Trending News

Subscribe Now

ย้อนดู Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค

ย้อนดู Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค

Creative Wisdom | Digital Marketing | Podcast

ย้อนดู เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2018 วันนั้นจนวันนี้ มีอะไรเกิดขึ้นจริงแล้วบ้าง มาดูกัน

หมายเหตุ: บทความเมื่อปี 2018

6 พฤติกรรมผู้บริโภคที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2018

1. ความน่าเชื่อถือคือ หัวใจ (Trust is the Key)

ปีนี้และปีหน้าต้องเน้นเรื่องความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญซึ่งในหัวข้อนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้านย่อย ดังต่อไปนี้

  • การโฆษณา สังเกตเดี๋ยวนี้เวลาเข้าพันทิป กระทู้ประเภท Customer Review ที่บอกว่ามากินเอง แต่จริง ๆ แล้วได้ค่าจ้างเริ่มหายไป หรือโฆษณาในปัจจุบันก็ไม่ค่อยนิยมการ Tie-in ที่จัดรายการอยู่แล้วแทรกการขายของใส่ผู้ชม ผู้บริโภคไม่ชอบแบบนั้นเพราะเขาไม่รู้สึกถึงความจริงใจ แต่เขาจะชอบการบอกตรงๆ เช่น “รายการนี้สนับสนุนโดย…” มากกว่า
  • การใช้ Micro Influencer ในปัจจุบันจะไม่นิยมใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) ที่เป็นเซเลป ดาราชื่อดังในการโฆษณาสินค้าแล้ว เพราะผู้บริโภคคิดว่าไม่น่าเชื่อถือ เช่น อั้ม พัชราภา โฆษณาครีม แล้วบอกว่าใช้แล้วจะสวยเหมือนอั้ม ผู้บริโภคก็จะคิดว่าอั้มสวยตั้งแต่ก่อนใช้ครีมนี้แล้ว อั้มไม่ได้ใช้มันแล้วสวยขึ้นแน่นอน

    ดังนั้นในอนาคตการใช้ผู้นำทางความคิดที่เป็นกลุ่มเล็กลงมา (Micro Influencer) เช่น คนที่มีผู้ติดตาม 5,000-10,000 คน ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นดาราหรือคนดัง คนกลุ่มนี้จะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น รู้สึกเข้าถึงได้ จึงมีความน่าเชื่อถือกว่า
  • การขายของ Online ควบคู่กับ Offline ปัจจุบันการขายของออนไลน์เป็นที่นิยมมากก็จริง แต่มีหลายร้านค้าที่ขยับขยายจากการขายออนไลน์มาเปิดร้านออฟไลน์ (Physical Store) แล้วขายดีขึ้น เช่นร้าน Love Bonito ในประเทศสิงคโปร์ที่แต่เดิมเป็นร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์เท่านั้น แต่พอเปิดร้านในย่านการค้าของสิงคโปร์แล้วก็ขายดีขึ้น เพราะการมีหน้าร้านทำให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง ได้ลองสัมผัส และทำให้เขารู้สึกว่าร้านจะไม่หายไปไหน หากมีปัญหาหรือเกิดความไม่มั่นใจอะไรเขาสามารถมาที่ร้านได้นั่นเอง

2. Relationship

การมีปฏิสัมพันธ์หรือเป็นคนรู้ใจเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมาทุกยุคสมัย เช่น สมัยก่อนเวลาไปซื้อของที่ร้านขายของชำหรือร้านอาหารตามสั่งเจ้าประจำ แล้วพ่อค้าถามว่าจะสั่งเหมือนเดิมไหม นี่คือความสนิท ความผูกพันที่ผู้บริโภคชื่นชอบ แต่ในปัจจุบันสังคมก้าวสู่ความเป็นออนไลน์ความสนิทสนมเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ถึงอย่างนั้นก็เริ่มมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาตอบสนอง เช่น AI หรือ BOT ที่วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคตามแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Netflix หรือ Spotify ที่จะคอยดูว่าผู้ใช้ชอบอะไรแล้วขึ้น Feed แนะนำสิ่งที่สนใจมาให้เสมอ

นอกจากนี้ในอนาคตอาจมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Face Detection กับธุรกิจบางประเภทเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น ในอนาคตเมื่อคุณกลับไปพักที่โรงแรมที่เคยพักมาแล้ว เคยนอนห้องแบบไหน สั่งเมนูอะไร ชอบอะไรบ้าง เขาก็จะเก็บข้อมูลคุณไว้ และเมื่อกลับไปอีกครั้งเขาก็สามารถดึงข้อมูลขึ้นมาได้ก่อนคุณเดินไปถึง Reception ด้วยการสแกนใบหน้า

3. ความสมจริง เพราะสมัยนี้เราอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตทุกวัน

อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทุกวันเลยทำให้ทุกคนห่างไกลจากโลกความเป็นจริงมากขึ้น ความสมจริงจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการ โดยมีสถิติออกมาว่าคนจำนวน 65% ที่จองโรงแรมจะเข้าไปดู Google Map แล้วเปิดดู Street View เพื่อดูภาพก่อนว่าโรงแรมอยู่ไหน ถนนเป็นอย่างไร เปลี่ยวไหม หรือแม้แต่เวลาจะซื้อของคนส่วนใหญ่ก็จะชอบดูสินค้าแบบ 360 องศา ก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาตอบสนองตรงนี้ได้แล้ว เช่น Virtual Reality (VR) ที่ทำให้มองเห็นภาพเสมือนจริงได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะมาในปี 2018 เท่านั้น ยังเหลืออีก 3 เทรนด์ ติดตามได้ใน Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค Part 2

ภาพประกอบบทความจาก rawpixel, Pexels

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

แพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนขายและคนซื้อนิยมใช้มากที่สุด

ต้นไม้ เฟอร์นิเจอร์ ใครซื้อของสองอย่างนี้บ้างในช่วงที่ผ่านมา ? ด้วยช่วงล็อกดาวน์ที่เราต้องอยู่บ้านกันตลอด 24 ชั่วโมง บ้านจึงไม่ใช่มิติของการอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว การตกแต่งบ้านหรือทำให้พร้อมกับการทำงานรูปแบบ Work…

Article | Digital Marketing

Spotify เล็งยกเลิกระบบ Shuffle เพื่อความสุนทรีย์ในการฟังเพลง

เคยมั้ยครับเวลาเราฟังเพลงในอัลบั้มต่างๆ ที่เรียงเรื่องราวและอารมณ์เพลงไว้อย่างดี แต่ต้องมาเจอการข้ามเพลงไปข้ามมาแบบที่เราไม่ได้ตั้งใจ

Article | Digital Marketing