Trending News

Subscribe Now

สู้วิกฤตการณ์โลกในอนาคตด้วย Data โดยใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์

สู้วิกฤตการณ์โลกในอนาคตด้วย Data โดยใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์

Article | Technology

จากบทความก่อนที่ผมเล่าว่า สังคมโลก พฤติกรรมมนุษย์จะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังวิกฤตนี้ เพราะในอดีตหลายวิกฤตก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อทั้งโลกไม่ว่าจะสงครามโลกหรือโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเมื่อปี 1918 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า  500 ล้านคนทั่วโลก วิกฤตการณ์เหล่านั้นยากที่จะป้องกันเพราะในอดีตยังไม่มีการทำข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ไม่รวดเร็วเช่นทุกวันนี้ 

แม้การระบาดของ COVID 19 จะส่งผลอย่างมากในทุกภาคส่วน แต่ด้วยข้อมูลที่สื่อสารออกไปนั้นทำให้หลายประเทศสามารถจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบอย่างมาก หน่วยงานรัฐต่างๆ สามารถวิเคราะห์ ข้อมูล (Data) มหาศาล พร้อมใช้หลักการทางจิตวิทยา พฤติกรรมสำหรับจัดการสังคมให้รับมือโรคระบาดได้ รวมถึงสามารถจัดการทั้งชีวิตตัวเองและหน้าที่การงานช่วงโรคระบาดได้ พร้อมให้รัฐตระหนักได้ว่าต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างไรจากข้อมูลเช่น ปัจจัยสำคัญการแพร่กระจายโรคระบาด คือ การเดินทางของคนซึ่งในอดีตการเดินทางของคนไม่สามารถติดตามได้เลยว่าใครไปที่ไหนมาบ้าง แต่ในยุคข้อมูลที่มีจากการติดตามทางการเดินทางต่างๆ จะคาดการณ์ถึงพฤติกรรมคนได้

ใช้ข้อมูลมือถือในการติดตามคน และทำนายพฤติกรรมโดยการใช้ข้อมูล

การใช้ data วิเคราะห์พฤติกรรม

การเก็บข้อมูลมือถือจากผู้ให้บริการมือถือต่าง ๆ ในอดีตเคยใช้ช่วยโรคระบาดอีโบล่าในแอฟริกาตะวันตก เมื่อไม่นานมานี้บริษัท Data เบลเยี่ยมอย่างบริษัท Dalberg Data Insights ถูกร้องขอจากรัฐบาลในการวิเคราะห์ Data จากการระบาด COVID 19 โดยรวบรวมข้อมูลมือถือจากค่ายมือถือต่างๆ (ข้อมูลจะถูกส่งมาโดยไม่ระบุตัวตน) จากข้อมูลที่ส่งมาให้นี้จะทำให้บริษัทเข้าใจว่า แนวโน้มการเคลื่อนไหวของคนและสังคมเป็นอย่างไรบ้างในช่วงที่จะปิดเมือง (Lockdown) หรือทำนายความเสี่ยงของโรคระบาดว่าจะรุนแรงมากแค่ไหน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เราจะเข้าใจว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนในทางจิตวิทยา เช่น คนที่ Extrovert มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อสู่คนอื่นเพิ่มขึ้น หรือคนประเภท Conservative มักจะมีความเชื่อของตัวเองที่ไม่ฟังคนอื่น และเสี่ยงแพร่เชื้อคนอื่นต่อ (เช่น คุณป้าเกาหลีที่เชื่อในพระเจ้าจนไม่ป้องกัน) หรือคนที่ หวาดระแวงมากจนเกินไป (paranoid) ก็มีความเสี่ยงที่จะเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ออกไปทำให้สังคมตื่นตระหนก

ด้วยข้อมูลที่วิเคราะห์นี้ทำให้ทางการเบลเยี่ยมสามารถลดการเคลื่อนที่ของคนลงกว่า 54% ยิ่งกว่านั้นบางพื้นที่ของเบลเยี่ยมเองกลับมีตัวเลขของคนที่เคลื่อนที่น้อยอย่างมาก ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้ทีมที่รับมือโรคระบาดสามารถจัดการได้อย่างง่ายว่าแต่ละพื้นที่ควรจัดการอย่างไร หรือในเกาหลีใต้เองก็ให้คนที่ติดเชื้อลงแอปพลิเคชันเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเช่นกัน 

ภาครัฐใช้ข้อมูลสำหรับกระจายเวชภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ 

การใช้ data วิเคราะห์พฤติกรรม

จากตัวอย่างที่ไต้หวันสามารถจัดการ COVID 19 ในประเทศได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ประชาชนหาซื้อสินค้าหรือหน้ากากได้และรู้ว่ามีจำหน่ายอยู่ที่ไหนบ้าง รวมถึงการกระจายสินค้าไม่ให้เกิดการขาดแคลนหรือสร้างความรู้สึกต่อประชาชนว่าสินค้าหายาก พร้อมทั้งนี้ไต้หวันยังสามารถจัดการเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ควรกระจายไปยังที่ต่างๆ อย่างไร ให้เหมาะสมที่สุดในยามที่เกิดโรคระบาดโดยทำให้รู้ว่าโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ไหนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงและมีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดสูงได้จากโมเดลที่คาดการณ์ ทำนายออกมา ภาคส่วนที่รับผิดชอบก็เตรียมเวชภัณฑ์ไปรอที่นั้นไว้รองรับเพื่อเตรียมรับมือต่อไป รวมทั้งสามารถรู้ได้ว่าที่ไหนมีเวชภัณฑ์เหลือโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการกักตุนอีกด้วย 

ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบนี้สามารถช่วยลดความกังวลของสังคมทั้งการกักตุนสินค้าโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นการลดความวุ่นวายในสังคมได้อย่างมากแน่นอนเมื่อไม่เกิดความวุ่นวายการจัดการโรคระบาดก็ง่ายขึ้นทันที 

ปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขด้วย Open Data และการเข้าถึง Data 

การใช้ data วิเคราะห์พฤติกรรม

การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล (Data) ที่ช่วยจัดการภัยคุกคามที่มีผลเช่นนี้ เราต้องการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพที่เพียงพอ หรือมีความเกี่ยวข้องที่จะใช้ต่อไปเพราะเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในอนาคตสังคมหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยากช่วยสามารถนำ Data เหล่านี้ไปพัฒนาเครื่องมือที่ดีเพื่อช่วยประชาชนให้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและจัดการความรู้สึกของสังคมต่อไปได้ด้วย ดังตัวอย่างที่ยกมาในต่างประเทศที่คนมีความสามารถในด้านต่างๆ มาร่วมมือกันโดยใช้ข้อมูลที่ได้มา ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาไม่ให้ร้ายแรงได้

แต่หลายครั้งปัญหาเหล่านี้ประชาชนไม่สามารถมีส่วนการช่วยเหลือได้ เพราะไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง แถมมีปัญหาเรื่องข้อมูลสุขภาพที่ไม่ได้เชื่อมต่อ หรือไม่มีข้อมูลที่เป็นมาตรฐานออกมาให้ใช้ รวมทั้งอาจขาดการอัพเดทอีกด้วย 

National Open Data Center 

ณ ตอนนี้ทุกประเทศจัดการวิกฤต COVID มีการเสนอการสร้างฐานข้อมูลประเทศที่เป็นระบบมีมาตรฐานขึ้นมา เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ในอนาคต โดยพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยทำให้เห็นข้อมูลเหล่านี้เป็นภาพรวมใหญ่ขึ้น สามารถทำนายผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดี หรือทำให้การทำงานระหว่างหน่วยงานสะดวก รวดเร็วขึ้นดี ทุกหน่วยงานเห็นเป็นภาพที่มีเป้าหมายเดียวกันมากขึ้น  

ผลพวงของ COVID 19 ครั้งนี้ สามารถสร้างอะไรใหม่ๆ ได้มากมาย อย่างการสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อช่วยป้องกันเหตุการณ์ลักษณะนี้ืในอนาคต หรือสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่งผลให้สถานการณ์คลี่คลายไวขึ้น ซึ่งผมคิดว่าทั้งหมดนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพนี้ขึ้นมาร่วมกัน 

เรื่อง : ฉกาจ ชลายุทธ Co-Founder&Visionary Chaos Theory
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข

Related Articles

Expectation Management ตอน2 ทำของดีมากไปก็เท่านั้น ถ้าพลาดแค่สิ่งเดียว

มาต่อกันในตอนที่สองนะครับ ซึ่งเรื่อง Expectaton Management หรือการจัดการกับความคาดหวังนี้ถ้าใครยังไม่ได้อ่านตอนแรก แนะนำให้ไปลองอ่านดูก่อนนะครับ Expectation Management ตอน 1 จัดการกับการคาดหวัง…

Entrepreneur | Morning Call | Podcast

สีสันการตลาด Thailand Zocial Awards 2020

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะ ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลอันดับ 1…

Article