Trending News

Subscribe Now

เราควรทำอย่างไร ถ้าการใช้ Email ก็ทำให้โลกร้อนได้

เราควรทำอย่างไร ถ้าการใช้ Email ก็ทำให้โลกร้อนได้

Article | Technology

อย่างที่รู้ว่าในปัจจุบันเราส่งข้อความ แชร์รูปภาพ ดาวน์โหลดเพลง ดูออนไลน์สตรีมมิ่งต่างๆ กันได้เพียงคลิกเดียว ทว่าพฤติกรรมออนไลน์ทุกอย่างของเราต่างก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายในหนึ่งคลิกเช่นกัน 

ถึงแม้การค้นหาอะไรสักอย่างบนโลกออนไลน์หนึ่งครั้งหรือส่งอีเมลหนึ่งครั้งจะใช้พลังงานไม่มาก แต่ประชากรโลกราว 4.1 พันล้านคน หรือ 53.6% จากประชากรโลกทั้งหมด ล้วนใช้อินเตอร์เน็ต และเมื่อพลังงานส่วนเล็กส่วนน้อยจากการใช้งานของแต่ละคนรวมกัน จึงหนีไม่พ้นเรื่องของการทิ้ง Carbon Footprint ให้กับโลก

Carbon Footprint จากบรรดา Gadgets ของเรา รวมถึงอินเตอร์เน็ตและระบบต่างๆ ที่ซัพพอร์ทกิจกรรมออนไลน์ คำนวณเป็น 3.7% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ซึ่งมันใกล้เคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มาจากอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และมีการคาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2025 การปล่อยก๊าซเหล่านี้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า


แล้ว Carbon Footprint คืออะไร?

Carbon Footprint คือปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิตของมัน


Email กับ Carbon Footprint เกี่ยวข้องกันยังไง?

แม้เราจะใช้อีเมลแทนจดหมายกระดาษแล้ว แต่อีเมลก็ทิ้ง Carbon Footprint ให้กับโลกเช่นกัน เพราะอีเมลส่วนใหญ่ ทั้งอีเมลสแปม และอีเมลที่ไม่ถูกเปิดอ่าน รวมถึงอีเมลมากมายที่เราต่างลืมลบทิ้งจะถูกเก็บไว้บนคลาวด์ ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าคลาวด์นั้นใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนมาก และไฟฟ้าส่วนใหญ่บนโลกยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้น แม้อีเมลจะไม่ได้สร้างขยะที่เป็นกระดาษ แต่อีเมลเหล่านี้ก็ยังมีส่วนสร้างการปล่อยคาร์บอนอยู่ดี

ซึ่งจากข้อมูลขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ‘Good Planet’ บอกว่าค่าเฉลี่ยของอีเมลที่ไม่ได้เปิดอ่านของคนอเมริกันนั้นมีปริมาณอยู่ที่ราวๆ 500 ฉบับ/คน และอีเมลส่วนใหญ่อยู่ในถังขยะ ซึ่งถ้าเราประมาณว่าอีเมลแต่ละฉบับสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ 0.3 กรัม แปลว่าเราจะต้องรับมือกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นของประชาการสหรัฐฯ 150 กรัม / คน


แล้ว Email ใช้ไฟฟ้าแค่ไหน?

อีเมลที่มีข้อความเป็นหลักปล่อย CO2 หรือ คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประมาณ 4 กรัม และมีการประเมินว่าค่าเฉลี่ยของ CO2 ที่ปล่อยออกมาจากการส่งอีเมลแต่ละปีนั้นอยู่ที่ประมาณ 136 กิโลกรัม ซึ่งพอๆ กับการขับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ เป็นระยะทาง 200 ไมล์

Mike Berners-Lee นักวิจัยและนักเขียนชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง Carbon Footprint บอกว่า ‘เวลาที่เราพิมพ์ อุปกรณ์ของเราก็กำลังใช้พลังงานไฟฟ้า และเมื่อเรากดส่ง สิ่งที่เราส่งก็จะผ่านเข้าไปบน Network และทุกอย่างล้วนใช้กำลังไฟฟ้าในการขับเคลื่อน Network นั้นๆ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้บนคลาวด์สักแห่ง และศูนย์กลางของข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก ต่างใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาล ผู้คนอาจไม่ได้คิดถึงมันเลยเพราะเราไม่ได้มองเห็นควันหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ของเราผ่านดวงตา แต่ Carbon Footprint ทาง IT นั้นมีปริมาณมหาศาลและกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ’

ซึ่งถ้าคุณนึกภาพไม่ออก อาจลองคิดถึงศูนย์กลางข้อมูลออนไลน์ที่ถูกใช้โดยบริษัทด้านซอฟท์แวร์อย่างพวก Google , Facebook , Amazon และ Microsoft รวมๆ กันก็ได้ แน่นอนว่ามันต้องเป็นปริมาณมหาศาล

และยังมีรายงานจาก Financial Times ที่บอกว่าถ้าทุกๆ คนใน UK ลดการส่งอีเมลตอบกลับที่มีข้อความหรือคำพูดสั้นๆ เช่น Thanks หรือ Cheers ต่อวันลดลงได้ มันจะเป็นการลดคาร์บอนซึ่งเทียบเท่ากับการยกเลิกเที่ยวบินจากลอนดอนไปมาดริดทั้งหมดกว่า 81,152 เที่ยวบินเลยทีเดียว


แล้วเราจะใช้ Email อย่างไร ให้เป็นมิตรกับโลกใบนี้ได้บ้าง?

  1. Trash: คอยเคลียร์อีเมลใน Junk อยู่เป็นประจำ
  2. Unsubscribe: ลองเข้าอีเมลที่คุณเคยไป Subscribe ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ เอาไว้ แล้วถามตัวเองว่ายังต้องการอีเมลเหล่านั้นที่ได้รับประจำจริงหรือเปล่า ซึ่งถ้าอีเมลส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้โดยไม่เปิดอ่านเลย มันอาจถึงเวลาที่คุณจะยกเลิกการ Subscribe ได้แล้ว
  3. ปิด Notifications: เราสามารถปิดข้อความแจ้งเตือนจาก Social Networks ต่างๆ เช่น Facebook , Twitter ได้ ถ้ามันไม่ได้จำเป็น เพราะมันเป็นแค่ข้อมูลสั้นๆ อีกร่างหนึ่งจากบนเว็บไซต์หรือบนแอปฯ เท่านั้น

เรื่องง่ายๆ เหล่านี้ ถ้าทุกคนลองทำเป็นประจำก็จะช่วยลดภาระให้กับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว

Related Articles

5 สิ่งที่คุณควรทำเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตและแตกต่าง

การทำธุรกิจ ถือว่าเป็นศาสตร์อีกหนึ่งศาสตร์ที่ในปัจจุบันมีผู้คนเป็นจำนวนมากล้วนให้ความสนใจและพร้อมที่จะลงมือทำอยู่ตลอดเวลา การทำให้สิ่งที่ตนเองชื่นชอบสามารถเกิดรายได้ขึ้นมาย่อมเป็นเรื่องที่ดีและน่าพึงพอใจสำหรับผู้ที่เริ่มต้น แต่มันจะดีแค่ไหน ถ้าในครั้งนี้เราจะมีกลเม็ดเคล็ดลับ การทำธุรกิจให้เติบโตและแตกต่างมาแนะนำให้กับคุณผู้อ่านทุกท่าน ได้นำไปทำตามกัน  I Will Podcast…

Article | Business

บาลานซ์ความรู้สึก จัดการชีวิตการทำงาน จากงาน CTC2019

เชื่อว่าหลายคนคงเคยจะเป็นเหมือนกัน ที่ตื่นขึ้นมาในบางวันก็รู้สึกเบื่อหน่าย บางครั้งก็เบื่อจนระบุไม่ได้ว่าเบื่ออะไร พลอยหงุดหงิดไปกับทุกสิ่งที่พบที่เจอ ซึ่งความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน วันนี้เราจึงรวมเอาเนื้อหาจาก 4 Session ในงาน Sansiri…

Article | Creative/Design

องค์กรจะดีขึ้นแค่ไหน ถ้า HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีตัวช่วยที่จะเข้ามาดูแลความเป็นไปของพนักงานทุกคนในองค์กรให้ดีขึ้นในทุกด้าน

รู้จักเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาช่วยให้ HR ดูแลพนักงานได้ดีขึ้น เชื่อว่าในปีที่ผ่านมา หลายองค์กรอาจเผชิญกับปัญหาการลาออกของพนักงานหลายตำแหน่ง

Article | Business