Trending News

Subscribe Now

Creative Talk Weekend – ครีเอทีฟไร้กระบวนท่ากับ GQ และ แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป

Creative Talk Weekend – ครีเอทีฟไร้กระบวนท่ากับ GQ และ แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป

Business

ใครที่พลาดไลฟ์ Creative Talk Weekend – ครีเอทีฟไร้กระบวนท่า ของเราเมื่อวาน วันนี้เรามีสรุปประเด็นต่างๆ ที่ได้พูดคุยกับคุณจอร์จ ฮาร์เทล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท สุภารา จำกัด และ แบรนด์จีคิว แอพพาเรล GQ Apparel ร่วมกับคุณปภพ เชาวนปรีชา Deputy Executive Creative Director Rabbit’s Tale 

Everything has to changed

คุณจอร์จ : ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่อะเมซิ่งมากๆ เขาปล่อยโปรเจกต์ GQ White ออกไปซึ่งได้รับฟีดแบ็คที่ดีที่สุด มีคนเห็นคลิปและแคมเปญนี้ทั้งหมดประมาณ 50 ล้านวิวครับ

นอกจากนั้นแล้วบริษัทมีการ Transform ตัวเองอย่างหนัก เพราะว่า GQ เป็นแบรนด์ที่อยู่คู่เมืองไทยมานานแล้ว เราจะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมามีการปล่อยเสื้อสงกรานต์ที่ชื่อว่า GQ Color (เมื่อสาดน้ำใส่เสื้อ เสื้อจะเปลี่ยนสี) 

ตอนแรก GQ Color คอนเซปต์คือ Change Songkran Forever แต่ปรากฏว่าเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทางแบรนด์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดทุกอย่าง เนื่องด้วยสาขาในห้างสรรพสินค้าต้องปิด แต่เรากลับมองในแง่ดีว่า สถานการณ์นี้เป็นการเร่งให้เราต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ออนไลน์อย่างเร่งด่วน

_______________________________________________________________

คุณจอร์จ : จริงๆ GQ Color มีการปล่อยออกมาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์นี่เอง ตอนแรกก็คาดการณ์ไว้ครับว่าจะบูมมากในช่วงสงกรานต์ ในส่วนของการโปรโมทมีการจ้างคุณต่อ Phenomena ทำหนัง รวมถึง Moonshot และ แรบบิทเองด้วย ปรากฏว่า ปีนี้ยกเลิกการจัดงานสงกรานต์ แม้สถานการณ์ทุกสิ่ง ทุกอย่างจะเปลี่ยนแต่สิ่งนี้ที่ไม่เปลี่ยนคือ innovation ที่มีของ GQ

GQ มีโรงงาน ซึ่งเราก็มาสำรวจว่าโรงงานสามารถทำอะไรได้บ้าง นอกจากแบรนด์จะสามารถทำเสื้อผ้าได้แล้ว ยังสามารถทำหน้ากากอนามัยได้ด้วย

_______________________________________________________________

คุณปภพ : แน่นอนว่าลูกค้า (แบรนด์) มีการเปลี่ยนแปลง เราในฐานะเอเจนซี่เองก็เช่นกันครับ ลูกค้าจะเป็นลักษณะการเลื่อนงานเพราะถ้าปล่อยแคมเปญหรืออะไรก็ตามออกไปช่วงนี้มันก็ไม่ได้ไปด้วยกันกับสถานการณ์

รวมถึงปัจจัยภายในและภายนอกเอง อย่างภายในคือ การทำงานต้องเป็น Work From Home ช่วงแรกเราก็สะดุดกันไปบ้าง แต่ช่วงนี้เราก็ปรับตัวกันแล้ว สามารถหาวิธีการจัดการได้ประมาณหนึ่ง สถานการณ์ของงานตอนนี้กลับมาทรงตัวได้ดีขึ้น

_______________________________________________________________

คุณปภพ : มีครับ เพราะเวลาทำงานร่วมกันทีมต้องการระดมความคิด (Brainstrom) เพื่อให้เกิดไอเดีย ต้องเกิดการจัดการกระบวนการว่า ตอนไหนเราคิด เราคัดเลือกจัดระเบียบไอเดีย ผมบอกตรงๆ ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายทีมมากๆ ซึ่งสำคัญด้วยว่าเราจัดการเวลายังไง

_______________________________________________________________

คุณจอร์จ : GQ ไม่ได้อยู่ในเชิงของธุรกิจ Fashion Business แต่จริงๆ เป็น Technology Business อย่าง GQWhite™ Mask เราก็คิดว่าหน้ากาแบบไหนที่คนจะสวมใส่ โดยทีมก็ทำการรีเสิร์ชข้อมูลกันเร็วๆ อย่างสอบถามคน ซึ่งพบว่าคนมีปัญหากับหน้ากากแบบเดิม เช่น คนใส่แว่นเมื่อใส่หน้ากากเวลาหายใจ ไอจะขึ้นที่แว่น หรือเวลาอยากดื่มน้ำ ต้องถอดหน้ากากวางไว้ข้างๆ ตัวแล้วก็จะลืมหน้ากาก และจริงๆ แล้วโดยแกนหลัก (core) ของ GQ คือ อยากจะแก้ปัญหา ทาง GQ จึงไปทำงานร่วมกับ Perma™ มีเทคโนโลยี Nano Zine Oxide ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

กระบวนของโปรเจกต์นี้นับตั้งแต่เริ่มคอนเซปต์ถึงช่วง Phototype ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 10 วัน สิ่งที่ท้าทาย GQ มากไปกว่านั้น คือ โปรเจกต์นี้อยู่ในช่วงมาตรการโควิด-19 ต่างๆ ดังนั้นทีมทุกคนจะต้อง Work From Home รวมถึงเอเจนซี่เองก็ตาม

เราคิดว่าทีมงานของ GQ เป็นมืออาชีพอย่างมาก ทำงานกันในสถานการณ์นี้ด้วยรูปแบบ Work From Home แต่ก็ผลักดันกันจนสำเร็จ 

_______________________________________________________________

คุณปภพ : เป็นคอลเลกชั่นที่ GQ ทำขึ้นมาเพื่อต้องการต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 โดยเฉพาะซึ่ประกอบไปด้วยหน้ากากและเสื้อยืดสกรีน มีจุดเด่นอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อครับ

1. คำเตือนที่สกรีน เราออกแบบเพื่อให้อ่านและเห็นได้ชัดเจนในระยะ 2 เมตร
2. ประสิทธิภาพของ GQWhite™ Mask
3. บน lable ของเสื้อปรกติจะเป็นวิธีการดูแล ซักเสื้อ แต่อันนี้เราใส่กิมมิคเป็นประโยคว่า เมื่อใส่เสื้อตัวนี้ออกไปนอกบ้าน คุณจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อป้องกันตัวเองจากโควิด-19 
4.ข้อนี้สำคัญที่สุดเลยครับเป็นความตั้งใจของ GQ ว่าเสื้อและหน้ากากทั้งหมดของคอลเลกชั่นนี้ มีส่วนช่วยประสิทธิภาพการรักษาโควิด-19 ได้ โดยกำไรหักค่าใช้จ่ายเราจะมอบให้มูลนิธีรามาธิบดี 
_______________________________________________________________

คุณปภพ : หน้ากากเกิดขึ้นก่อนครับ ส่วนคอนเซปต์ของโปรเจกต์เกิดขึ้นจากทีมแรบบิทมานั่งคุยกัน ซึ่งเป็นช่วงที่เขาให้ Work From Home แล้ว แต่ก็มีบางเหตุการณ์ที่เราหลีกเลี่ยงจากการออกนอกบ้านไปไม่ได้ อย่างการไปซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ตอนคนยืนจ่ายเงินบางทีเราไม่ได้ยืนห่างกัน 2 เมตร ถ้าคนค่อนข้างเยอะก็แทบจะหายใจรดต้นคอ ทีมเลยคุยกันว่า คงจะดีถ้ามีอะไรมาบอกหรือเตือนคน 

ซึ่ง GQ เองเป็นแบรนด์แรกที่เรานึกถึงครับ ด้วยการอะแดปต่างๆ เอง อย่างตอนแรกที่ทำเสื้อ GQ Color หลังจากนั้นภายในเวลาไม่กี่วันก็มาทำหน้ากากได้ เป็นสิ่งที่ทีมชื่นชมมากๆ ครับ 
_______________________________________________________________

คุณจอร์จ : สิ่งที่เป็นความแข็งแกร่งที่แท้จริงของ GQ คือ เป็นเรื่องความสามารถในการตัดสินใจและเดินหน้า ลงมือทำ สิ่งเหล่านี้เกิดจากทีมที่ไม่เคยหยุดเรียนรู้ แม้อาจจะไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ ใน ณ ช่วงเวลานั้น แต่คำตอบจะออกมาในช่วงเวลาที่เราทำงาน 

ทุกวันนี้คนเรา Over Analysis หรือวิเคราะห์จนเป็นอัมพาต มีคนจำนวนมากที่เป็นพวกคิดวิเคราะห์ละเอียดยิบ ทุกขั้นตอน ซับซ้อนแต่สุดท้ายแล้วไม่รู้ว่าจะเลือกอะไรขึ้นมาเป็นผลให้เกิดขึ้นมา ทำให้เราต้องเสียค่าต้นทุน เสียโอกาสจากที่เสียเวลาวิเคราะห์

Make a decision and go 

_______________________________________________________________

คุณปภพ : จริงๆ เป็น mind set มากกว่าว่า เราถูกสอนมาตั้งแต่เริ่มยุคดิจิทัล Transform แล้วแหละว่า วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนเร็วกว่าเมื่อก่อนเสมอ ฉะนั้นแล้วบนโลกของการ Commuication ไม่ใช่ Storytelling เฉยๆ เแล้ว สิ่งที่เราต้องยืดคือ จุดประสงค์หลักของแบรนด์ว่าเขาต้องการอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นหัวข้อของไลฟ์วันนี้แหละครับ ‘ครีเอทีฟไร้กระบวนท่า’ เราต้องพร้อมเสมอที่จะปรับตัวให้ทำงานได้มากกว่าการสื่อสารแบบเดิมๆ 

______________________________________________________________________________

Creative Talk Weekend รายการใหม่ของเราที่ชวนผู้เชี่ยวชาญหรือคนที่น่าสนใจจากแวดวงต่างๆ มานั่งพูดคุยกันถึงประเด็นในสถานการณ์นั้นๆ ดำเนินรายการหลักโดยเก่ง-สิทธิพงษ์ ศิริมาศเกษม และโจ้-ฉวีวรรณ คงโชคสมัย rgb72 พบกันทุกวันอาทิตย์ เวลา 19:00 น. ที่เพจ Creative Talk 

เรื่อง : Creative Talk Team
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข

Related Articles

แข่งผิดที่ แข่งสิบทีก็มีแต่เจ๊ง กับโปรเจกต์ Stadia เกมแห่งอนาคตที่กลายเป็นยักษ์ล้มของ Google

คุณผู้อ่านรู้ไหมว่า Google แพลตฟอร์มเสิร์ชเอนจินที่เราคุ้นหน้ากันดี ครั้งหนึ่งเคยจะหันไปจับธุรกิจเกม ในชื่อ Google Stadia

Article | Business

เมื่อการสงสัยในตัวเองอาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังประสบความสำเร็จ

คุณคิดว่า “คุณประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง” ความสำเร็จอาจจะไม่สามารถวัดได้เหมือนกับอากาศ คนที่บอกว่าเราสำเร็จได้ดีที่สุด คือ “ตัวเราเอง”

Article | Business | Living

Soft Power สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในยุค Creative Economy

Creative Economy หรือ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ คือการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมทรัพยากรที่มีด้วยการต่อยอดความคิดอย่างสร้างสรรค์

Article | Business | Living