Trending News

Subscribe Now

สะท้อนระบบสาธารณสุขทั่วโลกผ่านการตรวจ COVID 19 กับเหล่าคนดัง

สะท้อนระบบสาธารณสุขทั่วโลกผ่านการตรวจ COVID 19 กับเหล่าคนดัง

Article | Living

“โควิด-19 ไม่สนใจว่าคุณจะรวย จะดัง จะตลก จะฉลาด
จะอยู่ที่ไหน จะอายุเท่าไร จะมีเรื่องราวน่าทึ่งแค่ไหน โควิด-19 
เป็นตัวสร้างความเสมอภาคที่ยิ่งใหญ่ (The great equalizer)”

                                                                                                   มาดอนน่า

ปลายเดือนธันวาคมปีก่อนเป็นครั้งแรกที่เราพบกับกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนก่อนเชื้อดังกล่าวจะแพร่กระจายไปทั่วโลกจากเอเชียสู่ทั่วทุกทวีปในโลก 

จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหมู่คนทั่วไป เมื่อเชื้อแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก เหล่าคนดัง บุคคลสำคัญต่างก็ติดเชื้อเช่นเดียวกัน อย่างกรณีของนักแสดงฮอลลีวูดรุ่นคลาสสิคที่เป็นที่รู้จักกันดี อย่าง ทอม แฮงคส์ และ ภรรยา พวกเขาตรวจพบเชื้อโควิด-19 โดยทั้งคู่เล่าว่าขณะที่กำลังถ่ายหนังเรื่องใหม่ ประเทศออสเตรเลีย “เรารู้สึกเหนื่อยเล็กน้อย มีอาการปวดเนื้อตัว เหมือนจะเป็นหวัด ริต้า มีอาการหนาวสั่น และไข้ต่ำ” ทั้งคู่จึงตัดสินใจไปทำการตรวจหาเชื้อและเปิดเผยว่าติดเชื้อไวรัส พร้อมกับแจ้งว่าจะรักษา กักตัว และปฏิบัติกระทั่ง 30 มีนาคม 2563 แฮงคส์ และ ภรรยา มีอาการดีขึ้นและได้เดินทางกลับ ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา 

ข่าวของแฮงคส์ครั้งนี้ ได้ยกระดับความตื่นตัวถึงความน่ากลัวของไวรัสมากขึ้นว่าแม้แต่คนดังระดับโลก ก็เป็นมนุษย์ที่เปราะบางต่อโรคภัยไข้เจ็บไม่ต่างกัน หลังจากนั้น ดารา และคนดัง ก็ทยอยมีข่าวว่าตรวจพบไวรัสกันมากขึ้น

การตรวจ COVID 19

DANIEL DAE KIM

นักแสดงชาวอเมริกัน-เกาหลี ที่โด่งดังจากซีรีส์เรื่อง Lost และ Hawaii Five-0 วันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมาแดเนียลบอกว่า ตัวเองมีอาการหลังจากเดินทางกลับกองถ่ายที่เมือง นิวยอร์ก ซิตี้ จึงได้รับการตรวจไวรัสในรูปแบบไดรฟ์ ทรู ที่โฮโนลูลู ฮาวาย และพบว่าติดเชื้อ โควิด-19 จึงได้ทำการกักตัวจากครอบครัวและพักรักษาตัวที่บ้านมาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว

“ใช่ ผมเป็นคนเอเชีย และ ใช่ ผมติดโคโรน่าไวรัส แต่ผมไม่ได้ติดมาจากจีน ผมติดจากอเมริกา” เนื้อหาในวิดีโอมีการพูดถึงประเด็นการเหยียดเชื้อชาติที่เกิดจากการระบาดด้วย “ได้โปรด หยุด อคติ และความรุนแรงที่ไม่มีเหตุผลต่อคนเอเชีย การสุ่มทำร้ายผู้สูงอายุเอเชีย บางทีเป็นคนไร้บ้านเสียด้วยซ้ำ มันขี้ขลาด น่าใจสลาย และไร้ข้อแก้ตัวแค่ไหนกัน”

ระบบบริการสุขภาพของสหรัฐฯ มีทางเลือกระหว่างระบบประกันสุขภาพเอกชน (Private health Insurance) และ ระบบประกันสุขภาพของรัฐบาล (Government funded health insurance) โดยในปัจจุบัน บางรัฐยกเลิกการบังคับจ่ายภาษีประกันสุขภาพ ดังนั้นจึงมีประชาชนบางส่วนเลือกที่จะไม่ซื้อประกัน แต่หากเจ็บป่วยก็ต้องจ่ายค่ารักษาเองทั้งหมด ซึ่งมีราคาแพงมาก ส่วนใครที่เลือกใช้ประกันจะมีทางเลือกคือ ในส่วนของเอกชนนั้น ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คือบุคคลทั่วไปและมนุษย์เงินเดือน โดยต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนมาเป็นเบี้ยประกันกับบริษัทประกันที่บริษัทที่ตนทำงานอยู่จัดหามา 

ในส่วนของรัฐบาลมีประกันสุขภาพให้สองรูปแบบคือ แบบที่ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และ กลุ่มคนรายได้น้อย(มาก) ถ้าไม่น้อยจริงก็จะไม่ได้ถูกครอบคลุม ทำให้มีประชากรถึง 45 ล้านคนซึ่งรายได้น้อยแต่ไม่น้อยถึงเกณฑ์ไม่มีประกันสุขภาพและไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลขั้นต้นได้ ซึ่งไม่ว่าเป็นแบบใด หากไปพบแพทย์แต่ยังใช้งบไม่ถึงค่าลดหย่อน ก็ต้องจ่ายค่ารักษาเองอยู่ดี ดังนั้น ถ้าไม่ได้เจ็บป่วยหนัก ชาวอเมริกันจึงหลีกเลี่ยงการไปพบแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่จำนวนผู้ป่วยโควิด 19 ในสหรัฐไต่ขึ้นอันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ยังปัญหาในส่วนอื่นๆ อีก ได้แก่

ระบบสุขภาพ 

โรงพยาบาลในสหรัฐเอง มีเตียงไม่พอขนาดที่ว่าต้องไล่นักศึกษาออกจากหอพักมหาวิทยาลัยเพื่อนำหอพักมาทำเป็นที่พักผู้ป่วยเคสไม่ฉุกเฉิน หรือมีการนำเรือแพทย์ทหารจำนวน 1000 เตียงของกองทัพเรือมาจอดที่ pier 90 ในนิวยอร์ก เพื่อเสริมความขาดแคลนเตียงของโรงพยาบาล

ระบบการบริหารของรัฐ

ท่านนายกทรัมป์นอกจากจะประกาศผิดๆ ว่าโควิดเป็นแค่ไข้หวัดแล้ว ยังมีความห่วงเศรษฐกิจของชาติมากกว่าประชาชนโดยอ้างว่าหากไม่เปิดประเทศก่อนวันอีสเตอร์ (12 เมษายน) ประชาชนไม่ตายเพราะโควิดก็คงฆ่าตัวตายเพราะตกงาน ดังนั้นจึงควรเร่งการกลับไปใช้ชีวิตปกติให้เร็วที่สุด 

ศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ (Federal Management of Emergency) ยังล้มเหลวในการประมูลสั่งซื้อเครื่องช่วยหายใจจากทางจีน โดยให้แต่ละรัฐแข่งขันประมูลราคากันเองกับจีน ไม่ได้รวบรวมจำนวนความต้องการเครื่องช่วยหายใจที่แท้จริงเพื่อไปต่อรองราคาจากจีน ทำให้นอกจากจะล่าช้าในการสั่งเครื่องแล้ว ยังทำให้ราคาแพงขึ้นอีกด้วย

ความตระหนักรู้ของประชาชน

ชาวนิวยอร์กก็ยังทำตัวสมเป็น city that never sleeps โดยช่วงกลางเดือนมีนาคมที่เพิ่งเริ่มมีการระบาด ก็ยังต่อคิวเข้าบาร์ในคืนวันเสาร์อย่างหนาแน่น ชาวฟลอริดา beach bodies ก็ยังคงจัดปาร์ตี้ริมหาดฉลองการปิดเทอมฤดูใบไม้ผลิ พึ่งไม่นานมานี้ ที่ชาวอเมริกันกลับตัวกลับใจทำตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค (Center of Disease Control) ที่ให้อยู่บ้านถ้าป่วยไม่หนัก ซึ่งสำหรับคนที่ไม่มีประกันนั้นก็ไม่รู้ว่าหมายความว่าให้อยู่บ้านรักษาตัวหรืออยู่บ้านนอนรอความตายกันแน่

ต่างกับระบบสุขภาพในสหราชอาณาจักรที่ถึงแม้เวลาที่ใช้ในการรอก่อนจะได้รับการรักษาจะนานกว่า แต่ก็เน้นเรื่องความเท่าเทียมในการรักษา โดยมีงบสนับสนุนจากกองทุนกลาง 

CALLUM HUDSON-ODOI

คัลลัม ฮัดสัน โอดอย นักเตะสัญชาติอังกฤษของสโมสรฟุตบอลเชลซี เป็นนักกีฬาอีกหนึ่งคนตรวจพบเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 เช่นกัน และมีการประกาศว่า ศูนย์ฝึกซ้อมกีฬาคอบแฮมจะทำการปิดบางส่วน และ เพื่อนรวมทีม โค้ช รวมถึงเจ้าหน้าที่ในศูนย์ที่มีประวัติสัมผัสกับคัลลัม จะต้องถูกกักตัวและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด 

เจ้าชายชาร์ลส์แห่งราชวงศ์อังกฤษ

PRINCE CHARLES

ในขณะเดียวกัน เจ้าชายชาร์ลส์แห่งราชวงศ์อังกฤษซึ่งมีพระชนมพรรษา 71 พรรษา ได้ถูกตรวจว่าติดเชื้อไวรัสในวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยที่พระชายาไม่ได้ติดเชื้อและไม่สามารถสืบทราบได้ว่าติดเชื้อมาจากใคร อย่างไรก็ตาม อาการของพระองค์ก็จัดได้ว่ามีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

KEN SHIMURA

KEN SHIMURA

นักแสดงตลกชาวญี่ปุ่นรุ่นใหญ่ที่คนไทยมักรู้จักจากรายการ คู่หูคู่ฮา เป็นคนดังชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ประกาศติดเชื้อไวรัสในวันที่ 23 มีนาคม 2563 หลังจากที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลก่อนหน้านั้นด้วยอาการปอดติดเชื้อขั้นรุนแรง เจ็ดวันต่อมา เคน ได้จบชีวิตลงด้วยอายุ 70 ปี สร้างความสะเทือนใจ ให้กับผู้คน

แม้ระบบบริการสุขภาพของประเทศญี่ปุ่นจะได้รับการยกย่องเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ความตระหนักในเรื่องการควบคุมการติดเชื้อของประชาชนทั่วไปหรือแม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ยังจัดว่าอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง ทำให้กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อไวรัส (ผู้สูงอายุ หรือ ผู้มีโรคประจำตัว) ตกอยู่ในความเสี่ยงกว่าปกติ

แมทธิว ดีน และ ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ดีน

แมทธิว ดีน และ ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ดีน

เป็นที่ฮือฮาของสังคมไทย ในวันที่ 13 มีนาคม 2563 เมื่อดารานักแสดงชื่อดัง แมทธิว ดีน ได้ออกมาประกาศผ่านอินสตาแกรมว่าตนติดเชื้อโควิด-19 พร้อมกับให้ข้อมูล กิจกรรมและสถานที่ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้ทราบว่าตนเป็นผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ซึ่งการออกมาประกาศนั้นก็ได้สร้างการถกเถียงขึ้นในโซเชียลมีเดีย ถึงความเหมาะสมและการตั้งคำถามกับความล่าช้าของทางการกระทรวงสาธารณสุขไทย อีกสามวันต่อมา แฟนสาวนักร้องชื่อดังของ แมทธิว ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ดีน ก็ได้เปิดเผยว่าตนเองก็ติดเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน รวมถึงได้โพสต์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเช่นกัน

แพรวา ณิชาภัทร ฉัตรชัยพลรัตน์ 

นักแสดงและเจ้าของเพลง รักติดไซเรน ได้โพสต์ผลการตรวจเลือด ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 ว่าติดเชื้อโควิด-19 พร้อมกับแจ้งไทม์ไลน์ สถานที่อย่างละเอียดให้ทุกคนได้เฝ้าระวัง โดยอาการของแพรวาเอง ที่จริงแล้วไม่ได้เข้าข่าย PUI แต่ตัดสินไปตรวจด้วยตนเองที่โรงพยาบาลเอกชน

เมื่อหันกลับมาที่ระบบบริการสุขภาพของบ้านเราเองนั้น พบว่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนบริการสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นหลัก ซึ่งแม้ในทางทฤษฎีจะครอบคลุมทั่วถึง แต่ในทางปฏิบัติกลับมีข้อจำกัดของการบริการและการรักษา ทำให้การรักษาบางอย่างถูกจำกัดอยู่แค่เพียงในกลุ่มคนที่มีกำลังจ่าย หรือ มีสถานะพิเศษทางอาชีพหรือตำแหน่ง

เรื่องราวของคนดังเหล่านี้ บอกอะไรกับเราได้บ้าง 

สิ่งที่ตามมากับการเป็นคนดังคือสถานะชการณ์เป็น ’คนของประชาชน’ คนเหล่านี้จึงมีพันธะหรือความจำเป็นที่จะต้องออกมา ‘เป็นตัวอย่าง’ ของสังคม ซึ่งความเข้มข้นย่อมต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม เช่น ไทยเองที่ดาราคนดังต้องแสดงถึงความโปร่งใสขั้นสุด ออกมาแจ้งผลการตรวจ ไทม์ไลน์ชีวิตระยะเวลาช่วงนั้น ข้อความยืนยันความบริสุทธิ์ใจในการกักตัว 14 วัน ฯลฯ ต่างจากฝั่งตะวันตก ที่คนดังบางคน เช่น Drake, Chris Jenner หรือ Heidi Klum ที่มีข่าวว่าได้ไปทำการตรวจ แต่เจ้าตัวไม่ได้ออกมาบอกผลแต่อย่างใด ทำให้เห็นถึงพันธะความรับผิดชอบต่อสังคมที่บ้านเราคาดหวังต่อดาราเหล่านี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนั้นคาบเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและสิทธิการเปิดเผยข้อมูลเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งและสถานะที่ผู้คนเหล่านี้ยืนอยู่ (ดูมีชื่อเสียงเงินทอง มีอภิสิทธิ์) มักที่จะถูกตีความเป็นความไม่เข้าใจบริบทของสังคมได้ไม่ยาก อย่างโพสต์รณรงค์ให้อยู่บ้านของ มาร์กี้ ราศรี บาเล็นซิเอก้า จิราธิวัฒน์ และ วิดีโอร้องเพลงให้กำลังใจของ Gal Gadot ต่อให้ทำออกมาด้วยความหวังดี แต่สื่อเหล่านี้ถูกถ่ายในบ้านพักสุดหรู ที่เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความตระหนักของสถานการณ์ยากลำบากที่คนส่วนใหญ่กำลังพบเจอ จึงก่อให้เกิดความขับข้องใจและโดนวิจารณ์ได้ในทางลบ

บางคนอาจจะมีคำถามขึ้นในใจ ว่าหากใครสักคน ที่เป็นคนสามัญ ธรรมดาเกิดติดเชื้อไวรัสขึ้นมาแล้วนั้น จะได้รับความสนใจที่แปลกไปถึงการได้รับการตรวจและรักษาที่เท่าเทียมกับคนเหล่านี้หรือไม่ และความไม่มั่นใจเหล่านี้นั้น สะท้อนถึงประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขและความเหลื่อมล้ำในสังคมแต่ละประเทศอย่างไร

เรื่อง : ศิลป์ ชินศิรประภา และเรียบเรียงโดย Creative Talk 
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข

อ้างอิง :

Related Articles

สงกรานต์ 2565 | อีกครั้งแล้วสินะที่ฉันไม่ได้เล่นน้ำ…แล้วปีนี้คนไทยอยากไปไหนกัน

เข้าสู่ปีที่ 3 ของการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เรียกได้ว่าได้รับผลกระทบรุนแรงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทุกวงการ รวมทั้งกระทบเทศกาลต่างๆ

Article | Living

Google กับมุมมองต่อ Metaverse ที่แตกต่างไปจากยักษ์ใหญ่รายอื่น

ตั้งแต่ facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น Meta เพื่อยกระดับจากบริษัท Social Media ให้กลายเป็นองค์กรแห่งอนาคต ก็สร้างกระแสการพูดถึง Metaverse หรือโลกเสมือนไปทั่วทั้งโลก

Article | Technology

Marketing 5.0 : 5 เครื่องมือการตลาด อัปเกรดกลยุทธ์ธุรกิจยุคหน้า

ยุคการตลาด 5.0 ที่กำลังจะมาถึง อาจจะต้องมีหลายประเด็นที่ต้องปรับและอัปเกรดอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของเครื่องมือการตลาด วันนี้ CREATIVE TALK ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณหนุ่ย…

Article | Digital Marketing