Trending News

Subscribe Now

เปิด 10 สถิติการสร้างแบรนด์ให้ปัง

เปิด 10 สถิติการสร้างแบรนด์ให้ปัง

Article | Business

เคยไหม… พยายามสร้างแบรนด์เท่าไร ไม่ปังสักที

ในยุคที่สังคมผู้บริโภคตื่นตัวสุดๆ ท่ามกลางสินค้าและบริการที่ผุดเป็นดอกเห็ด  จะมีอะไรตรึงใจลูกค้าให้กลับมาหาแบรนด์ของคุณอีกครั้ง  วันนี้เรามาเจาะสถิติที่น่าสนใจ 10 เรื่อง เกี่ยวกับการทำแบรนด์ที่จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้จากปี 2021 ที่ผ่านมา 


ความประทับใจ 5 – 7 ครั้ง คือค่าเฉลี่ยที่ผู้คนจะจดจำแบรนด์ได้

ต้องพาแบรนด์ของคุณไปให้คนรู้จักมากที่สุด  โดยทำให้คนเห็นโลโก้แบรนด์ของคุณ 5 ครั้งขึ้นไป  จึงจะทำให้คนจำแบรนด์ของคุณได้  เราขอแนะนำให้คุณใช้เครื่องมือทางการตลาดในโซเชียลมีเดีย เพื่อส่งข้อความถึงผู้บริโภคเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ โปรโมต หรือจะซื้อโฆษณาก็แล้วแต่สะดวก


73% ของลูกค้า “รัก” แบรนด์เพราะการให้บริการที่ดี

สถิติจาก Curatti พบว่าการสร้างแบรนด์เป็นผลพลอยได้จากประสบการณ์ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท โดยจากการสอบถามลูกค้าทั่วไป พบว่า การให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ดีและเข้าถึงง่าย สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้เกือบ 3 ใน 4 ส่วนเลยทีเดียว


สีช่วยทำให้ผู้คนจำแบรนด์แม่นขึ้น 80%

การปลูกฝังภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นเรื่องง่ายมาก การใช้สีเดียวอย่างสม่ำเสมอในตัวโลโก้ สินค้า สื่อดิจิทัล หรือสื่อที่ใช้ในการโปรโมต จะช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์ได้มากขึ้นถึง 80%


การนำเสนอแบรนด์ในหลากหลายแพลตฟอร์มช่วยเพิ่มยอดขายได้ 23%

ถ้าหีบห่อของสินค้า และโพสต์ต่างๆ บนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ รวมไปถึงสื่อที่ใช้ในการโปรโมต ส่งสารเดียวกัน  ทั้งยังสอดคล้องกันเรื่องค่านิยมและตัวตนของแบรนด์ได้มากเท่าไร  คุณก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายมากเท่านั้น


1 ใน 3 ของแบรนด์ จาก 100 อันดับแรกของโลก มีสีฟ้าในโลโก้

เกริ่นไปแล้วว่า “สี” มีส่วนในการสร้างตัวตนของแบรนด์ จากข้อมูลของ Design Buddy พบว่า 33% ของแบรนด์ที่คนจดจำได้ 100 อันดับแรกของโลกมีส่วนผสมของสีฟ้าอยู่ในโลโก้ด้วย 


72% ของแบรนด์เนมตั้งชื่อเอง หรือใช้ตัวย่อ

เมื่อพูดถึงแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการตั้งชื่อเองนั้น ทุกคนต้องนึกถึง Google แน่ ชื่อแบรนด์ Google เกิดจากการสะกดคำผิด ความจริงต้องเป็นคำว่า Googol ที่หมายถึงตัวเลขคณิตนับไม่ถ้วน ซึ่งแบรนด์ต้องการจะสื่อถึงข้อมูลจำนวนมากที่สามารถสืบค้นผ่านแบรนด์ได้


แบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ไม่ค่อยดีนักต้องเสียเงินค่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 10%

ถ้าคุณคิดว่าการสร้างแบรนด์ไม่สำคัญ คุณอาจต้องคิดใหม่ เพราะข้อมูลสถิติพบว่าบริษัทที่มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนั้นนอกจากจะต้องเสียงบไปกับการค้นหาพนักงานใหม่ๆ และรักษาคนเก่าไว้แล้ว ยังต้องเสียเงินค่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 10% 


ผู้จัดการแบรนด์มากกว่า 70% ให้ความสำคัญกับ “บรรยากาศ” ในร้าน

อาจดูแปลกที่ให้ประเด็นการสร้างยอดขายเป็นอันดับสอง รองจากการสร้างบรรยากาศ แต่ที่จริงแล้วผู้จัดการแบรนด์ต่างรู้ดีกว่า การสร้างบรรยากาศที่ดีหมายถึงการสร้างความเชื่อใจในแบรนด์ด้วย และนั่นเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการเปลี่ยนเป็นยอดขายและทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้ในที่สุด


89% ของลูกค้ากลับไปซื้อซ้ำ เมื่อแบรนด์นั้นมีค่านิยมร่วมกัน

ทำไมค่านิยมของแบรนด์จึงสำคัญ เป็นเพราะว่ากว่า 56% ของผู้บริโภคจะซื้อซ้ำก็ต่อเมื่อแบรนด์ “เข้าใจ” พวกเขา และอีกกว่า 89% ซื้อซ้ำ เพราะว่าพวกเขาและแบรนด์มีค่านิยมร่วมกัน หากค่านิยมหลักของแบรนด์คุณเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับของลูกค้า คุณมั่นใจได้เลยว่าพวกเขาจะกลับมาซื้อสินค้าและบริการของคุณอีกแน่นอน


แบรนด์ที่ทำ Content ของตัวเองมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผู้ติดตามเป็นลูกค้าได้ถึง 67%

การโพสต์เรื่องราวต่างๆ ในสื่อของตัวเองไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ของแบรนด์ ถือเป็นช่องทางในการตอกย้ำค่านิยมหลักของแบรนด์ แถมยังกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ติดตาม การสำรวจพบว่าแบรนด์ที่มีการสร้างบทความของตัวเองสม่ำเสมอสามารถเปลี่ยนผู้ติดตามให้กลายเป็นลูกค้าได้ถึง 67% 


หลังจากที่ได้อ่านสถิติสนุกๆ กับการสร้างแบรนด์แล้ว เราหวังว่าคุณจะได้ไอเดียในการสร้างแบรนด์ของคุณให้เติบโต และเปลี่ยนเป็นยอดขายได้แบบปังๆ ที่สำคัญแม้พลังของโซเชียลมีเดียจะช่วยได้มาก แต่อย่าลืมว่าต้องโปรโมตให้ถูกช่องทางด้วย คุณจะได้ไม่หลงทางในวังวนแห่งการสร้างแบรนด์อันดุเดือดนี้


ที่มาของข้อมูล 50+ Eye-Opening Branding Statistics – 2022 Edition

Related Articles

3 เรื่องต้องรู้เมื่อเริ่มงานใหม่ ทำไงให้งานราบรื่น

อดใจรอวันสำคัญมานาน ในที่สุดก็ถึงวันที่จะได้เริ่มงานกับที่ใหม่ ในช่วงแรกของการทำงานนั้น ทุกคนจะต้องผ่านช่วงทดลองงานหรือช่วง Probation ซึ่งระยะเวลาอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร

Article | Living

3 กุญแจสำคัญที่องค์กรควรปรับให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไว

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของผู้คน สภาพสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่รวดเร็วแบบไม่อาจคาดการณ์ได้ ไหนจะวิกฤตโรคระบาดและผลกระทบต่างๆ

Article | Business