแทนที่อวัยวะของมนุษย์ที่กำลังขาดแคลน มีตัวเลขออกมาในอเมริกามีคนที่กำลังรออวัยวะอยู่ประมาน 1 แสนคน ในจีนมีมากกว่าถึง 2 ล้านคน แน่นอนว่าอวัยวะมนุษย์ เช่น หัวใจ ตับ ขาดแคลน คนที่เสียชีวิตบางครั้งไม่ได้บริจาคจึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องคิดค้นสิ่งที่แก้ปัญหาความขาดแคลนตรงนี้ สิ่งที่ทำคือลองหาอวัยวะอื่นมาใส่แทนที่กัน 

วงการวิทยาศาสตร์มีเทคโนโลยีหนึ่งเรียกว่า CRISPR ชื่อเต็ม ๆ คือ CRISPR/CAS9 ตามที่หาข้อมูลมาเขาบอกว่าระบบ CRISPR เป็นระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรียในการกำจัดสาย DNA แปลกปลอม ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส การค้นพบ CRISPR หมายความว่า จะทำให้นักวิจัยสามารถดัดแปลงลำดับของสาย DNA ในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ตามที่ต้องการ ถ้าสนใจเรื่องนี้ลองไปค้นคว้าเรื่อง CRISPR ซึ่งเป็นการที่มนุษย์พยายามดัดแปลง DNA ได้เซลล์สิ่งมีชีวิตที่ต้องการกันได้

การที่เราพยายามที่จะปรับพวกนี้ สามารถทั้งปรับรวมไปถึงทำลาย DNA ของพวกเชื้อพวก HIV ได้ ป้องกันไม่ให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องในภูมิคุ้มกันติดเชื้อเพิ่มได้ด้วย เหมือนกับเป็นวิวัฒนาการที่มนุษย์สามารถเข้าไปปรับแต่งเซลล์ DNA ข้างในได้

หมายความว่าโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรมที่มีติดต่อกันมาจะสามารถรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้ด้วย ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มด้วยเทคโนโลยีของ CRISPR อาจจะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้อีก รวมไปถึงการต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสต่าง ๆ ได้ด้วย 

สิ่งที่เขาทำกันมีการพยายามที่จะตัดต่อผสมเซลล์พวกนี้ ล่าสุดลองทดลองนำเซลล์ของแมงกระพรุนเรืองแสงใส่ไปในตัวกระต่าย ทำให้กระต่ายเรืองแสง มะเขือเทศนำเซลล์ของพริกไปใส่เป็นมะเขือเทศเผ็ด 

คนอวัยวะหมู

ส่วนการที่คนนำอวัยวะหมูใส่เข้าไปในตัวคน ตอนนี้มีบริษัท Startup ชื่อ eGenesis นำอวัยวะหมูมาทดลองเพื่อจะนำมามาใส่ไว้ในตัวมนุษย์ เพื่อแก้ปัญหาอวัยวะขาดแคลนของมนุษย์

แล้วทำไมต้องเป็นหมู ไม่เป็นสัตว์ชนิดอื่น เช่น ลิง ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ ทำไมถึงไม่ใช่ลิง มีเหตุผลว่าลิงมีโอกาสติดเชื้อสูง ในเรื่องของการเพาะเลี้ยงค่อนข้างยาก เพราะลิงมีเชื้อไวรัส HIV เชื้อตับอักเสบ โลกใบนี้ของเราไม่มีฟาร์มเลี้ยงลิง เราไม่ได้เลี้ยงลิงอย่างจริงจังเหมือนกับหมู หมูเป็นสัตว์ที่เราเลี้ยงกันตลอดเวลา มีเทคโนโลยีในการควบคุมโรคต่าง ๆ หมูจึงเข้ากันได้มากกว่า 

บริษัท eGenesis เลยพยายามทดลองโดยนำอวัยวะหมูมาทดลอง แต่การจะทดลองใส่ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ จะนำหัวใจหมูมาทดลองใส่กับมนุษย์ในทันที ซึ่งจะเป็นการทดลองที่ค่อนข้างน่ากลัวกับมนุษย์อาจเสียชีวิตได้ จึงต้องทดลองกับสัตว์ที่คล้ายกันคือ ‘ลิง’ ก่อน หวังว่าจะสามารถนำมาใช้กับมนุษย์ในอนาคต

ปัจจุบันยังมีแค่การทดลองอยู่ยังไม่สามารถทำได้จริง ก่อนหน้านี้ประมาณปี 2017 นายจอร์จ เชิร์ช (George Church) ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมของมหาลัยฮาร์วาร์ด เคยบอกว่าจริง ๆ แล้วเราสามารถนำอวัยวะหมูมาใส่ในมนุษย์ได้ภายใน 2 ปี แต่ตอนนี้ผ่านมาแล้วยังทำไม่ได้เพราะเป็นเรื่องยากกว่าที่คิดมาก เขาจึงออกมายอมรับว่า “I was Wrong” 

บริษัท eGenesis  ทำการทดลองผ่าตัดขึ้นที่ Massachusetts General Hospital ในบอสตันโดยคนที่ผ่าตัดเป็นคุณหมอผ่าตัดการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ปัจุบันมีมนุษย์ประมาณ 1 แสนคนในอเมริกาที่รออวัยวะอยู่ และคนจีนมากถึง 2 ล้านคนที่กำลังรอการเปลี่ยนถ่าย แต่ไม่มีอวัยวะเพียงพอ 

ขั้นตอนในการเปลี่ยนถ่าย CRISPR นั้นเป็นอย่างไร?

พันธุกรรมของหมูจะมียีนส์อยู่ ซึ่งมีหลายยีนส์มากที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ ดังนั้นเมื่อเรานำอวัยวะของหมูมาใส่ในร่างกายของมนุษย์ จะทำให้มีการต่อต้านกับอวัยวะเหล่านั้น และไม่สามารถรับได้ แม้กระทั่งอวัยวะมนุษย์ด้วยกันเองยังมีการต่อต้าน

แต่ CRISPR สามารถทำตัวเป็นกรรไกรตัดต่อยีนส์เหล่านี้ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ออกไปได้ถึง 62% ทว่าการตัดต่อยีนส์ออกจากหมู ไม่ใช่การนำอวัยวะออกมาตัดต่อยีนส์แล้วนำมาเสียบไว้ที่คน ขั้นตอนยากกว่านั้นมาก ต้องตัดยีนส์เหล่านี้จากตัวอ่อนของหมูแล้วค่อยนำตัวอ่อนของหมูกลับเข้าไปฝังในแม่หมูอีกทีหนึ่ง เพื่อให้แม่หมูคลอดลูกหมูออกมาเป็นลูกหมูที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจึงนำอวัยวะของลูกหมูตัวนี้มาใส่ในร่างกายของมนุษย์โดยหวังว่าจะไม่เป็นอันตราย 

วิวัฒนาการในตอนนี้ยังไม่ได้มีผลสรุป แต่ก่อนหน้านี้เคยทดลองนำอวัยวะหมูใส่ไว้ในลิงบาบูน ใส่ควบคู่กันไปโดยมีหัวใจ 2 อัน ลิงตัวนั้นอยู่ได้ 2 ปี หลังจากนั้นทำการสลับเปลี่ยนนำหัวใจลิงออก ผลปรากฏว่าลิงตัวนั้นอยู่ได้ถึง 6 เดือน ซึ่งดูเหมือนสั้นแต่ความจริงแล้วถือว่าค่อนข้างยาวนาน ปัจจุบันนี้บริษัท eGenesis  ต้องใช้หมูเป็นจำนวนมาก โดยมีการเพาะหมูไว้ในอเมริกาอยู่ประมาณ 100 ตัว และคู่ค้าในจีน XianBiotech อยู่ในหางโจว ก็มีการเพาะหมูเพื่อเพาะอวัยวะไว้หลายร้อยตัว แต่ยังติดเรื่องกฏหมายที่ว่าจะนำอวัยวะหรือหมูข้ามประเทศ

ฟังดูแอบเครียดต่อไปกระเพาะหมูต้องมาอยู่ในตัวเรา หวังว่าจะได้ประโยชน์ได้ความรู้เพิ่มเติม แนะนำให้ลองค้นคว้าเรื่อง CRISPR มีคนเขียนเรื่องนี้อยู่เยอะทีเดียว

ภาพจาก Ali Madad Sakhirani

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

Related Articles

หัวใจของ Smart City คือเทคโนโลยีหรือพลเมือง ? ค้นหาคำตอบผ่าน 4 เมืองต้นแบบจาก 4 เสือแห่งเอเชีย

เมืองเหล่านี้มีจุดเริ่มต้นแบบไหนและมีแนวคิดอย่างไรถึงพาเมืองของตนมาได้ไกล จนเป็น Smart City ชั้นนำของเอเชียได้อย่างทุกวันนี้ เราลองมาหาคำตอบกัน

Article | Living | Technology

หุ่นยนต์จิ๋วสั่งงานด้วยเสียงจากญี่ปุ่น ในงาน lnnovfest Unbound 2018

มาดูหุ่นยนต์จิ๋วสั่งงานด้วยเสียงจากญี่ปุ่น ในงาน lnnovfest Unbound 2018 งานคอนเฟอร์เรนซ์ระดับอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์  

Article | Technology

กล้าเผชิญหน้าคุยกับคนด้วยหลัก F.B.I.

จะทำอย่างไรเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับใครสักคนเพื่อที่จะบอกความจริงในสิ่งที่เขาไม่อยากฟัง หรือจะตำหนิใครซักคน จะพูดอย่างไรให้ชัดเจน มีเหตุผล และได้ผลลัพท์ไปในทางที่ดีขึ้น จากบรรยายของ Simon Sinek ได้บอกเทคนิคการพูดกับคนเมื่อต้องเผชิญหน้าด้วยหลัก F.B.I….

Morning Call | Podcast