Trending News

Subscribe Now

รู้จัก Audio Marketing การตลาดด้วยเสียง

รู้จัก Audio Marketing การตลาดด้วยเสียง

Article | Business

วันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนได้หันมาสนใจการฟังมากขึ้นกว่าเดิม

จากการแสของ Podcast และ Clubhouse ทำให้คนจำนวนมาสนใจเสพข้อมูลในรูปแบบของ Digital Audio มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะต้องการฟังเพื่อทันโลกทันเหตุการณ์ หรือต้องการฟังเพื่อความบันเทิง หรือเสริมความรู้ แต่ไม่ว่าจะเป็นทางไหน วันนี้ Digital Audio กำลังมาแรงและแซงสื่อ traditional อย่างวิทยุไปเรียบร้อยแล้ว

จากตัวเลขผู้ฟัง Digital Audio ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ปี 2020 ถือเป็นปีแรกที่มีตัวเลขผู้ฟัง Digital Audio มากกว่าวิทยุ และตัวเลขนี้ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2021 ดังนั้นวันนี้เราควรจะต้องรู้จักการทำการตลาดผ่านเสียงหรือ Audio Marketing ว่าคืออะไรและจะทำได้อย่างไรกันครับ

Audio Marketing คืออะไร

หากจะแปลตรงตัว Audio Marketing คือการทำการตลาดผ่านเสียง การทำการตลาดที่ไม่ต้องพึ่งพารูปภาพ คลิปวิดีโอ แต่มีเฉพาะเสียงเท่านั้น ข้อดีของเสียงคือทำให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการภาพตามได้ สร้างภาพในจินตนาการที่ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ฟังได้ ทำให้ผู้ฟังคล้อยตาม ที่อาจจะนำมาสู่ผลลัพท์ทางการตลาดที่ดี

Digital Audio ในปัจจุบันแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. On Demand Digital Audio ซึ่งในทีนี้ ถ้าเป็น Podcast ก็จะมีวิธีการทำงานเหมือน YouTube แต่ไม่มีภาพ อยากฟังเมื่อไหร่ก็สามารถกดเปิดฟังได้ทันที และหยุดได้เมื่อต้องการ ขณะที่การฟังเพลงผ่าน Spotify, Joox หรือ Apple Music ก็ถือเป็น On Demand เช่นกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากรายการพูดคุย เป็นเพลงต่าง ๆ
  2. Live Streaming Audio ซึ่งหากจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดก็คือ Clubhouse นั่นเอง การทำงานของ Live Streaming Audio นั้นจะเหมือนวิทยุ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ digital ฟังผ่านโทรศัพท์มือถือ และที่สำคัญคือต้องฟัง “สด” เท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่จะมีใครบันทึกเสียงไว้แล้วนำไปปล่อยต่ออีกทีในรูปแบบของ Podcast)

ปัจจุบันการทำสื่อไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากเครื่องมือและแอพพลิเคชั่น ทั้งนี้ การทำ On Demand Digital Audio อาจจะมีรายละเอียดที่มากกว่า แต่การทำ Live Streaming Audio กลับจำเป็นต้องใช้ไหวพริบในการจัดรายการสดของผู้ดำเนินรายการ และการเตรียมตัวมากกว่า

ทำไมเราถึงต้องทำ Audio Marketing?

ทำง่าย ต้นทุนต่ำ

นอกจากตัวเลขการเติบโตของผู้ฟังในกลุ่ม Digital Audio ก็ต้องบอกว่า ปัจจุบันนี้การทำ Digital Audio นั้นง่ายกว่าการทำวิทยุหลายเท่าตัวนัก และด้วยเหตุนี้จึงทำให้การทำการตลาดด้วยเสียงในยุคนี้ มีต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งมีผลต่อต้นทุนในการจัดรายการ หรือการสนับสนุนในฐานะสปอนเซอร์

ยังไม่มีผู้เล่นในตลาดเฉพาะกลุ่ม

แม้ว่าวันนี้จะมีรายการใน Podcast จำนวนมาก หรือห้องใน Clubhouse ที่หลากหลาย แต่ยังไม่เห็นการทำ Audio Marketing ในตลาดเฉพาะกลุ่มเหมือนในต่างประเทศ เช่น Podcast สำหรับคนรักรถยนต์, Podcast สำหรับคนรักไวน์, หรือ Clubhouse สำหรับ Barista ซึ่งตรงนี้มองว่าเป็นช่องว่างที่สามารถสร้างโอกาสสำหรับการทำการตลาดได้ ดังนั้นวันนี้ต้องลองมองดูว่า ในธุรกิจที่คุณอยู่ มีใครทำ Audio Marketing อย่างจริงจัง และเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มแล้วหรือยัง

คนไทยฟัง Digital Audio มากถึงวันละ 162 นาที

จากข้อมูลของ Spotify บอกว่า คนไทยฟัง Digital Audio มากถึงวันละ 162 นาที หรือเกือบ 3 ชั่วโมงต่อวัน! นั่นคือโอกาสในการเข้าถึงความคิดของคนฟัง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสด้านการขายจากการฟังอย่างตั้งใจ หรือแม้จะเป็นการฟังแบบผ่าน ๆ ก็อาจจะสามารถสร้าง awareness เพิ่มการรับรู้ให้ผู้คนได้เช่นกัน

โฆษณาของคุณจะเป็น Exclusive

ถ้าคุณไม่ใช่ผู้ผลิต Digital Audio แต่เป็นสปอนเซอร์ การลงโฆษณาใน Digital Audio นั้นจะทำให้ทำโฆษณาของคุณเป็น exclusive หมายถึง ในหนึ่งช่วงเวลาจะมีเฉพาะเสียงโฆษณาของคุณเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากการลง banner ในเว็บไซต์หรือสื่ออื่น ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็น banner ครั้งละหลาย ๆ ตัว

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ วันนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า คุณเองก็ควรหันมาสนใจการทำการตลาดด้วยเสียงหรือ Audio Marketing

ทั้งนี้การทำการตลาดด้วยเสียงนั้น คุณสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยขอยกตัวอย่างที่สามารถทำได้ง่าย ๆ มา 4 วิธีนะครับ โดยผมจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มสปอนเซอร์

ถ้าคุณเป็นผู้ผลิต คุณสามารถทำได้เอง เริ่มต้นได้เองด้วยการทำ Podcast และ Clubhouse

ทั้ง Podcast และ Clubhouse นั้นเป็น platform ที่ใช้ง่าย ทำง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยคุณภาพของเสียงนั้นจะเพิ่มไปตามคุณภาพของการบันทึกเสียง ซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพเสียงมีผลต่อการฟังของคน ถ้าเสียงดี คนจะฟังได้นานกว่า เพราะรู้สึกลื่นหูกว่าการบันทึกที่มีเสียงแบคกราวน์ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้การบันทึกเสียงดี ก็สู้การทำเนื้อหาดีไม่ได้ เพราะหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้ฟังสนใจอยากฟัง ก็เพราะเนื้อหาที่นำเสนอ ไม่ใช่ production ในการบันทึกเสียง

ทั้งนี้ปัจจุบันมีแบรนด์ที่ทำ Podcast และ Clubhouse เอง เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซิกน่าประกันภัย ธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น

ถ้าคุณเป็นสปอนเซอร์ สามารถทำร่วมกับผู้ผลิตหรือตัวกลางในการสื่อสารด้วยเสียง

การทำร่วมกับผู้ผลิตที่มีอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก จะเป็นการย่นระยะเวลาในการรวบรวมผู้ฟัง คุณสามารถร่วมกับรายการที่มีผู้ฟังที่ตรงกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว และอาจจะได้ร่วมในราคาไม่แพงด้วย หรือคุณอาจจะไปติดต่อกับตัวกลางเช่น Spotify หรือ Joox เพื่อสร้าง playlist สำหรับธุรกิจของคุณ ยกตัวอย่างเช่น อสังหาฯ เจ้าหนึ่งจัด playlist สำหรับให้ลูกบ้านได้ฟังเพื่อวันที่ต้องการผ่อนคลาย

การสื่อสารด้วยเสียงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังเป็นเส้นทางการทำการตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสมากมาย ดังนั้นเราจึงควรต้องลองเข้าไปเรียนรู้ เพื่อต่อยอด และสร้างให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ

Related Articles

One Word Caption เทรนด์พฤติกรรมใหม่ที่บอกทุกความรู้สึกในคำเดียว

One Word Caption เทรนด์นี้เกิดขึ้นใน instagram โดยเหล่า Users ทั่วโลกมักจะเลือกคำแทนใจมาใช้ประกอบรูปเพื่อบอกถึงอารมณ์ของพวกเขา

Article | Digital Marketing