Trending News

Subscribe Now

การพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมในยุค New Normal กับ Openbox

การพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมในยุค New Normal กับ Openbox

Article | Creative/Design

ถึงแม้เราจะเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ย่างเข้าสู่ครึ่งปี 2020 แล้ว แต่ทว่าโรคระบาดนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่วิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal จึงเปลี่ยนพฤติกรรมและกลายเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ในทุกด้านของทุกคน ทั้งด้านร่างกายที่ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอและนานเกิน 30 วินาที สวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ด้านการทำงานที่หลายบริษัทใช้รูปแบบ Work From Home หรือ Remote Working ในเกือบ 5 วันของการทำงาน 

บทความแนะนำ : ทีมพร้อม เครื่องมือพร้อม ใช้ชีวิต Work From Home อย่างประสิทธิภาพรับสถานการณ์ COVID-19

การพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมเองเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องปรับรูปแบบและพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่นี้เช่นเดียวกัน เพราะเราไม่อาจล่วงรู้ได้เลยว่า ในอนาคตนั้นโลกของเราต้องเผชิญกับโรคระบาดใหม่อีกครั้งหรือไม่ คุณรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ ผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิก Openbox ผู้คร่ำหวอดในแวดวงนี้กว่า 60 ปี ก็ตั้งโจทย์และหาคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมในยุค New Normal นี้เช่นกัน  

รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์
คุณรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ ผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิก Openbox

“การเกิดโรคระบาดทำให้เราได้ย้อนกลับมาคิดถึงเรื่องการพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรม แล้วก็สรุปเป็นความรู้ได้ว่าเป็นคำว่า Sense (เซนส์) โดยแบ่งออกเป็น 5 ข้อด้วยกันครับ เริ่มที่

1. S-Space Efficiency
2. E-Energy Sharing และ Energy Sustainability 
3. N-Nature and Beat
4. S-Synchronization of Multi-Functions
5. E-Explorations Innovations

ซึ่งเป็นแนวการพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมในยุค New Normal ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตมีความสุขทั้งกายและใจครับ” โดยคุณรติวัฒน์ อธิบายถึงแต่ละข้อ

1. S-Space Efficiency การใช้การจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

S-Space Efficiency หรือการใช้การจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ บอกว่า ส่วนตัวแล้วสนใจอาคารสูงเป็นพิเศษ พร้อมยกตัวอย่างว่า พื้นที่ประมาณ 2-3 ไร่ ปกติแล้วถ้าเราจัดสรรเป็นลักษณะบ้าน เราจะสามารถตัดแบ่งพื้นที่ได้เพียงไม่กี่สิบครอบครัวขนาดเล็กเท่านั้นแต่ถ้าเราทำเป็นอาคารสูง จำนวนคนที่สามารถใช้พื้นที่ตรงนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นหลายร้อยครอบครัว

จากการศึกษาโปรเจกต์ที่ผ่านมา เขาพบว่า นอกจากคนสามารถมีพื้นที่ใช้สอยได้เยอะแล้ว การทำพื้นที่สีเขียวบนอาคารขนาด 2 ไร่กว่าๆ  ทำให้เรามีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นประมาณ 8,000 ตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 2 สนามฟุตบอลปกติรวมกันคือยิ่งสร้างตึกเข้าไปปรากฏว่ายิ่งได้พื้นที่สีเขียวมากกว่าเดิมได้ต้นไม้มากขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าเราทำตึกประมาณ 40,000 ตารางเมตรได้ ต้นไม้เพิ่มขึ้นเป็น 340 กว่าต้นเทียบเท่ากับพื้นที่จะได้ประมาณ 1 ไร่เต็มๆ ไม่ใช่แค่เพียงการใช้พื้นที่ให้จำนวนผู้คนใช้อย่างสูงสุด แต่เรื่องธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวเองก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่คุณรติวัฒน์มองว่านี่คือการใช้พื้นที่ให้ประสิทธิภาพมากขึ้น สอดรับการขยายตัวของประชากรคนเมือง ในขณะที่เรามีทรัพยากรอย่างจำกัดอีกด้วย 

2. E-Energy Sharing และ Energy Sustainability

ในหมุดหมายที่ผมตั้งใจไว้คือ อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่เราออกแบบมันสามารถสร้างไฟฟ้าให้กับตัวเองได้ โดยปัจจุบันเรากำลังทำค้นคว้าและวิจัย เรื่องการปรับแผงโซลาเซลล์ให้เป็นชิ้นส่วนที่สามารถเอามาใช้บนอาคาร จากเดิมเราจะแผ่นไปติดตั้งบนหลังคา แต่ผมเริ่มมีแนวทางที่จะเอามาแผ่นมาแปะเป็นแบบที่บังแดดบ้าง มาตกแต่งรูปด้านอาคาร เพราะตัวแผ่นเองก็มีความสวยงาม”

Openbox

จากการค้นคว้าและวิจัยการปรับแผงโซลาเซลล์ เมื่อคุณรติวัฒน์นำไปทดลองกับอาคารสูงแห่งหนึ่งแล้วเขาพบว่า อาคารเหล่านั้นสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 80% ของการใช้งานทั้งหมด เปรียบให้เห็นภาพมากขึ้น เดิมที่ตึกออฟฟิศต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 100 บาท เมื่อติดแผงนี้ค่าไฟจึงลดลงเหลือเพียง 20 บาท ไม่เพียงแต่ลดค่าไฟเท่านั้น เขายังมองว่า พลังงานไฟฟ้านี้ต้องแชร์ให้ตึกบ้านใกล้เรือนเคียงได้ด้วย โดยอ้างอิงจากการใช้ชีวิตของคน ในกลางวันอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของที่ตึกคอนโดน้อยกว่าช่วงกลางคืนเพราะคนออกไปทำงาน ตึกออฟฟิศที่อยู่ใกล้ในกลางวันจึงมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าเพราะเป็นช่วงเวลาที่คนทำงาน คุณรติวัฒน์จึงเสริมแนวคิดนี้ว่า หากเขาสามารถคิดค้น ตัวเก็บประจุที่เสมือนแบตเตอรี่ใหญ่ที่สามารถชาร์จไว้ได้แล้ว โดยสองตึกนี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 80% เมื่อนำมารวมกันหากการใช้งานไม่ถึงเปอร์เซ็นต์ที่ว่านี้ นอกจากที่เราจะประหยัดพลังงานแล้วยังสามารถนำไปขายต่อได้อีกด้วย

3. Nature & Green

ตั้งแต่ข้อแรกที่ผมเล่ามาจะสังเกตได้ว่า จะมีเรื่องของธรรมชาติสอดแทรกอยู่ด้วย ผมอยากทำให้มีสีเขียวมากขึ้นครับอย่างที่นิวยอร์กที่เขานำพื้นที่สะพานยาวๆ มาเป็นสวน ใช้ทางสีเขียวเชื่อมพื้นที่สีเขียวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ถ้าเราสังเกตดีๆ บ้านเราก็ไม่ได้มีพื้นที่เสียวน้อยจนน่าใจหายเพียงแต่ว่าพื้นที่เหล่านั้นอยู่แยกกันโดดๆ คนก็เลยเข้าถึงไม่ค่อยได้ ต้องตั้งใจไปสถานที่นั้นโดยตรง แต่ถ้าเราสร้างเส้นทางเล็กๆ เหมือนสะพานที่เชื่อมพื้นที่เหล่านี้ได้อย่างสวนโรงงานยาสูบผสม จากเดิมที่เป็นทางเดินแห้งๆ พอเราเอาต้นไม้ปลูก ออกแบบติดตั้งไฟให้สว่างเมื่อเราต้องเดินช่วงกลางคืน พื้นที่เหล่านี้ก็จะมีประโยชน์ขึ้น เมื่อคนมาใช้งานก็ลดการใช้พลังงานลง ลดการพ่นไอเสีย 

Openbox

ดังนั้น Nature & Green ของเราในอาคาร พื้นที่ส่วนตัว ถนนหรือเส้นทางจะเชื่อมกันด้วยพื้นที่สีเขียวโยงกันเป็นใยแมงมุม นอกจากเมืองจะสวยขึ้นแล้วคนก็จะมีความสุขมากขึ้น” 

4. S-Synchronization of Multi-Functions

โดยข้อนี้คุณรติวัฒน์อ้างอิงจากการใช้งานตึกในบ้านเราที่มีการผสมผสานฟังก์ชันอย่างคอนโดที่มีร้านสะดวกซื้อ ซาลอนหรือบางแห่งเป็นลักษณะคอมมิวนิตีเล็กๆ การใช้งานตึกปัจจุบันของบ้านเราจึงเป็นลักษณะที่ยืดหยุ่นผสมผสาน ทั้งมิติการใช้อยู่อาศัย ใช้ชีวิต หรือกระทั่งการทำงาน 

Openbox

“ถ้าเกิดวันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่เราต้องล็อกดาวน์กันอีก ออกไปไหนไม่ได้ ตึกที่มีหลากหลายฟังก์ชันแบบนี้จะตอบโจทย์การล็อกดาวน์เลย อีกทั้งการใช้ชีวิตก็มีความราบรื่นมากขึ้นหรือกระทบจากการล็อกดาวน์น้อยลง ดังนั้นสิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ ผมมองว่าเป็นพวกระบบลิฟต์ที่มีฟังก์ชันมากกว่าวิ่งขึ้นลง แต่สามารถเคลื่อนที่ไปทางซ้าย-ขวาหรือหน้าหลังได้ เพราะวันหนึ่งการใช้งานตึกของคนมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งแนวราบและแนวสูง ผสมผสานกัน ระบบลิฟต์พวกนี้ก็จะมีประโยชน์ตอบสนองชีวิตดีขึ้น อีกทั้งหากเกิดโรคระบาดอีกครั้ง ถ้าระบบลิฟต์มีการพัฒนาเป็นลักษณะตัวเดียวกันแต่มีสองชั้นบนกับล่างก็จะช่วยเว้นระยะห่างของคนลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคด้วยเช่นเดียวกัน“

5. Explorations of Innovations

ไม่ใช่แค่เพียงระบบลิฟต์ที่ผมคิดว่าเราควรพัฒนาเพื่อรับกับวิถีชีวิตใหม่หรือสถานการณ์โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกครั้ง แต่ปัจจุบันจากการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เราพบว่า มีการคิดค้นผนังที่สามารถใช้ดูดควันพิษ สารพิษในอากาศได้ มันเป็นผนังที่เราทาไทเทเนียมออกไซด์ พอมันโดดแดดส่องมันจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์ ดูดคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป แล้วก็ดูดพวกฝุ่นเล็กๆ พวก PM2.5 เข้าไปในผิวของพวกได้ มันทำให้อากาศบริเวณอาคารมันสะอาดขึ้น

โดยสารพิษหรือฝุ่นในอากาศจะเกาะอยู่บนผิวของผนัง เวลาฝนตกลงมา ฝนก็จะชะล้างพวกนี้ลงไปที่ดินเลยโดยไม่กระจายกลับออกมาในอากาศ ตอนเราก็เริ่มมีโปรเจกต์ที่พยายามจะนำเสนอสิ่งนี้ให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานตกแต่งผิวอาคาร” 

นอกจากหลักแนวคิด Sense ทั้ง 5 ข้อในการพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมในยุค New Normal นี้แล้วคุณรติวัฒน์ยังเสริมทิ้งท้ายว่า

การใช้ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งกายและใจดีขึ้น เพราะปัจจุบันด้วยพื้นที่และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด คนอยู่ในอาคารสูง เมื่อมองไปก็จะรู้สึกว่าบรรยากาศเต็มไปด้วยตึกคอนกรีตที่ล้อมรอบการใช้ชีวิต หากต้องการพื้นที่สีเขียวก็ต้องลงไปข้างล่าง ไปสวนสาธารณะสักจุด แต่ถ้าเราพัฒนาเมืองและสถาปัตยกรรมให้มีพื้นที่สีเขียวสอดแทรกมากขึ้นในพื้นที่ ทั้งมลพิษ การลดใช้พลังงานนี้เองก็จะส่งผลให้คุณภาพการใช้ชีวิตของคนทั้งกายและใจดีขึ้น 

เรื่อง : CREATIVE TALK
ภาพ :
Openbox 


บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

7 ทักษะของนักแก้ปัญหา ต้องเริ่มที่ใจ

ไม่ว่าคุณจะเป็นใครในองค์กรก็ควรต้องมีทักษะผู้นำ แต่จะเป็นนักแก้ปัญหา ให้ถูกจุดทั้งเรื่องงานและเรื่องคนได้นั้น ต้องมีทั้งข้อมูลและสติพร้อมพลิกเกมธุรกิจ แล้วถ้าไม่รู้จะรับมือยังไงให้ไหว ขอแค่ไม่พาย่ำแย่ตามกันไปหมด เพราะก่อนจะช่วยใครรอด คุณจำเป็นต้อง #savemefirst เริ่มแก้ที่ใจตัวเองก่อน…

Article

7 วิธีออกนอกคอก กระตุ้นไอเดียสร้างสรรค์แบบที่คุณอาจนึกไม่ถึง

ความจริงแล้วแล้วความคิดสร้างสรรค์ทำงานอยู่เสมอภายในสมองของเรา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไอเดียดีๆ มักจะผุดขึ้นอยาสงไม่ทันตั้งตัว อย่างในระหว่างอาบน้ำสระผม หรือตอนล้มตัวลงนอนหัวถึงหมอนไม่กี่นาที แต่ถ้าวันไหนตารางงานแน่นเอี้ยด ต้องทำโน่นทำนี่วุ่นวายไม่รู้จบ วันนั้นคุณจะคิดอะไรไม่ค่อยออก และตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ มากไม่ค่อยได้…

Article | Creative/Design

วิธีทำงานกับคนคิดต่างกันอย่างไรให้งานเดิน

การทำงานเราต้องเจอผู้คนมากมาย ซึ่งอาจจะมีความคิด ความเชื่อบางอย่างที่ต่าง แต่จะทำอย่างไรให้งานเดินได้โดยไม่กระทบกับความเห็นที่แตกต่าง

Article | Living