Trending News

Subscribe Now

ชาวโซเชียลกับประเด็นไทยเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม APEC 2022

ชาวโซเชียลกับประเด็นไทยเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม APEC 2022

Article | Business | Digital Marketing

ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ไทยได้มีบทบาทในเวทีโลก

การเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุม ทั้งการจัดสภาพแวดล้อมให้เรียบร้อย การจัดเตรียมอาหารและการแสดง ซึ่งทำให้ชาวโซเชียลออกมาพูดถึงในวงกว้างและแตกออกมาได้หลายประเด็น

รูปภาพที่ 1: จำนวนการพูดถึงประชุม APEC 2022 บนโลกโซเชียลระหว่างวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2565

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 1-16 พฤศจิกายน 2565 เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับการจัดประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ พบว่า เป็นการพูดถึงทั้งสิ้น 55,286 ข้อความ คิดเป็น 5,466,785 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์มากถึง 502,241 เอ็นเกจเมนต์ต่อวัน โดยเป็นการพูดถึงบน Facebook ทั้งสิ้น 54.31% ตามมาด้วย Twitter 25.43, YouTube 7.98%, และอื่นๆ 12.28% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของคนที่พูดถึงเรื่องดังกล่าว พบว่า เป็นเพศชาย 61.4% และเพศหญิง 38.6% โดยเป็นบุคคลในช่วงอายุ 18-24 ปี (43.34%) มากที่สุด รองลงมาเป็นช่วงอายุ 25-34 ปี (32.93%)

รูปภาพที่ 2: แฮชแท็กที่ชาวโซเชียลใช้พูดถึงเรื่องการประชุม APEC 2022

โดย 5 ประเด็นหลักที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับการจัดการประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทย มีดังนี้

  1. ผู้นำ-ผู้แทนทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ (4,474,794 เอ็นเกจเมนต์)
    เรื่องผู้นำจากประเทศต่างๆ เป็นประเด็นหลักที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจมากที่สุด ทั้งเรื่องสมเด็จฮุน เซน นายกฯ กัมพูชา ตรวจพบติดเชื้อโควิดทำให้ต้องยกเลิกการเดินทางมาร่วมเอเปค ในไทย, กรณีโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไม่เข้าร่วม APEC รวมถึง มีมุกตลกบน TikTok ที่กล่าวว่าให้ปัดทินเดอร์เผื่อมีโอกาสได้ไปเดทกับผู้นำ APEC
  2. วันหยุด (1,345,202 เอ็นเกจเมนต์)
    หลังจากการประกาศให้วันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี และจ.สมุทรปราการ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้กับการประชุม APEC และ รักษาความปลอดภัยของผู้ร่วมเข้าประชุม 20 เขตเศรษฐกิจ ทำให้ชาวโซเชียลมีการพูดถึงการวางแผนออกไปท่องเที่ยวในต่างจังหวัด ในขณะที่เด็กๆ ที่หยุดเรียนมีการพูดถึงการออกไปเที่ยวสวนสนุกหรือสนามเด็กเล่นในห้างสรรพสินค้า บางส่วนออกไปดูการจัดแสดงพลุริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งได้รับเอ็นเกจเมนต์ไปกว่า 166,664 เอ็นเกจเมนต์
  3. สถานที่จัดการประชุม (1,096,628 เอ็นเกจเมนต์)
    เนื่องจากการประชุม APEC จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทำให้เกิดการปรับทัศนียภาพรอบๆ ที่จัดงาน ชาวโซเชียลจึงมีการพูดถึงประเด็นรื้อถอนเสาไฟฟ้าตามแนวถนนรัชดาภิเษก ปรับผิวถนน เติมสีทางม้าลาย และปลูกต้นไม้เพิ่มเติม โดยชมเจ้าหน้าที่ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงอยากให้จัดการประชุมในหลากหลายพื้นที่เพราะต้องการให้พื้นที่เหล่านั้นได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเช่นกัน
  4. การเดินทางและการปิดการจราจร (897,652 เอ็นเกจเมนต์)
    ในการจัดประชุม APEC ได้มีการประกาศปิดถนนบางเส้น, งดให้บริการ MRT บางจุด, และห้ามชุมนุมในบางพื้นที่ หากฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย ส่งผลให้ชาวโซเชียลมีการพูดถึงการเช็กเส้นทางการเดินทางเพื่อวางแผนหลีกเลี่ยงรถติด การบ่นถึงความยุ่งยากในการขอใช้เส้นทางการเดินทางในพื้นที่จัดประชุม, การบ่นถึงการเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่ควรเผื่อเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  5. ปมป้ายต้อนรับผู้นำสะกดผิด (565,798 เอ็นเกจเมนต์)
    จากกรณีมีการแชร์ภาพป้ายต้อนรับการประชุม APEC 2022 บนทางด่วน แต่มีการสะกดคำผิด จาก Welcome เป็น Welcom และธงด้านล่างผิด ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากชาวโซเชียลในวงกว้าง บ้างพูดถึงการทำงานที่ไม่รอบคอบ บ้างนำป้ายดังกล่าวไปทำเป็นมีม ล่าสุด ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้แก้ไขป้ายดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย และขอให้ลบภาพป้ายที่ถูกตัดต่อทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด

Related Articles

ข้อเสียของ Perfectionism เมื่อเป๊ะเกินไปก็เสี่ยงต่องานพัง

คุณเป็นคนหนึ่งที่คลั่งความสมบูรณ์แบบหรือเปล่า จากการศึกษาผู้คนกว่า 41,000 คน ซึ่งตีพิมพ์ใน Psychological Bulletin พบว่า “ภาวะสมบูรณ์แบบ”

Article | Living

5 เคส เงินทองเรื่องใกล้ตัว รู้ไว้จะได้ไม่เสียรู้

ปัญหาเงินๆ ทองๆ มักสร้างเรื่องยุ่งๆ ให้เราหัวหมุน ถ้าหากคุณไม่อยากเสียรู้ จำเป็นต้องรู้กฎหมายเอาไว้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณ CREATIVE TALK by CIGNA…

Article | Living

ลบความจริงไม่ได้ มาลบอดีตใน Social Media กันดีกว่า

70% ของผู้จ้างงานเข้าไปดูข้อมูลของผู้สมัครผ่านทาง Social Media และ พนักงานกว่า 1 ใน 3 ที่โดนตำหนิหรือไล่ออก มีต้นตอมาจากเนื้อหาที่โพสต์ใน Social Media

Article | Living