Trending News

Subscribe Now

เมื่อโลกไปไกล แล้วบริษัทไทย ๆ ควรจะทำอย่างไร ?

เมื่อโลกไปไกล แล้วบริษัทไทย ๆ ควรจะทำอย่างไร ?

Morning Call | Podcast

AI หรือ Artificial Intelligent รู้จักกันในชื่อไทยว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หมายถึง การป้อนชุดข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่ถูกป้อนให้ได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบัน AI ปรากฎในหลากหลายรูปแบบ โดยในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกัน เช่น การยิงโฆษณาบนเฟซบุ๊ก ที่ผู้ใช้งานทำการป้อนข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายทั้งในลักษณะประชากรศาสตร์ (Demographic) และความสนใจ (Interest) เพื่อให้โปรแกรมเรียนรู้ และส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนด

หรือหากจะพูดถึงตัวอย่างที่สนุกขึ้นมาอีกหน่อย คงต้องยกให้เคสของการปะทะกันในเกมหมากล้อมหรือ “โกะ” ระหว่าง อัลฟ่าโกะ (AlphaGo) ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท DeepMind ที่เอาชนะแชมป์โลกหมากล้อมชาวจีน Ke Jie จากการที่ AlphaGo ถูกตั้งโปรแกรมให้เรียนรู้จากการการเล่นหมากล้อมในแมชต์ก่อน ๆ และทดลองเล่นหมากล้อมเป็นร้อยครั้งเพื่อเอาชนะตัวเอง

การแข่งขันหมากล้อมระหว่าง Ke Jie และ AlphaGo, ภาพจาก BBC NEWS

ใกล้ตัวขึ้นมาอีกนิดกับเคสของ Meitu แอปพลิเคชันแต่งภาพสัญชาติจีนที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปรับภาพให้ออกมา “สวย” ตามนิยามของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังล้ำไปจนถึงจุดที่สามารถปรับได้แบบ Real Time เช่น สามารถลดสัดส่วนได้อัติโนมัติขณะถ่ายวิดีโอ เป็นต้น นอกจากนี้ Meitu ยังมีปัญญาประดิษฐ์สำหรับรถแข่งฟอร์มูล่าวัน (Formula one: F1) ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในการแข่งแต่ละครั้ง เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับ เทคนิคการขับ ข้อมูลของคู่แข่ง เป็นต้น เพื่อนำมาประมวลผล และใช้ในการตัดสินใจสำหรับการแข่งครั้งถัดไป เช่น ใช้ในการตัดสินใจว่าควรเข้า cockpit เพื่อเปลี่ยนยางแล้วหรือยัง เป็นต้น เนื่องจากการแข่ง F1 เป็นการแข่งขันที่อาศัยความเร็วในการตัดสินใจ ซึ่งบางครั้งมนุษย์ไม่สามารถไม่สามารถตัดสินใจได้เร็วในระดับวินาทีได้ จึงจำเป็นต้องใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย

ในฝั่งของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ก็ให้ความสำคัญกับปัญญาประดิษฐ์เช่นเดียวกัน โดยผู้บริหารของ Microsoft มองว่ากลุ่มคนที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากปัญญาประดิษฐ์คือ กลุ่มผู้พิการ ลองจินตนาการว่าจะดีแค่ไหนหากโทรศัพท์มือถือ สามารถช่วยบอกผู้พิการทางสายตาได้ว่าคนตรงหน้าเขาคือใคร รวมถึงมีท่าทางแบบไหน

จากการได้ไปฟังงาน RISE Hongkong พบว่าทั้งสิงคโปร์และฮ่องกงตื่นตัวมากกับเทคโนโลยีที่กำลังจะมาถึง และเริ่มโฟกัสมากขึ้นว่าจะนำเทคโนโลยีมาต่อยอดธุรกิจให้สามารถเติบโตขึ้นได้ยังไงบ้าง สิ่งที่อยากฝากไว้สำหรับผู้ประกอบการในไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ หรือหัวหน้า ที่คิดว่าธุรกิจของตัวเองดีอยุ่แล้วหรือไปได้อยู่เรื่อย ๆ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ไม่แน่ว่าอาจไม่ดีเหมือนเดิมแล้ว อย่างที่เราเห็นได้ชัดจากการที่ธุรกิจหลาย ๆ ตัวถูก Disrupt และเจ๊งไปหลายราย เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ รวมถึงธุรกิจทีวีที่โดนผลกระทบด้วยเหมือนกัน

สำหรับงานแนว Tech อย่าง RISE หรืองานอื่น ๆ ที่คุณอาจรู้สึกว่าเหมาะกับสายโปรแกรมเมอร์ ดูเนิร์ด ๆ ในความเป็นจริงแล้วฝั่งผู้ประกอบการก็สามารถมาดูได้ เพิ่มเติมความรู้ว่าโลกในปัจจุบันเป็นยังไงบ้าง คนรุ่นใหม่กำลังทำอะไรกันอยู่ เพราะสุดท้ายเราอาจนำสิ่งที่คนรุ่นใหม่ชำนาญ มาต่อยอดหรือผนวกกับธุรกิจของเรา แล้วทำให้ธุรกิจของเราเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดเหมือน Startup เลยก็เป็นได้

พูดถึงไอเดียของคนรุ่นใหม่แล้วในงาน RISE มี Startup ไทยไฟแรงที่น่าสนใจไปร่วมงานด้วย เลยถือโอกาสสัมภาษณ์คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา ผู้ก่อตั้ง Nasket และ คุณคูณ CTO และผู้ก่อตั้ง Drivemate ถึงมุมมองในการทำธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีมาต่อยอด

“ของในตู้เย็นหรือห้องครัว 75-80% มันเป็นของเดิม ๆ พวกน้ำหรือโค้ก Nasket อยากให้การสั่งของพวกนี้ทุกอาทิตย์ หรือสองอาทิตย์ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น”

นั่นคือสิ่งที่คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา ผู้ก่อตั้ง Nasket กล่าวถึงธุรกิจของเขาเมื่อถูกถามว่า Nasket คืออะไร หรือหากจะอธิบายให้ชัดกว่านั้น Nasket คือ อุปกรณ์สำหรับติดในห้องครัวหรือตู้เย็น มีบาร์โค้ดสแกนเนอร์ ไว้รีออร์เดอร์ของที่กินประจำ ปัจจุบันนี้ Nasket ขายในกรุงเทพฯไปแล้วกว่า 5,000 เครื่อง โดยขายให้กับตาม Hi-end Condominium อย่าง อนันดา แสนสิริ หรือ SC asset เป็นต้น และล่าสุดเพิ่งปิดดีลที่มะนิลาไปได้ รวมทั้งกำลังจะมี Nasket มะนิลาในอนาคต โดยจุดประสงค์ในการมางาน RISE ของคุณผรินทร์ในครั้งนี้คือการ มาหา Local Partner และ Invertor งาน RISE ถือเป็นงานระดับ International ที่รวมเอา Potential Partner และผู้ประกอบการที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงมาพิสูจน์ว่าไอเดียของเขาดีพอจะไปในระดับ International ได้มั้ย ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดีและทำให้มั่นใจว่าจะสามารถไปต่อในระดับต่างประเทศได้

คุณผรินทร์ทิ้งท้ายไว้ว่า การไปแต่ละงานของเขามีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อได้ตามที่ตั้งเป้าไว้แล้วจะไม่มาซ้ำงานเดิมอีก เช่น ปีที่แล้วคุณผรินทร์ได้ไปร่วมงาน Techsauce เพื่อเปิดตัว Nasket ซึ่งปีต่อไปไม่ได้ย้อนกลับไปอีก เช่นเดียวกับงาน RISE ในปีนี้ หากเขาสามารถทำตามที่ตั้งใจไว้ได้ ในปีหน้าเราอาจได้เห็นเขาปรากฎตัวในงานอื่น ๆ แทน

“Drivemate คล้าย Airbnb แต่เป็นแบบรถเช่า คนที่มีรถว่าง ๆ หรือรถเยอะ ก็มาปล่อยรถกับเราได้ เป็นเหมือนตัวกลางหาคนมาเช่ารถให้คุณได้”

คูณ CTO และ ผู้ก่อตั้ง Drivemate เล่าให้ฟังว่า Drivemate เป็น peer-to-peer car sharing สำหรับคนที่มีรถว่างอยากปล่อยเช่า Drivemate จะเป็นเหมือนตัวกลางหาคนมาเช่ารถให้ได้ โดยจุดประสงค์ในการมางาน RISE ครั้งนี้คือการมองหา Investor Series A ซึ่ง Investor ที่มาเยี่ยมชมบูทของเขาส่วนมากเป็นชาวยุโรปสนใจเรื่อง Mobility Auto Tech และรถยนต์

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

9 วิธีลดปัญหางานดีไซน์ที่แก้ยังไงก็ไม่เสร็จสักที (สำหรับผู้ว่าจ้าง)

หัวข้อในวันนี้จะเน้นสำหรับผู้จ้าง(ลูกค้า)โดยเฉพาะ เนื่องจากปัญหายอดฮิตที่ผู้ว่าจ้างมักจะถามบ่อย ๆ นั่นคือ “ทำยังไงถึงจะหาดีไซน์เนอร์ดี ๆ ได้” เมื่อถามต่อว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบที่ได้คือ เพราะดีไซน์เนอร์ที่เคยเจอมักจะทำงานไม่เสร็จ…

Creative Wisdom | Creative/Design | Podcast