Trending News

Subscribe Now

ประโยชน์ของ “การเปิดเผยจุดอ่อน” บางครั้งก็ไม่ได้แย่เสมอไป

ประโยชน์ของ “การเปิดเผยจุดอ่อน” บางครั้งก็ไม่ได้แย่เสมอไป

Article

เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับอีกฝ่าย หลายครั้งเรามักไม่อยากจะเผยจุดอ่อนของตัวเองให้ใครรู้ เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นสิ่งที่ให้อีกฝ่ายใช้เอาเปรียบ แต่ไม่ใช่เสมอไป… ในบางสถานการณ์ “การเปิดเผยจุดอ่อน” ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน

1. การเกริ่นนำด้วยจุดอ่อน จะช่วยลดความเป็นปรปักษ์ของผู้ฟัง

ประโยคหนึ่งที่ศาสตราจารย์ด้านการตลาดได้บอกไว้ คือ “เมื่อเรารู้ว่าใครสักคนกำลังพยายามโน้มน้าวใจเราอยู่ เราจะสร้างเกราะป้องกันทางจิตใจขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ความมั่นใจที่เต็มเปี่ยมจากคู่สนทนา เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนว่า เราจำเป็นต้องป้องกันตัวเองจากการถูกชักจูง” ความมั่นใจกลายเป็นเรื่องร้ายแรงให้คนฟังสร้างเกราะป้องกัน ดังนั้น การพูดแต่เรื่องที่ดีอย่างเดียว จึงทำให้คนฟังรู้สึกว่า เขากำลังถูกโน้มน้าวใจ หรือถูกหลอกขายบางอย่าง

แต่ถ้าเรานำเสนอจุดบกพร่องหรือข้อเสียออกไปก่อน มันทำให้เขารู้สึกว่า พวกเขากำลังช่วยกันแก้ปัญหา มากกว่ากำลังถูกเสนอขาย และการเปิดเผยจุดอ่อน ยังทำให้คนฟังรู้สึกว่า เราเป็นคนถ่อมตนและจริงใจอีกด้วย

2. การเกริ่นนำด้วยข้อจำกัดของแนวคิดหรือปัญหาต่าง ๆ จะทำให้เราดูฉลาด

มันเป็นการบอกกับอีกฝ่ายว่า เราประเมินข้อบกพร่องของตัวเองมาก่อนแล้ว รวมถึงฉลาดพอที่จะทำการบ้าน และคาดเดาปัญหาที่อาจจะต้องพบเจอ การทำแบบนี้เป็นการแสดงให้คนอื่นเห็นว่า เราไม่ได้ถูกแนวคิดของตัวเองชักจูง และไม่ได้ใช้แนวคิดนั้นชักจูงคนอื่น

3. การเปิดเผยจุดอ่อน ทำให้คุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ตัวอย่างในมุมของการเจรจาทางธุรกิจ หน้าที่ของนักลงทุน คือการมองหาข้อผิดพลาดของบริษัท การบอกข้อบกพร่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางธุรกิจให้นักลงทุนได้รู้ก่อน จึงเปรียบเหมือนการทำงานบางส่วนแทนพวกเขา ซึ่งจะทำให้นักลงทุน มีความเชื่อใจในธุรกิจเรามากขึ้น

4. การเปิดเผยจุดอ่อน ทำให้ผู้ฟังประเมินเเนวคิดของคุณในแง่ดีมากยิ่งขึ้น

เมื่อผู้ฟังทราบถึงข้อเสียต่าง ๆ แล้ว เขาจะไม่พยายามหาข้อเสีย ตั้งแง่ หรือตั้งคำถามต่างอีก เพราะคุณได้บอกเขาไปก่อนแล้ว มันจะเป็นเรื่องยากมากกว่า ถ้าผู้ฟังจะพยายามหาข้อด้อยข้อที่ 6 ของคุณ หากคุณบอกข้อด้อยออกไปก่อนแล้วถึง 5 ข้อ

เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้คือ ประโยชน์ของ “การเปิดเผยจุดอ่อน” นั่นเอง…

ถอดความจาก Morning Call Podcast 
เรียบเรียงโดย สนธยา สุตภักดิ์

Related Articles

อนุพงษ์ อัศวโภคิน “อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องเรียนรู้ที่จะเป็น Entrepreneur ในองค์กร”

“ถ้าคุณไม่สามารถเป็น Entrepreneur ในองค์กรได้ คุณไม่มีทางที่จะออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจเองได้เลย” แนวคิดแห่งความสำเร็จของ คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี…

Article | Entrepreneur

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

ช่วงกลางปีมีโอกาสได้ขึ้นไปภาคเหนือเพื่อพักผ่อน และเจอน้องที่รู้จัก ระหว่างขับรถชมวิวไปเรื่อย ลัดเลาะเข้าซอยตาม Google Map สายตาก็กวาดไปเห็นป้ายร้านกาแฟร้านหนึ่ง “ร้านกาแฟคุณหมอ” ผมเอะใจว่า “ร้านกาแฟคุณหมอ” มีอะไรดี? คุณหมอคนนี้เป็นคนดังในย่านนี้? ถ้าไม่ใช่…

Article | End of The Walk Way

ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตัวแปรสำคัญที่สร้างความขัดแย้งต่อความคิดผู้คนในแต่ละเจน

เด็กสมัยนี้ พวกรุ่นไดโนเสาร์ หรือมนุษย์ป้า มนุษย์ลุง นี้เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันอย่างมากเมื่อมีการปะทะกันทางความคิดระหว่างคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าในโลกออนไลน์ ก่อนปี 2000 ที่ผ่านมา โลกไม่เคยเผชิญความขัดแย้งทางช่วงวัยมากขนาดนี้ ความขัดแย้งเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้น…

Article | Living