อะไรคือตัวพลิกฟื้นให้บริษัทที่เกือบจะร่อแร่อย่าง AirBNB กลับมาผงาดมีส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดธุรกิจให้เช่าที่พักได้
คำตอบคือ Design Thinking (กระบวนการคิดเชิงออกแบบ) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถูกนิยมนำมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า กระบวนการคิดแบบนี้เป็นการเอาความต้องการของผู้ใช้ หรือ ลูกค้าเป็นหลัก (User-centric) และอาศัยการแก้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Solutions-based) เพื่อให้เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้และแก้ไขได้ตรงจุด
Design Thinking สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกๆ องค์กรและแทบทุกเรื่อง โดยไม่จำกัดอยู่แค่เรื่องของการออกแบบในเชิงนักออกแบบเพียงอย่างเดียว
ขั้นตอนของ Design Thinking
- Clarify สังเกตลูกค้าและมองปัญหาด้วยมุมมองใหม่ๆ พยายามเข้าใจผู้ใช้ หรือ ลูกค้า เพื่อค้นให้ลึกว่าแท้จริงแล้วพวกเขาต้องการอะไร ขุดหาต้นตอของปัญหาให้เจอ
- Ideate หาไอเดียสร้างสรรค์ให้มากที่สุด ระดมความคิดให้หลากหลาย ไม่มีไอเดียไหนที่เพ้อฝันจนเกินไป ยอมรับไอเดียที่ทีมเสนออย่างเปิดกว้าง ไม่มีผิดมีถูก
- Develop นำไอเดียที่หาได้มารวมกันเป็นแนวความคิดใหม่ แล้วก็ค่อยๆ ทดสอบทีละไอเดีย
- Implement นำไปปฏิบัติ โดยจะต้องสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจว่าคุณค่าของนวัตกรรมที่ได้นั้นคืออะไร และจะแก้ปัญหาอะไรได้ ซึ่งหากยังไม่เวิร์คก็กลับไปที่ขั้นตอนที่ 2 (Ideate) อีกครั้งเพื่อหาแนวทางอื่น
ประโยชน์ 5 ด้านของการนำ Design Thinking มาปรับใช้
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและเพิ่มยอดขายในคราวเดียว
- เข้าใจผู้ใช้หรือลูกค้ามากขึ้น
- ประหยัดเวลา เงิน และพลังงาน
- เอาชนะความคิดที่เป็น Fixed Mindset ได้
- นำทีมให้มีแนวความคิดก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน
Design Thinking สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกแวดวง ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเป็นผู้ผลิด หรือ จะเป็นสายการเงิน คุณก็สามารถเอากระบวนการคิดนี้ไปออกแบบและแก้ไขปัญหาที่มีได้ องค์กรใหญ่ๆ ระดับโลกอย่าง Google, Apple หรือแม้กระทั่ง AirBNB ต่างก็นำเอา Design Thinking มาใช้เพื่อพัฒนาและสร้างวัฒนธรรมการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่าง AirBNB ที่คิดนอกกรอบและพบว่าสาเหตุที่คนไม่ค่อยได้นิยมจองที่พักผ่าน AirBNB เท่าที่ควรเป็นเพราะภาพที่พักไม่น่าดึงดูดใจ พวกเขาเลยปรับเปลี่ยนแผนการและให้ความสำคัญกับการถ่ายรูปที่พักให้ดูดี และนั่นทำให้ยอดขายของพวกเขาเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของการนำ Design Thinking ไปปรับใช้กับองค์กรและสามารถสร้างมูลค่าให้กับทั้งสินค้า บริการ หรือแม้กระทั่งระบบของบริษัทเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ ปัจจุบันที่เราอยู่ในยุคแห่งการโฟกัสกับประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ หรือ ลูกค้า ดังนั้น Design Thinking จึงกลายมาเป็นจุดสำคัญของการออกแบบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างความแตกต่าง
ที่มาของข้อมูล