Trending News

Subscribe Now

BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

BrandThink ไม่ใช่สื่อ แต่คือ ‘แพลตฟอร์ม’ จากคำถาม “เราคือใคร?” สู่โมเดลธุรกิจใหม่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

Article | Business

“ทุกวันนี้ ฝนไม่ตกตามฤดูกาลแล้ว…” เอกลักญ กรรณศรณ์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร BrandThink ฉายภาพรวมของโลกใบใหญ่ในเวลานี้

สำหรับเขา โลกในปี 2022 คือโลกที่คาดเดายากขึ้นกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงเดินทางมาหาเร็วขึ้น ถี่ขึ้น และประชิดตัวมากขึ้นในระดับรดต้นคอ “ผมคิดว่า โลกยุคนี้ไม่มีอะไรตายตัว ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ดิสรัปกันตลอดเวลา”

ในยุคที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ช่วงปีที่ผ่านมาทำให้เขาตัดสินใจปรับองค์กรครั้งใหญ่และสร้างโมเดลธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ โดยควบรวมและต่อยอดบริษัทด้านโปรดักชั่นเฮาส์และสื่อออนไลน์ในเครือ สู่การเป็น ‘Content Provider Platform’ ที่สื่อสารแบบครบวงจรในนามของ BrandThink

ใครที่ยังคงจดจำภาพ BrandThink ในวันแรกว่า พวกเขาเป็นสื่อด้านธุรกิจยุคใหม่ ขอบอกว่าคุณอาจต้องทำความรู้จักพวกเขามากขึ้น เพราะวันนี้ BrandThink เป็นมากกว่านั้น พวกเขาไม่ใช่แค่สื่อออนไลน์อีกต่อไป

เล่าอย่างรวบรัดและปลดกระดุมบางเม็ดให้พอวาบหวาม BrandThink ในวันนี้ คือ บริษัทด้านการสื่อสารที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก (positive change) ต่อผู้คนและสังคมด้วยแนวคิด “Create a Better Tomorrow” ที่พวกเขามุ่งมั่นและเอาจริงเอาจังในการทำให้เกิดขึ้นจริง จับต้องได้ ไม่ลอยลม ผ่านเซอร์วิส   ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติการสื่อสาร

ทุกมิติ…แม้ฟังดูมากมาย แต่เขาก็ยืนยันว่า สิ่งเหล่านั้นคือตัวตน ดีเอ็นเอ และเป็นสิ่งที่ BrandThink ลงลึกและเชี่ยวชาญ หลังผ่านการตั้งคำถาม “เราเป็นใคร?” มาอย่างหนักหน่วง

“…และคำตอบของคำถามนี้ ผมว่าอย่างน้อยมันก็พาเรามายืนอยู่ในจุดนี้”

จุดที่ BrandThink สามารถสร้างความแปลกใหม่ โดดเด่น มีสไตล์เฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากสำนักคอนเทนต์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทั้งหมดเกิดจากวิสัยทัศน์ที่แน่วแน่ ความหลงใหลอย่างแรงกล้า และความเชื่อมั่นในแนวทาง จนค่อย ๆ ก่อรูปขึ้นเป็นตัวตนที่ชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

จุดที่ BrandThink แข็งแรงพอที่จะรับมือกับอุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา ตั้งแต่กระแสดิสรัปชันของวงการสื่อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงของเทคโนโลยี จนถึงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 

และทั้งหมดนี้เองที่ทำให้ BrandThink พร้อมแล้วที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองอีกครั้ง เพื่อพาองค์กรไปข้างหน้า ท่ามกลางอนาคตที่ผันผวนและฝนฟ้าอาจไม่เป็นใจ

เปลี่ยน ‘เรื่องเล่า’ สู่ ‘ผลลัพธ์’  ที่จับต้องได้จริง ด้วยโมเดลการสื่อสารภายใต้ Content Provider Platform

คอนเทนต์มีพลังแค่ไหน? สำหรับเอกลักญเชื่อว่าคอนเทนต์ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า แต่เป็นสิ่งที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปธรรมให้เกิดขึ้นได้จริง 

แนวคิด “Create a Better Tomorrow” ของ BrandThink จึงแฝงไว้ด้วยความทะเยอทะยาน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโจทย์ที่สนุกและท้าทาย นั่นคือการสื่อสารนั้นจะต้องนำไปสู่การสร้างผลกระทบที่จับต้องได้ และการสื่อสารนั้นต้องอยู่ได้ในโลกความจริง โดยการผสมผสานสิ่งที่ ‘ขายได้’ (commercial) และการ ‘มีศิลปะ’ (art) ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว

“เราไม่อยากให้สิ่งที่เราทำ มันจบอยู่แค่ในความคิด หรือแค่สร้างการรับรู้ เราอยากให้มันเกิดเป็นรูปธรรม สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ โดยการเปลี่ยน Storytelling ให้เป็น Storydoing สร้างอิมแพคในมิติที่เราต้องการจะขับเคลื่อน ถึงแม้ในช่วงเริ่มต้นจะเล็กแค่ไหน แต่เราก็อยากให้มันเกิดขึ้นแน่นอน เราอยากสร้างอิมแพคที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เกิดสปริงบอร์ด เกิดการเชื่อมต่อทางความคิดจริง ๆ” 

ถามว่าคอนเทนต์จะสร้างอิมแพคระดับนั้นได้อย่างไร เอกลักญเชื่อมั่นว่าทั้ง 5 หน่วยธุรกิจภายใต้ร่ม BrandThink ที่มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า 5C ที่มาจากดีเอ็นเอ ความสนใจ ความเชื่อ ความชอบ และความเชี่ยวชาญของ BrandThink ที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นได้


End to End COMMUNICATION – Create a Better ‘Conversion’ 

ในโลกที่คอนเทนต์ท่วมฟีด ผู้คนเปลี่ยนใจเร็วระดับเสี้ยววินาที ลูกค้าและแบรนด์ต้องการมากกว่าแค่ยอดไลค์ แชร์ หรือวิว BrandThink ตอบโจทย์ใหญ่นี้ด้วยการสื่อสารแบบ End-to-End ที่ร่วมคิดและทำการสื่อสารไปด้วยกันกับแบรนด์ นักการตลาด และลูกค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์จากเอเจนซี่โฆษณา การเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การสื่อสาร และทีมคนรุ่นใหม่ที่สนุกกับการหาอินไซด์ของกลุ่มเป้าหมายในทุกเจเนอเรชั่น อีกทั้งยังเชี่ยวชาญในการผลิตไม่ว่างานจะสเกลเล็กหรือใหญ่ โดยทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งในภาคธุรกิจและสังคมที่หลากหลาย เพื่อสร้างแทคติกการสื่อสารที่ ‘เล่าดี สร้างอิมแพค และขายได้’ ไม่ว่าสิ่งที่ต้องการ ‘ขาย’ จะเป็นสินค้า, การเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าใหม่ หรือการสร้างประสบการณ์ BrandThink พร้อมยืดหยุ่นและตอบโจทย์ด้วยสมการ Storytelling + Storydoing = Storyselling เพื่อสร้างผลลัพธ์ (Conversion) ให้เกิดขึ้นในโลกที่หมุนไวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

“วันนี้เล่าเรื่องเก่งอย่างเดียวไม่พอ เรื่องราวดีแล้ว ต้องสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้ด้วย”

โอ๋ – ปราณิศา ตันติวงษ์, Business Development Director และ บอย – ยุทธนา เตชะรัตนประเสริฐ, Creative Director

CONTENT – Create a Better ‘Impact’

“สมมติเราคิดแคมเปญขึ้นมาหนึ่งตัว ก็อยากจะผลิตคอนเทนต์ดี ๆ เพื่อบอกเล่าประเด็นที่น่าสนใจให้สังคมรับรู้ ขณะเดียวกันก็จะชวนพาร์ทเนอร์ที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วยซึ่ง BrandThink มีเครื่องมือ มีพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้เราไม่ได้ทำตูมเดียวแล้วหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แต่ถ้าลงมือทำไปเรื่อย ๆ ความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่แหละมันจะพาเราไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน”

เดียร์ – อินทรชัย พาณิชกุล, Editor in Chief

คอนเทนต์คือทุกสิ่งที่ BrandThink พูดและทำ และน่าจะอธิบายตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าคอนเทนต์นั้นจะออกมาในรูปแบบใด วิดีโอ บทความ ภาพถ่าย พอดแคสต์ คอนเทนต์ซีรีส์ โปรเจกต์ หรือแคมเปญ ล้วนมีประเด็นที่แหลมคม สนุก และแฝงไว้ด้วยพลังที่ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น ทั้งในรูป Content เพียวและ Commerce ที่นำคอนเทนต์มาถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ที่มีความตั้งใจดี เพื่อซัพพอร์ตสินค้าแนว Creative and Betterment ให้สร้างอิมแพคและขายได้มากขึ้น

โดยในปี 2022 BrandThink มีแผนยกระดับการทำงานให้มีความเป็นสื่อมืออาชีพในทุกมิติ เพิ่มคอนเทนต์ที่มีความหนักแน่นขึ้น เช่น สกู๊ป บทสัมภาษณ์พิเศษ วิดีโอสารคดี เพิ่มความวาไรตี้ของเนื้อหาและการนำเสนอในแต่ละ Channel ของ BrandThink ไม่ว่าพอดแคสต์ พิธีกร นักคิด นักเขียน คอนเทนต์และซีรีส์ใหม่ ๆ โดยทุก ๆ Channel ที่มีมากกว่า 10 Channels แม้จะมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน แต่ก็ทำงานสอดประสานและสนับสนุนกันและกันภายใต้แนวคิด ‘Multi Channel Network’ เพื่อให้คอนเทนต์ที่ทำ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและผู้คนในวงกว้างมากกว่าเดิม 

ดูผลงาน https://advertising.brandthink.me/content

COMMERCIAL – Create a Better ‘Image’

มีน้อยคนจะรู้ว่า จุดเริ่มต้นที่เป็นรากฐานของ BrandThink มาจากธุรกิจโปรดักชั่นเฮาส์โฆษณาเมื่อ 14 ปีที่แล้วในนาม ‘Dir4’ (เดอโฟร์) ที่โดดเด่นงานด้าน Visual และปัจจุบันพวกเขายังคงทำอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อ BrandThink House ที่เป็นมากกว่าโปรดักชั่นเฮาส์ในแบบที่ใครหลายคนเข้าใจ พวกเขารับผลิตงานโฆษณาแบบ One Stop Service ในสเกลต่างๆ ทั้ง TVC – Digital Flim – Documentary – Online Content ทำหน้าที่เป็นคิวเรเตอร์ ที่สรรหาผู้กำกับที่เหมาะและแมทช์กับงานต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าความลงตัวนั้นจะหมายถึง Quality หรือ Budget โดยทีมงานที่เข้าใจเรื่องแผนการผลิตและเงื่อนไขต่าง ๆ ของเนื้องานทั้งภาพเล็กและภาพกว้างที่พร้อมเซอร์วิสและเป็นเพื่อนคู่คิดเพื่อให้งานลุล่วงตามเป้าหมาย โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา พวกเขาทำงานร่วมกับ Big Brand ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ เช่น OPPO, L’Oreal, Electrolux, Jonhson&Johnson, PTT, Honda, Beiersdorf และ Unilever เป็นต้น รวมถึงมี Hub of Directors  ที่เป็นศูนย์รวมของผู้กำกับทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ที่มีสไตล์งานเป็นเอกลักษณ์ เพื่อตอบโจทย์แบรนด์ สื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย เข้าถึงอินไซด์ของผู้คน และที่สำคัญคือการสร้าง Brand Image ที่ดี

“พอทุกอย่างเปลี่ยน บรีฟเปลี่ยน ลูกค้าเปลี่ยน ตอนนี้บัทเจ็ทอาจลดลง แต่ก็ดีตรงที่มันทำให้คนคิดมากขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานว่าจะทำยังไงงานถึงจะออกมาดีที่สุดและเราภูมิใจกับมัน”

ยุ้ย – ปารมี สุนทรวุฒินันท์, Executive Producer
ดูผลงาน https://advertising.brandthink.me/commercial

CINEMA – Create a Better ‘Motion Pictures’

ถ้าภาพยนตร์เคยเปลี่ยนชีวิตใครบางคนมาแล้ว แล้วทำไมภาพยนตร์ถึงจะเปลี่ยนสังคมในภาพใหญ่กว่านั้นไม่ได้ BrandThink CINEMA เริ่มต้นจากจุดนั้น ในฐานะผู้ผลิต พวกเขาคือสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ และสารคดีที่มุ่งนำเสนอประเด็นทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น เช่น อาทิตย์อัสดง (AFTER DARK) ซีรีส์สยองขวัญที่เล่าประเด็นทางสังคมอย่างแหลมคมของ WeTV Original และในฐานะคนรักหนัง พวกเขาต้องการสร้างพื้นที่ให้คนรักหนังมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน หรืออาจถึงขั้นร่วมงานและเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องหนึ่งขึ้นมาได้เลย โดยปีนี้จะมีผลงานให้ชมกันทั้งภาพยนตร์, ภาพยนตร์สารคดี รวมถึงซีรีส์อีกหลายเรื่อง รวมถึงการเปิดตัว www.brandthinkcinema.me แพลตฟอร์มเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่รวบรวมผลงานทั้งจากผู้กำกับและนักศึกษา ข่าวสารวงการภาพยนตร์ที่น่าสนใจ หนังสารคดีสไตล์ Craft Visual อีกหลายเรื่อง เพื่อสร้าง Cinema ที่มีความหมายมากกว่าคำว่าภาพยนตร์ แต่คือ ‘ชุมชนคนรักหนัง’ ที่คนทำหนัง คนดูหนัง นักวิจารณ์ ได้มารวมกันให้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้

ดูผลงาน www.brandthinkcinema.me

“น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ ๆ สำหรับคนที่สนใจเรื่องหนัง เพราะเราเป็น Platform ที่เปิดให้ได้แสดงตัวตนและผลงาน ตั้งแต่ผลงานของ Filmmakers หน้าใหม่ ไปจนถึงผลงานที่มีรางวัลการันตีจากเวทีไทยและเทศ ที่สำคัญคือภาพยนตร์เหล่านี้สามารถชมได้ไม่จำกัด และยังสร้างรายได้ให้กับคนทำหนังด้วย”

ช้ง – ชาติชาย วรเพียรกุล, Business Development Director และ นุ้ย – ภณิดา งามสมพงษ์, Production Director

COMMUNITY – Create a Better ‘Change’

ชุมชน คือ หัวใจที่จะสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบวกกับ BrandThink ต้องการจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้จริง พวกเขาจึงสร้างแพลตฟอร์มอย่าง www.thinkster.me ที่จะชวนคนทั่วไป องค์กรต่าง ๆ ทั้งเอกชน รัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคสังคมที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับสังคมได้มาเจอกัน และที่สำคัญ BrandThink ต้องการสร้างพื้นที่การทำเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยให้คนที่อยากเห็นสังคมดี สามารถสร้างรายได้จากการขับเคลื่อนสังคมผ่านการสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ

ไม่ว่า… Creator Network แหล่งรวมครีเอเตอร์ทุกสายพันธุ์ เช่น นักเขียน ช่างภาพ วิดีโอครีเอเตอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ ฯลฯ โดยเปิดพื้นที่ให้ครีเอเตอร์ได้สร้างผลงาน และรวบรวมผลงานเพื่อโชว์เป็น portfolio ขณะเดียวกันครีเอเตอร์ก็สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างคอนเทนต์และสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมได้ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ BrandThink

Campaign การสร้างแคมเปญเชิงสังคม โดยผู้ใช้สามารถเป็นทั้งผู้สร้างแคมเปญและผู้ร่วมแคมเปญต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนในประเด็นที่สนใจ โดยครีเอเตอร์สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อบอกเล่าแนวคิดและขับเคลื่อนประเด็นเชิงสังคมได้ โดยไม่จำกัดรูปแบบว่าคอนเทนต์นั้นจะเป็นบทความ ภาพถ่าย วิดีโอ เพลง ฯลฯ

Creative Brief พื้นที่ที่แบรนด์และครีเอเตอร์มาเจอกัน และทำบางสิ่งด้วยกัน โดย BrandThink จะชวนแบรนด์มาสร้างโจทย์ ครีเอเตอร์ที่สนใจก็ส่งผลงานเข้ามาประกวด และมีสิทธิ์ได้เงินรางวัล เรียกว่าเป็นการเอาไอเดียมาเปลี่ยนเป็นรายได้ เพื่อให้แบรนด์ได้เจอครีเอเตอร์ที่ใช่ และครีเอเตอร์ได้สร้างงานที่สร้างรายได้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

www.thinkster.me

ทั้งหมดนี้ เอกลักญบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตั้งต้นจากความต้องการจะได้เงิน หรือเห็นว่ามันเป็น กระแสที่ต้องไป “เราไม่ได้สร้างเพราะเราเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำ เราสร้างเพราะรู้สึกว่านี่คือตัวเรา เป็นสิ่งที่เราเชื่อ ชอบ และถนัดจริง ๆ”


‘กระถางหลายใบ’ คำตอบธุรกิจและอนาคตของสื่อในนิยามของ BrandThink

ย้อนกลับไปราวสองสามปีก่อน ถ้าวันนั้น BrandThink ยังคงฝืนต้านสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงของอนาคต วันนี้ก็ไม่รู้ว่า BrandThink จะยังมีอยู่หรือไม่ เอกลักญเองก็คงไม่กล้ายืนยัน แต่ที่แน่ ๆ สำหรับเขา โลกยุคนี้ไม่มีอะไรตายตัว การจะอยู่รอดในโลกยุคใหม่ คือต้อง ‘ยืดหยุ่น’ (flexible) และในช่วงที่ผ่านมา หน่วยธุรกิจทั้ง 5 หน่วยที่เอกลักญเปรียบว่าเป็น ‘กระถางรองรับน้ำฝน’ 5 ใบในวันที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ BrandThink เป็นองค์กรที่ยืดหยุ่นได้จริง ๆ

“ถ้าพูดถึงวิชั่นอนาคต ผมว่ามันไม่มีอะไรตายตัว ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ดิสรัปกันตลอดเวลา ผมว่าจุดสำคัญคือการสร้างกระถางรองรับน้ำฝนที่เป็นตัวเรา สร้างแพลตฟอร์มของเราเอง ในโลกยุคนี้ ถ้าเราทำสิ่งเดียว แต่นาน ๆ ฝนตกที แถมยังคาดเดาไม่ได้ด้วยว่าจะตกเมื่อไหร่ เราก็จะอาจรองน้ำฝนได้กระถางเดียว ถ้ากินไม่พอก็ตาย”

สมัยก่อนเรารู้เนอะ ถ้าทำสิ่งนี้แล้วจะเป็นยังไง แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้แล้ว โลกมันดิสรัปตลอดเวลา วันดีคืนดีอาจเกิดหิมะตกก็ได้ ตอบอะไรไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเราควรมีกระถางที่มากกว่าหนึ่งใบ และกระถางนั้นต้องเป็นตัวเราเองจริง ๆ

‘กระถางที่เป็นตัวเรา’ ฟังเผิน ๆ ดูเท่และสวย แต่พอลงรายละเอียดแล้วคือเรื่องที่ไม่ควรปล่อยผ่านและต้องไตร่ตรอง

อาจฟังดูปรัชญาไปหน่อย แต่ว่าต้องผ่านการเข้าใจว่า ‘เราคือใครจริง ๆ’ บางทีกว่าจะถึงจุดนี้ คนเราก็สร้างกระถางกันมั่วซั่วไปหมด แต่สุดท้ายถึงจุด ๆ หนึ่งจะรู้ว่า เราควรมีกระถางอะไรที่ควรเป็นของเราเองจริง ๆ ซึ่ง BrandThink ผมว่ากระถางของเราก็ประมาณนี้แหละครับ ไม่น้อยไม่มากไปกว่านี้

ถามในเชิงรูปธรรม การมีกระถางหลายใบดีอย่างไร เอกลักญบอกว่าจากบทเรียนในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา กระถางเหล่านั้นได้พิสูจน์แล้วว่าคือคำตอบของที่อยู่และที่ยืนของ BrandThink ในอนาคต


‘เปิดโลก ยืดหยุ่นและปรับตัว’

การมีหลาย Bussiness Unit นอกจากเราสามารถบริหารความเสี่ยงได้ ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นยังไง แต่ผมว่าการที่เราทำอะไรหลายๆ อย่าง ผมว่าก็สนุกดีนะ บางทีเราขี้เบื่อ ถ้าต้องมานั่งทำคอนเทนต์อย่างเดียว โห ตื่นมาทุกวัน ประชุมกองบก. ทำวิดีโอหรือทำโฆษณาเพียงอย่างเดียว สำหรับผมนะ บางทีมันก็แอบซ้ำๆ แต่การที่เราทำอะไรหลายๆ อย่าง ผมว่ามันก็สนุกดี ทำให้เกิดความหลากหลาย แล้วก็ความหลากหลายที่ว่าไม่ใช่ความสนุกทางอารมณ์อย่างเดียว แต่มันช่วยให้เราเชื่อมโยงชุดความคิดความรู้ในหลายๆ มิติเข้าด้วยกัน

เช่น ในโปรเจกต์ฝั่ง Cinema ก็ทำให้เราได้รู้จักและได้ความรู้จากคนที่ทำงานภาพยนตร์ที่ทำด้วยกัน เรารู้เลยว่าเราได้แก่นบางอย่าง แล้วแก่นนั้นก็นำมาประยุกต์กับคอนเทนต์ได้ ซึ่งการสร้างความหลากหลาย เป็นประโยชน์ในหลายๆ มิติ ทั้งเรื่องความรู้ความคิด และถ้าพูดถึงธุรกิจ ความหลากหลายก็ทำให้เราได้เจอคนหลายกลุ่ม ก็สามารถสร้างพาร์ทเนอร์ เกิดเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน ทำให้เราสามารถที่จะ flexible หรือสร้างความยืดหยุ่นได้จริง ๆ

เอกลักญบอกว่า หลังจากปรับทิศทางบริษัทมาได้ครบขวบปี วันนี้ BrandThink พร้อมจะยืดหยุ่น “และเรายืดหยุ่นได้จริง ๆ” เขาย้ำ “เพราะว่าเรามีหลายพื้นที่ให้เราไปยืน และในแต่ละช่วงเวลาก็มีพื้นที่ให้เราพร้อมปรับเปลี่ยนรับกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคนี้”

ถามว่ารับมือและยืดหยุ่นอย่างไร คงไม่ต้องซักไซ้ลงรายละเอียด เพราะคำตอบอยู่ในผลงานของ BrandThink ที่ผ่านมา 


“เราคือใคร?” คำถามใหญ่ในโลกที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

มองไปในอนาคต อย่างน้อยในปี 2022 หรือไกลกว่านั้น เห็นอะไร?
เอกลักญ นิ่งคิดก่อนย้ำว่า คำตอบในโลกวันนี้ไม่มีตายตัว แต่คำถามที่ควรถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาคือ ‘Who are you?’ 

ผมว่าคำถามนี้สำคัญมาก ๆ ในโลกอนาคต เพราะถ้าตอบไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่าเราจะไปยืนอยู่ตรงไหนทันที และคำตอบของคำถามนี้ ผมว่าอย่างน้อยมันพาเรามายืนอยู่ในจุดนี้ …แล้วผมว่า คำตอบที่ได้ก็ไม่ได้เป็นคำตอบตายตัวนะ ไม่ได้เป็นปลายปิด แต่เป็นปลายเปิดด้วยซ้ำ เป็นคำตอบเพื่อจะได้ตั้งคำถามใหม่ในแต่ละช่วงเวลาไปเรื่อย ๆ

สมมติคำตอบในวันนี้ว่า BrandThink เป็นใคร เราเป็นบริษัทด้าน Content Provider Platform ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ซึ่งก็มาจากการตั้งคำถามเล็กๆ อีกนับร้อยนับพันคำถาม เพื่อรวบความคิดออกมาเป็นคำตอบเดียวที่สามารถตอบทุกอย่างได้ดีที่สุด ทั้งวิชั่น ความเชื่อ ธุรกิจ ที่ต้องเกิดขึ้นได้จริง เรารู้แหละว่าการผสมผสานเรื่องของการทำ Commercial และการทำธุรกิจให้ไปด้วยกันกับเรื่อง Art เรื่อง Positive Change Driven ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นคำตอบท้าทาย ณ ขณะนี้ที่เราอยากไปให้ถึง

ผมว่าคำตอบของคำถาม Who are you จะโตไปตามประสบการณ์ การเรียนรู้ของเราไปเรื่อยๆ ซึ่งการล้มเหลวก็สำคัญนะ ทำให้ได้คำตอบใหม่ บางทีเรามีคำตอบแล้ว เราคิดว่าเรามั่นใจมากเลย พอลงไปทำจริงๆ หกล้ม แต่พอหกล้ม ก็ได้คำตอบที่ชัดขึ้น บางทีเรามีคำตอบแล้วล่ะ ที่คิดว่ามันใช่ แต่บางทีพอลองทำแล้วพบว่าไม่ใช่ว่ะ มันต้องคมกว่านั้น มันต้อง   ลีนกว่านั้น มันก็จะเหลาตัวเองไปเรื่อย ๆ ไม่มีคำตอบตายตัว

สิ่งสำคัญอาจไม่ใช่คำตอบ แต่เป็น ‘คำถาม’ ผมว่าเราต้องถามตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ว่าเราคือใคร ทำอะไร กำลังยืนอยู่ในจุดไหน และต้องเปลี่ยนแปลงหรือไม่

“ต้องถาม” เอกลักญย้ำ ถ้าหยุดถามเมื่อไหร่ พัง อาจจะเดินเคว้ง หลุดไปไหนก็ไม่รู้ …เหมือนคำตอบของคำถามที่ว่า ชีวิตแปลว่าอะไร คงไม่มีแบบนั้นเนอะ” (หัวเราะ)

Related Articles

Brand Purpose บทเรียนจากภาพยนตร์ไทยที่มีผลต่อความเชื่อของผู้บริโภค

ในตอนนี้ประเทศในโลกของ Social นั้นมีกระแสหนึ่งเข้ามาวนเวียนอยู่เป็นระยะใน Timeline ของผมนั่นก็คือเรื่องภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่ง ที่นักแสดงนำของเรื่องนั้นได้ออกมาวิจารณ์เรื่องการเมืองก่อนทื่ภาพยนตร์จะเข้าฉาย และข้อความนั้นกระทบกับกลุ่มของประชาชนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของขั้วการเมืองนั้น ๆ เลยส่งผลให้ภาพยนตร์ดังกล่าวเมื่อเข้าฉายกลับกลายเป็นว่าทำรายได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมาก นี่คือตัวอย่างอันดีของกรณีศึกษา…

Article | Digital Marketing

อย่าว่าแต่อ่านให้ได้หลายเล่มเลย อ่านให้จบสักเล่มก่อนดีกว่า – รวมเทคนิคทำลายกองดอง อ่านหนังสือยังไงให้จบ!

เชื่อว่ามีหลายคนเป็นนักดองหนังสือ และอาจดองหนังสือที่ซื้อมาตั้งแต่สมัยที่งานหนังสือที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ยังไม่ปิดปรับปรุง

Article | Living | Nice to Read You

Google Primer เรียนธุรกิจและการตลาดฟรี จบได้ใน 5 นาที

ฟรีและดีมีอยู่จริง! “Google Primer” แอปพลิเคชั่นเรียนธุรกิจและการตลาดออนไลน์ฟรี!! มาในรูปแบบ Flash Card สไลด์อ่านกันเพลิน ๆ มีเนื้อหาให้เรียนรู้เยอะมากกกกก…

Article | Digital Marketing