Trending News

Subscribe Now

เปลี่ยนอนาคตด้วยการเรียบเรียงเรื่องเล่าของตัวเองใหม่

เปลี่ยนอนาคตด้วยการเรียบเรียงเรื่องเล่าของตัวเองใหม่

Article | Living

‘เรื่องเล่าของตัวเรา’ ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ประกอบขึ้นด้วยข้อเท็จจริงของชีวิตเรา แต่มันเป็นเรื่องที่เราบอกเล่ากับตัวเอง ว่าเราเป็นใคร และทำไมทุกสิ่งทุกอย่างถึงเป็นไปในรูปแบบนี้อยู่เสมอ ซึ่งถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง มันจำเป็นจะต้องเรียบเรียงเสียใหม่ – John Sharp. จิตแพทย์และศาสตราจารย์ จาก Harvard Medical School

มีผู้คนมากมายที่ยึดความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับตัวเอง แบบที่หยั่งรากลงไปจนลึก โดยที่สิ่งเหล่านั้นมันอาจไม่เป็นความจริงเลยด้วยซ้ำ ซึ่งเราสามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระได้ ด้วยการแก้ไขเรื่องเล่าเหล่านั้น เนื้อหานี้มาจาก ซีรี่ส์ How to be a better human ใน TEDTalk ของ John Sharp

ทว่าปัญหาก็คือเรื่องเล่าเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับชีวิตเราบ่อยๆ และมันไม่ได้ถูกต้องอะไรเลย John Sharp อธิบายว่าบางเหตุการณ์ที่ยากสำหรับความรู้สึกเรา มักถูกกักเก็บไว้แบบเกินความจำเป็น และเมื่อไหร่ที่เราคิดถึงเรื่องที่คุณไม่สามารถจะหลุดพ้นออกจากมันได้ เหตุการณ์อื่นๆ ที่ดีๆ ก็จะถูกลบทิ้งไปโดยปริยาย


แต่เราอาจลองเปลี่ยนเรื่องเล่าของตัวเองเสียใหม่เพื่อชีวิตของตัวเองได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. หาให้เจอว่าเรื่องราวของตัวเองคุณมันผิดทิศทางจากความเป็นจริงตรงไหนบ้าง

ตัวอย่างเช่น หากพ่อแม่ของคุณแยกทางกันตอนที่คุณยังเป็นเด็ก และคุณบอกว่าความจริงที่ไม่ถูกต้องของเรื่องนี้ก็คือ คุณพยายามยึดความเชื่อหรือความเข้าใจของตัวเองว่า คุณไม่ได้รับผลกระทบใดเลยจากการพยายามให้พ่อกับแม่อยู่ด้วยกัน ทั้งที่ความจริงคุณอาจจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย และเหตุการณ์นี้มันก็ทิ้งให้คุณอยู่กับรู้สึกไม่มั่นคงอย่างรุนแรง

ซึ่งถ้าคุณไม่มั่นใจว่าเรื่องราวเหล่านั้นของชีวิตคุณมันคืออะไร อาจลองเติมคำในช่องว่างเหล่านี้ดู

  • ถ้าฉันไม่รักษาสัญญากับตัวเอง ฉันจะรู้สึก “….”
  • เวลาใครบางคนเมินเฉยต่อฉัน ฉันจะรู้สึก “….”
  • เมื่อฉันทะเลาะกับเพื่อนที่สนิทที่สุดของตัวเองครั้งใหญ่ ฉันจะรู้สึก “….”

เหตุผลที่เราต้องตั้งคำถามเหล่านี้ เพราะมันมีความเป็นไปได้ว่าเรื่องราวที่ไม่ถูกต้องมักจะกลายเป็นค่าปกติของตัวเอง (default) เมื่อเราเผชิญกับความผิดหวังหรือเรื่องที่ยากกับความรู้สึก

หรืออีกวิธีที่จะทำให้คุณค้นพบเรื่องเล่าเดิมๆ ของตัวเองได้ ก็คือการฟังเสียงของตัวเองและสังเกตว่ามันมีความคิดหรือคำพูดอะไรไหม ที่บอกในเชิงว่า “ฉันเป็น….แบบนี้เสมอ” หรือว่า “ฉันไม่มีทาง…..เลย”

หลังจากที่คุณได้พบกับเรื่องราวที่ฝังรากอยู่ในตัวเองแล้ว ให้ลองคิดย้อนกลับไปถึงตอนเด็กๆ แล้วพยายามมองหาว่าประสบการณ์ไหนที่ช่วยหล่อเลี้ยงเรื่องราวเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งถ้าบทสรุปของคุณจบลงที่การค้นพบเรื่องราวที่ไม่จริงมากมาย ให้เลือกเรื่องราวเดียวที่มีผลกระทบมากที่สุดกับชีวิตคุณ เพราะมันจะมีเรื่องราวอยู่เรื่องราวหนึ่งที่คุณควรค่าจะระบุมันให้ชัดและจัดการเสียใหม่โดยเร็ว


2. ตั้งคำถามกับความเชื่อของตัวเอง

ความเชื่อที่หยั่งรากลึกอยู่ในจิตใจของผู้คนจำนวนมาก คือความเชื่อที่ว่า ‘ไม่ว่าคุณจะทำอะไร มันก็ไม่มีทางดีพอ’ บางทีพ่อแม่ของคุณอาจจะไม่เคยพอใจในความสำเร็จของคุณเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม มันอาจเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในตอนที่คุณยังเด็ก ทว่ามันจริงหรือเปล่า ที่ในตอนนี้สิ่งที่คุณทำมันยังไม่เพียงพอ?

เมื่อเราโตขึ้น และมองสิ่งเหล่านี้ด้วยมุมมองของผู้ใหญ่ คุณอาจเห็นและเข้าใจว่ามันไม่ยุติธรรมเลยสำหรับเรา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องราวของคุณไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากพ่อแม่ของคุณ แต่มันมักจะเป็นผลลัพธ์ของความสัมพันธ์ที่เรามีในตอนเด็ก และมันมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่เราจะรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการตอบโต้ที่ดีและการตอบโต้ที่ไม่ดี ซึ่งเรามีต่อสิ่งใดก็ตามทำให้เรารู้สึกกลัว และนั่นก็จะทำให้เรายึดกับบทสรุปที่ไม่ถูกต้องได้


3. ไม่กล่าวโทษหรือต่อว่าตัวเอง

คุณอาจรู้สึกหมดกำลังใจ ถ้าคุณพบว่าคุณได้พร่ำบอกตัวเองถึงเรื่องราวที่ไม่ใช่ความจริงพวกนี้มานานแล้ว แต่มันไม่ใช่แค่คุณคนเดียวที่เผชิญกับปัญหานี้ลำพัง เพราะมีผู้คนมากมายที่กำลังใช้ชีวิตไปพร้อมกับสิ่งเหล่านี้ เราเลยจำเป็นต้องมีความเห็นอกเห็นใจตัวเอง และพยายามทำความเข้าใจให้ได้ว่าสิ่งเหล่านี้มันกลายมาเป็นชีวิตของเราได้ยังไง


4. หยิบยื่นสิ่งดีๆ ที่เป็นเรื่องราวในแง่บวก ใส่ในเรื่องราวของคุณ

คิดถึงจุดแข็ง , ความพิเศษของตัวเอง แล้วชื่นชมมัน ให้คุณค่ากับมัน แม้สถานการณ์บางอย่างอาจพาคุณไปสู่เรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง และทำให้คุณเป็นคุณอย่างทุกวันนี้ แต่บางครั้งมันก็ส่งผลกับตัวคุณในด้านบวกได้เช่นกัน บางครั้งมันก็ทำให้คุณเติบโตด้วยประสบการณ์ มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และอาจมีแรงขับเคลื่อนที่จะทำสิ่งดีๆ มากขึ้น ซึ่งความคิดเชิงบวกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ควรค่าที่จะมีพื้นที่อยู่ในเรื่องราวของคุณเช่นกัน


5. ทิ้งเรื่องราวเก่าๆ เอาไว้ข้างหลัง

ตัดขาดจากอะไรก็ตามที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับชีวิตของคุณอีกต่อไปแล้ว แยกแยะและเก็บเกี่ยวสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเอง และยอมรับว่ามันปลอดภัยแล้วที่จะก้าวไปข้างหน้า เพราะคุณไม่จำเป็นต้องกอดรั้งความมั่นคงจอมปลอมพวกนั้นอีกแล้ว


มีหลายคนที่เจ็บปวดทรมานอยู่กับกับความเชื่อหรือความเข้าใจผิดๆ ว่าตัวเราล้มเหลว และไม่สามารถจะฉุดตัวเองให้ลุกขึ้นมาเหมือนเดิมได้ แต่ในความเป็นจริงนั้นเราลุกขึ้นมาได้ และเมื่อถึงเวลานั้นที่คุณได้ลุกขึ้นมาแล้ว อนาคตที่คุณมองเห็นจะแตกต่างและดีกว่าเดิมอย่างสิ้นเชิง


อ้างอิงจาก

Related Articles

Digital Transformation ต้องเริ่มที่คนไม่ใช่ที่เครื่องมือ

ทุกวันนี้ในประเทศไทยเอง จะเห็นข่าวในแวดวงการตลาดบ่อย ๆ เกี่ยวกับเรื่อง Digital Transformation หรือหลาย ๆ เวทีสัมมนาพูดถึงเรื่องนี้อย่างมากว่า องค์กรในยุคนี้ต้องทำ…

Article | Digital Marketing

Nth room สะท้อนความรุนแรงทางเพศเกาหลีใต้ที่ไม่เคยหายไป เมื่อผู้หญิงถูกใช้เป็นเหยื่อบนโลกดิจิทัลซ้ำแล้วซ้ำเล่า

วินาทีนี้นอกจากสถานการณ์โควิค-19 ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง และดูไม่มีท่าทีที่จะหยุดพักจนกว่าจะมีคนคิดค้นวัคซีนได้ ก่อนสัปดาห์สุดท้ายเดือนมีนาที่ผ่านมา เกาหลีใต้ก็เกิดประเด็น Nth room หรือห้องแชทลับผิดกฎหมายที่มีจำนวนสมาชิกกว่า 260,000 คน…

Article | Living