Trending News

Subscribe Now

4 ขั้นตอนสร้างแคมเปญเปลี่ยนโลกจากเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

4 ขั้นตอนสร้างแคมเปญเปลี่ยนโลกจากเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

Article | Digital Marketing

มาลาลา ยูซาฟไซ หญิงสาวชาวปากีสถาน นักเคลื่อนไหวด้านสังคมเพื่อการศึกษาของเด็กผู้หญิงทั่วโลก เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2014 และยังเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ด้วยอายุน้อยที่สุดเพียง 17 ปี

มาลาลา ยูซาฟไซ ในวัย 11 ขวบ เธอได้กลายเป็นนักเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อการเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษาของเด็กและผู้หญิงในปากีสถาน ความกล้าหาญของเธอได้สร้างความหวังให้กับประชาชนมากมาย จนทำให้ตาลีบัน กองกำลังติดอาวุธมองเธอเป็นภัยร้าย และในปี 2012 เธอก็ถูกลอบทำร้ายอย่างสาหัสก่อนจะรอดมาได้ 


แต่เรื่องโหดร้ายอย่างนี้ ก็ไม่ได้ทำให้มาลาลาหวั่นเกรงแต่อย่างใด เธอยังคงยืนหยัดต่อสู้เพื่ออุดมการณ์อยู่เสมอ และยังก่อตั้งกองทุน Malala Fund ไม่แสวงหากำไรซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เด็กทุกคนบนโลกนี้ได้รับการศึกษาฟรี 12 ปีภายในสิ้นทศวรรษนี้ 

แต่อะไรล่ะ ที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แคมเปญและการเคลื่อนไหวของ มาลาลา ยูซาฟไซ ทรงพลังและทำให้ทั้งโลกต้องหันมาสนใจ เธอได้เล่าไว้ใน MasterClass ถึงสิ่งที่เธอได้ลงมือทำและเรียนรู้ และนี่คือใจความที่ CREATIVE TALK สรุปมาไว้ตามนี้ครับ


ค้นคว้าสิ่งที่คุณอยากจะขับเคลื่อน

ที่กองทุน Malala Fund พวกเขาใช้ 4 ขั้นตอนนี้ในการคิดและสร้างแคมเปญ โดยขั้นตอนแรกคือการค้นคว้าอย่างละเอียด คุณต้องทำความเข้าใจถึงแก่นของสิ่งที่คุณอยากขับเคลื่อน ซึ่งอาจจะทำได้ทั้งจากการฟังจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่ประสบปัญหาโดยตรง 

“คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังต่อสู้เพื่ออะไร” มาลาลากล่าวใน MasterClass

“เรามักจะเริ่มต้นด้วยการคิดถึงประเด็นที่เราตั้งเป็นเป้าหมายอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น เรารู้ได้ว่าปัญหาเรื่องการศึกษาของเด็กนั้นเชื่อมโยงกับปัญหามากมาย และในขณะเดียวกันการศึกษาและการวิจัยทำให้เรารู้ว่าเมื่อเด็กผู้หญิงได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้มากมาย”


สร้างกลยุทธิ์ในแบบของคุณ

มาลาลาเชื่อในเรื่องการสร้าง Small Success เธอมองว่าความสำเร็จเล็กๆ จะส่งผลต่อเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อไปถึงเส้นชัยสูงสุดที่หวังไว้ นั่นจึงทำให้ Malala Fund ไม่ได้พยายามที่จะบรรลุเป้าหมายเรื่องที่เด็กทั้งโลกจะได้รับการศึกษาฟรีในปี 2030 ทันที

แต่พวกเขากลับมุ่งมั่นใจการสร้างแคมเปญขนาดเล็กระหว่างทางเพื่อช่วยสร้างความตระหนักในปัญหามากขึ้น สะสมการสนับสนุนมากขึ้น และเป็นบทเรียนเพื่อการแก้ปัญหาเป้าหมายสุดท้าย


จงลงมือทำ

การลงมือทำมีได้หลายรูปแบบ และสามารถเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ มาลาลาได้เล่าว่าถึงแม้ตัวเธอจะได้รับบาดเจ็บจนเกือบถึงชีวิต แต่เธอก็ยังมองว่าการเป็นนักเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นกันยากขนาดนั้น

“คุณไม่จำเป็นต้องจัดการประท้วงหลักแสนคนบนท้องถนน การเคลื่อนไหวสามารถทำได้ง่ายกว่านั้น จะเป็นรูปแบบการประชุมในโรงเรียนหรือหมู่บ้าน หัวข้อจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอาการไปจนถึงเรื่องใกล้ตัวในชุมชน”

“คุณแค่ลงมือทำมันอย่างจริงใจ และมาดูกันว่ามันจะพาประเด็นไปที่ไหนต่อได้อีก”


การสร้างอิมแพค

การทำแคมเปญหรือการเคลื่อนไหวที่มีการชักชวนคนเข้าร่วมของคุณจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าคุณไม่ได้คิดถึงเรื่องอิมแพคต่อสังคม (Social Impact) ดังนั้นคุณต้องให้ความสำคัญกับเป้าหมายและผลประโยชน์ต่อส่วนรวมให้ถึงที่สุด เพื่อให้การเคลื่อนไหวของคุณจะได้รับการวางใจจากผู้เข้าร่วม


อย่าลืมว่าคุณออกมาเคลื่อนไหวเพราะอะไร อย่าลืมสื่อสารภาพสุดท้ายที่คุณอยากเห็นให้กับผู้เข้าร่วมแคมเปญของคุณด้วย


ที่มาของข้อมูล

Related Articles

องค์กรจะดีขึ้นแค่ไหน ถ้า HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีตัวช่วยที่จะเข้ามาดูแลความเป็นไปของพนักงานทุกคนในองค์กรให้ดีขึ้นในทุกด้าน

รู้จักเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาช่วยให้ HR ดูแลพนักงานได้ดีขึ้น เชื่อว่าในปีที่ผ่านมา หลายองค์กรอาจเผชิญกับปัญหาการลาออกของพนักงานหลายตำแหน่ง

Article | Business

6 เรื่องที่เราควรทบทวนตัวเองทุกสิ้นปี

ช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปในแต่ละปีนั้น มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่ผ่านเข้ามา ยังคงอยู่ และจากไป บ้างทิ้งร่องรอย บ้างขีดข่วน บ้างโอบกอด

Article | Living