Trending News

Subscribe Now

Creative Talk Live Special – The Secret Sauce of THE STANDARD

Creative Talk Live Special – The Secret Sauce of THE STANDARD

Article | Business

หากใครที่ติดตามข่าวทาง โซเชียลมีเดียคงต้องเคยเห็นคอนเทนต์ของสำนักข่าวออนไลน์ THE STANDARD ที่อัพเดทในทุกๆ วัน อย่างหลากหลายที่ไม่เพียงมีแต่รูปแบบข่าวออนไลน์ แต่ยังมีพอดแคสต์ที่หลายคนต่างรู้จักกันดีอย่าง The Secret Sauce และ คำนี้ดี ซึ่งบทความนี้เราพูดคุยกับสองหัวเรือใหญ่ คุณเคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-Chief และคุณบิ๊ก-ภูมิชาย บุญสินสุข Executive Director Podcast ถึงความสำเร็จ เบื้องหลัง สิ่งที่สำนักข่าวออนไลน์นี้ยึดมั่น และอีเวนต์ใหม่เอี่ยมแกะกล่อง VIRTUAL CONFERENCE THE WORLD AFTER COVID-19 HOW THAILAND WINS IN THE NEXT NORMAL วันที่ 29-31 พฤษภาคมนี้ 

ย้อนไปเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ช่วงที่สำนักข่าวออนไลน์หน้าใหม่ THE STANDARD ก่อตั้งขึ้น เนื้อหาของคอนเทนต์มีการวางเป็น 2 ด้านคือ NEWS ข่าวทั่วไป และ Non-NEWS โดยสำนักข่าวออนไลน์นี้มีเป้าหมายว่าอยากจะเป็นสื่อทางเลือกที่ตอบโจทย์พฤติกรรมสังคมเมืองไทยปัจจุบันที่มีการเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น

ด้าน NEWS : ข่าวทั่วไป ยึดหลักจรรยาบรรณสื่อ และ ความน่าเชื่อถือ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตผลงานออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น Infographic , Clip , Podcast 

ด้าน Non-NEWS : สื่อ Original Content ในรูปแบบ Podcast , บทความ Self Improvement 

ก่อนหน้านี้ คุณบิ๊ก-ภูมิชายหรือนามปากกา ‘บิ๊กบุญ‘  เขาคือผู้ที่เคยคร่ำหวอดสำนักพิมพ์เป็นทุนเดิม เขาใช้ความสามารถนี้ประยุกต์เนื้อหาออกมาในรูปแบบพอดแสต์โดยฟังผ่านเสียงแทนการอ่านด้วยสายตา 

บิ๊ก-ภูมิชาย ภูมิสินสุข

คุณบิ๊กยอมรับว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้ว พฤติกรรมการฟังพอดแคสต์ในไทยยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังเชื่อว่าช่องทางพอดแคสต์จะตอบโจทย์สอดรับกับวิถีชีวิตคนแบบใหม่ๆ ที่อาจจะไม่มีเวลาในการอ่านหนังสือ ถนัดรับข้อมูลด้วยการฟังมากกว่าการอ่าน หรือฟังในระหว่างการออกกำลังกาย การเดินทางก็เป็นได้ ให้คนกลุ่มนี้ได้เข้าถึงสาระดีๆ อีกช่องทางหนึ่ง เขาจึงมองตรงนี้เป็นโอกาสในการตัดสินใจลงมือทำพอดแคสต์

“หากเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายพอดแคสต์เป็นหนังสือ 1 เล่ม การฟัง Podcast 1 ตอน เท่ากับอ่านเนื้อหาจบ 1 บท “

จากแนวคิดนี้เอง เราจึงสรุปได้ว่า THE STANDARD ทำสื่อในรูปแบบที่หลากหลายให้คนได้เลือก อ่าน , ดู  ,ฟัง และมาสัมผัสกับประสบการณ์กันในงานอีเวนต์ต่างๆ ที่จัดขึ้น

Culture ที่หล่อหลอมรวมกันเป็น THE STANDARD ในปัจจุบัน

การทำงานร่วมเกือบ 100 คน ใน THE STANDARD คือแรงผลักดันทำให้บริษัทก้าวไปข้างหน้า หากขาด Culture ที่มีร่วมกันของคนในทีมสเกลใหญ่แบบนี้ คงจะไม่สามารถขับเคลื่อนอุดมการณ์นี้ไปได้  ซึ่งคุณเคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ เล่าถึง Culture ขององค์กรที่มีการตั้งเป้าหมายไว้อยู่ 4 ข้อ  

1. Champion Mindset

คิดอย่างแชมป์ที่จะต้องรักษาแชมป์ไว้ให้ได้ โดยการไม่หยุดเรียนรู้ ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง มีความเป็นผู้นำ 

2. Audience Centric

เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง สังเกตว่า THE STANDARD มักจะมีคอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆเพิ่มขึ้น โดยเคนเล่าว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ฟัง ที่มาในรูปแบบของฟีดแบ็กรวมไปถึง Data ที่วัดผลลัพธ์

3. Make Other Successful

เป็นคาแรกเตอร์ที่มีมากในทีม เราสัมผัสได้ถึงพลังบวก พยายามช่วยเหลือคนอื่น ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเพียงอย่างเดียว 

4. Tech Learning

ในฐานะองค์กรสื่อในยุคปัจจุบัน ต้องมองภาพของอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย Data-Driven จึงเป็นเทรนของการเป็น Media Tech Company

Thom Yorke Radio head และ Dennis Bergkamp คือ บุคคลที่ คุณเคน อยากสัมภาษณ์ที่สุดในชีวิต   

จากประสบการณ์ที่ได้เป็นบรรณาธิการ และได้สัมภาษณ์คนมามากมาย คุณเคนเปิดเผยกับเราว่า คนที่เขาอยากจะสัมภาษณ์ที่สุดนั้นมีอยู่ 2 คนด้วยกัน คนแรกคือ Thom Yorke แห่งวง Radio head หากใครที่เคยฟังแนวเพลงของวงนี้จะออกไปทางดาร์คๆ สาเหตุที่ชอบมาจากการที่คุณเคนได้ฟังเพลงของวงนี้ในช่วงเวลาที่เคยสับสนและกำลังค้นหาตัวเองขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย และอีกคนหนึ่งคือ Dennis Bergkamp แห่งทีมฟุตบอล Arsenal ที่คุณเคนชอบสไตล์การเล่นฟุตบอลถึงขั้นติดตามผลงานหนังสือของนักเล่นคนนี้เลย

ส่วนคุณบิ๊กเล่าให้เราฟังว่า โมเม้นต์ที่รู้สึกสนุกในในช่วงนี้คือการได้สัมภาษณ์น้องฝึกงานของพอดแคสต์ “คำนี้ดี” มองว่าเป็นการได้แลกเปลี่ยน มุมมองจากคนที่อายุต่างกัน แต่มีความสนใจในประเด็นเดียวกัน 

The Standard มีการวัดผลจากผู้ฟังอย่างไร

คุณเคนเล่าว่า หากวัดผลในด้านของปริมาณนั้น สามารถวัดได้จาก Data ตัวเลขต่างๆ ข้อมูลที่ได้รับมานั้นแสดงถึงผลลัพธ์อย่างชัดเจน แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยคือคุณภาพ เรื่องความ Empathy ต่อตัวผู้ฟัง ในฐานะคนทำสื่อเราต้องมองให้ออกว่า ผู้ฟังเขาต้องการรู้ในเรื่องไหน แม้ว่าเขาจะไม่พูดออกมาเลยก็ตาม

คุณเคนยกตัวอย่างสกู๊ปข่าว EXECUTIVE ESPRESSO ที่เจาะประเด็นของโลกที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องของ สถานการณ์โลก พันธบัตร เงินดิจิทัล นโยบายดอกเบี้ย นั้นต่อยอดมาจากรายการ The Secret Sauce เนื้อหาหลักมาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัทต่างๆ ซึ่งในการสัมภาษณ์เราไม่ได้คุยแค่เรื่องเกี่ยวกับบริษัทเพียงอย่างเดียว เนื้อหานั้นได้ต่อยอดไปถึงเรื่องของสถานการณ์โลก เรื่องราวที่น่าสนใจต่างๆมากขึ้น

คุณเคนมองว่าประเด็นเหล่านี้คือแก่นที่คนฟังต้องการเข้าใจมากขึ้นนำไปสู่สกู๊ป EXECUTIVE ESPRESSO

“คิดเสมอว่า คนฟังจะได้อะไร”

คุณบิ๊ก เสริมเรื่อง การรู้จักกับกลุ่ม Audience ของตัวเองจริงๆ ว่าปัญหาที่เขามีคืออะไร แล้วเขาอยากได้อะไร การที่เราทำของที่เจ๋งๆขึ้นมาสักชิ้น ต้องไม่ได้เกิดจากความอยากได้จากตัวเราคนเดียว แต่ต้องมีคนอยากได้สิ่งนั้นด้วยเช่นกัน

คุณบิ๊กยกตัวอย่างพอดแคสต์ “คำนี้ดี” ซึ่งในช่วงสถานการณ์ Covid-19 เห็นข้อสังเกตว่ายอดคนที่เปิดฟังแบบทันที ในตอนที่อัพโหลดตอนใหม่ลงไป คนเข้ามาชมช้าลง โดยสาเหตุมาจากวิถีชีวิตคนฟังที่เปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ บางคนไม่ได้รีบตื่นเช้าอีกแล้วจากที่จะทำคอนเทนต์เพื่อปลุกคนในตอนเช้า จึงได้ไอเดียในการ ส่งคนเข้านอนด้วย Podcast “ASMR” ชวน ท่องศัพท์ ให้ผู้ฟังได้รับบรรยากาศที่ช่วยทำให้หลับง่ายขึ้น 

ให้โอกาสทีมในการตัดสินใจ

ถ้าอยากรู้ว่าไอเดียที่ Brainstorm จะเวิร์กไหม ให้ลองลงมือทำเลย อย่าไปคิดเยอะ จริงๆ ทั้งคุณเคนและคุณ
บิ๊กมองว่าเป็นโชคดีของการทำงานกับช่องทางออนไลน์ ทำแล้วปรับเปลี่ยนได้ ไม่เหมือนยุคสิ่งพิมพ์ที่กลับตัวไม่ได้ และต้องลงทุนเยอะ และ มีการกำหนด โครงสร้าง ที่ชัดเจนไว้ตั้งแต่ต้น  ทำให้ทุกคนสามารถเล่นได้เต็มที่ ภายใต้กรอบที่วางไว้ เราจะสนุกได้โดยที่ไม่ทำให้งานผิดไปจาก Core Value ที่เคยตั้งไว้หรือหากเกิดความผิดพลาด ก็จะไม่มีการโทษกัน เพียงแต่ต้องอธิบายได้ว่าตัดสินใจนั้นทำเพื่ออะไร ครั้งต่อไปเราจะทำให้ดีขึ้นอย่างไร 

VIRTUAL CONFERENCE THE WORLD AFTER COVID-19 HOW THAILAND WINS IN THE NEXT NORMAL

มิติใหม่ของ Virtual Conference โดย THE STANDARD ที่จะพูดถึง New normal ในหลากหลายสาขา โดยมี Speaker ที่มีชื่อเสียง ถึง 40 ท่าน 17 Panel ไม่ใช่แต่การสัมภาษณ์แต่เน้นเนื้อหาที่โฟกัสให้คนดูได้ประเด็นของเนื้อหาที่จับต้องได้ 

คุณเคนเล่าว่า การจัดช่องทางออนไลน์ เราจะเพิ่ม Interaction สนุกๆขึ้นมา ซึ่งไม่สามารถทำได้ถ้าเป็นงานอีเว้นต์ในรูปแบบปกติ นอกจากประเด็นต่างๆที่อัดแน่นในงานนี้ ทางงานมี Visual drawing เพื่อสรุปประเด็นให้คนฟังไม่ต้องเสียเวลาจด และหลังจบงานจะมี E-Book ที่ส่งตามไปให้สำหรับคนเข้างาน 

สำหรับประเด็นที่เลือกหัวข้อ “New normal” มาจากเป็นคำที่คนสงสัยและถามกันเข้ามาเยอะมากว่าหลังจากนี้เราจะใช้ชีวิตกันอย่างไร  พูดคุยกันในมุมต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในแบบมหาศาลจริงๆ ช่วง COVID-19 นั้นทำให้หลายๆบริษัทปรับรูปแบบการทำงานเป็น WFH ได้ แล้วในมุมอื่นๆ เช่นในมุมของสื่อ
การศึกษา การท่องเที่ยว หลังจากนี้จะเป็นแบบไหน

คุณเคนทิ้งท้ายเรื่องนี้ ในเชิงธุรกิจการจัด Event เป็นการกระจายความเสี่ยงของบริษัท จากรูปแบบรายได้ของ THE STANDARD ในช่วงก่อนหน้านี้เป็น Sponsorship ทั้งหมดเลย การจัด Event จึงเป็นมิติใหม่ๆที่เราอยากลอง และต่อยอดเป็นโมเดลของเราในอนาคต 

The Secret Sauce ของคุณเคนและคุณบิ๊ก

คุณบิ๊กแชร์ว่า เราควรหาโชคดีของตัวเองให้เจอ โดยคำว่าโชคดีประกอบมาจาก 2 สิ่งคือ  สิ่งที่เราชอบ และ สิ่งที่มีคนอยากได้ ถ้าหาสองสิ่งนี้เจอแล้วเราจะไปต่อได้

คุณเคนเสริมว่า “ผมอยากได้ความสำเร็จ แต่ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นคนที่สำเร็จแล้ว” ความทะเยอทะยานทำให้เกิดแรงในการลุกขึ้นมา ทำให้ได้ความสำเร็จ แต่คำว่า เราอย่าคิดว่าเราเป็นคนที่สำเร็จแล้ว เพราะหากมองว่าตัวเองว่าสำเร็จแล้ว เราจะมีอีโก้เยอะมากจนไม่ฟังคนอื่น ก่อให้เกิดความไม่ empathy ไม่มี Audience centric สุดท้ายคือไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ 

มุมมองของสื่อในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 

คุณเคนเล่าว่า เรื่องที่สามารถฟันธงได้เลยก็คือยุคของ Mass นั้นได้จบไปแล้ว โลกของสื่อจะหลากหลายมาก ทุกอย่างจะเป็นแบ่งเป็น Segmentation มากขึ้น สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ Agility (ความว่องไว) ในการปรับตัวไปตามพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  

คุณบิ๊กเสริมว่า สื่อปรับตัวไวมาก จาก 2-3 ปี อาจลดเหลือ 2-3 อาทิตย์ สิ่งที่ต้องชัดคือตัวตนของบริษัทว่าเราทำสื่อเพื่ออะไร และทำเพื่อใคร

“คำตอบนั้นย้อนไปที่ว่าเราทำสื่อเพื่ออะไร” ในวันแรกที่เราเริ่มทำพอดแคสต์เรามีคำถามกันว่า ถ้าอีกหน่อยมันแป๊กจะทำอย่างไร จนวันที่พอดแคสต์ของเราขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่ง เราก็ยังย้อนมาถามคำถามเดิมว่า แล้วถ้าพรุ่งนี้คนไม่ฟังพอดแคสต์แล้วเราจะทำอะไรต่อ สิ่งสำคัญคือปรับตัวไปเรื่อยๆ โดยยังยึดถึง Core Value ของตัวเราเอง

หมุดหมายในอนาคตเราอยากเป็นอีก 1 บทบาทของการเรียนการสอน ที่ไม่จบแค่การให้ ข้อมูลแต่อยากให้ไปถึง Knowledge , Wisdom ที่ไม่แพ้สถาบันการศึกษา คุณเคนเกริ่นว่าในเร็วๆ นี้จะมีพอดแคสต์เกี่ยวกับเรื่อง Tech 8-9 ตอน และอีกหลายๆ ซีรีย์หลังจากนี้ 

จากก้าวแรกสู่ปัจจุบัน สิ่งที่ทั้งคู่อยากบอกกับตัวเอง

คุณเคน : อย่าหวั่นไหวกับเสียงที่วิพากษ์วิจารณ์ ถ้าคิดว่าสิ่งที่เราทำนั้นถูกต้อง ให้มั่นใจลงมือทำไปเลย

คุณบิ๊ก : บอกไม่ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่มันโอเค 

เรื่องและภาพ : ธรรมพร โรจน์ภิญโญ และ Creative Talk

Related Articles

3 สัญญาณเตือนที่กำลังบอกว่า วัฒนธรรมองค์กรของเรากำลังมีปัญหา

เมื่อวัฒนธรรมองค์กรแย่ ๆ ทำให้ธุรกิจตกต่ำลงหรือเติบโตช้า ผู้บริหารส่วนใหญ่สามารถมองเห็นปัญหาและรู้ได้ว่าต้นเหตุจากวัฒนธรรมองค์กร แต่ก็มีอีกหลายธุรกิจที่ยังดำเนินต่อไปได้ กับปัญหาที่ซ่อนเร้นไว้เป็นเหมือนเนื้อร้ายที่ค่อย ๆ กัดกร่อนจิตใจพนักงานและองค์กรลงเรื่อย ๆ คำถามคือ…

Article | Entrepreneur

ทำความรู้จัก 4 เหรียญ Cryptocurrency ของไทยที่มาแรงที่สุดในตอนนี้

Cryptocurrency สัญชาติไทยแท้กันว่า มีเหรียญใดกันบ้างที่น่าสนใจและใครเป็นเจ้าของเหรียญในโลกใบนี้บ้าง ตามมาดูกันได้เลย

Article | Technology