Trending News

Subscribe Now

5 องค์ประกอบของ Well-being at Work ที่องค์กรต้องรู้ก่อนจะเสียคนเก่งไป

5 องค์ประกอบของ Well-being at Work ที่องค์กรต้องรู้ก่อนจะเสียคนเก่งไป

Article | Business | Living

ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว องค์กรต้องปรับตัวและพยายามเอาตัวรอดจากวิกฤตที่เข้ามาแทบไม่ซ้ำกัน

แต่หัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจปรับตัว ผ่าวิกฤตไปได้ นั่นก็ คือ พนักงานที่มีคุณภาพ การจะสร้างพนักงานที่มีคุณภาพ อาจจะทำได้หลายวิธี แต่การที่จะรักษาให้พนักงานที่มีคุณภาพ อยู่สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับองค์กรต่อไป พนักงานต้องรู้สึกว่าองค์กรได้ดูแลพวกเขาด้วย

แม้ว่าการพุ่งทะยานไปข้างหน้า เน้นให้เกิด Productivity และการสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กร จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่ผู้บริหารจะลืมไม่ได้เลยคือเรื่องของสุขภาวะ (Well-being) ของพนักงาน

ในปี 2020 บริษัท Gallup ได้ทำการสำรวจพนักงานทั่วโลก พบว่า ประมาณ 7 ใน 10 คนที่รู้สึกใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก หรือ ถึงขั้นมีความรู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิตเลยทีเดียว

จากงานวิจัยทั้งหมด Gallup พบว่า คนเราต้องการมีงานที่ดี (Good job) คือรู้สึกว่าสามารถทำงานที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างดี ได้งานที่ทำนั้นมีคุณค่า เพราะงานเป็นส่วนสำคัญของการใช้ชีวิต มันคงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถสร้างให้เกิดสุขภาวะดีที่ในการทำงาน หรือ Well-being at Work


บริษัท Gallup ได้เน้นย้ำถึง 5 องค์ประกอบสำคัญ ที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณา เพื่อสร้างให้เกิด Well-being at Work ดังต่อไปนี้

1. Career well-being

คุณชอบในสิ่งที่คุณทำในงานของคุณ อยากทำงานนี้ในทุกๆวันหรือไม่ อาจจะไม่ได้มองแค่เป็นชิ้นงาน แต่มองเป็นอาชีพที่สำคัญ หรือขึ้นไปอีกขั้นคือเป็นงานแห่งคุณค่าที่คุณเท่านั้นที่เกิดมาเพื่อทำงานนี้ (Calling) Gallup พบว่า Career well-being มีความสำคัญที่สุดที่จะเป็นรากฐานของการสร้างความเฟื่องฟู (Thriving) ในการทำงาน

2. Social well-being

คุณมีความสัมพันธ์ มิตรภาพคุณให้คุณค่า มีผู้คนที่พร้อมจะสนับสนุน ช่วยเหลือคุณในทุกๆเรื่อง ทั้งในและนอกจากทำงาน จากการสำรวจทั่วโลกพบว่า มีเพียง 25% ของคนทั่วโลก ที่รู้สึกว่าเพื่อน และครอบครัว ให้พลังบวกกับพวกเขาในทุกๆ วัน หากองค์กรสามารถเป็นพื้นที่ให้พนักงานได้มีการสร้างความสัมพันธ์และกลุ่มสังคมที่ดี ก็จะมาช่วยเติมเต็ม Social well-being ตรงนี้ด้วย

3. Financial well-being

คุณสามารถบริหารจัดการเรื่องการเงินของคุณได้ดี ความกังวลในเรื่องการเงินจะทำให้เกิดความเครียด และขาดความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพ หัวหน้างานควรช่วยดูแลให้ข้อมูล ให้การเข้าถึงทรัพยากรด้านการบริหารการเงิน และใส่ใจเรื่องการทางการเงินของทีมงาน อาจมีการดูแลเพิ่ม Incentives และ benefits ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ โดยเฉพาะในสภาวะวิกฤต

4. Physical well-being

คุณมีสุขภาพทางการดี มีพลังงานมากพอที่จะทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ในแต่ละวัน หากต้องการส่งเสริมเรื่อง Physical well-being องค์กรจะต้องมีการสื่อสารเรื่องความคาดหวังว่าการดูแลสุขภาพกาย เป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ และมีการเฉลิมฉลองความสำเร็จในการดูแลสุขภาพของทีม ไม่ใช่แค่ฉลองให้กับการทำงานหนักเพียงอย่างเดียว

จากการสำรวจพบว่า คน Gen Y ที่เป็นพนักงานกลุ่มหลักในองค์กรในปัจจุบัน มักจะมี Physical well-being ที่ดี แต่ Financial well-being ไม่ค่อยดี

5. Community well-being

คุณชอบและภาคภูมิใจ ในชุมชนและสังคมที่คุณอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ Community นั้นๆ คือได้ให้กลับอะไรบางอย่างสู่ชุมชนที่คุณใช้ชีวิตอยู่ องค์กรควรสนับสนุนกิจกรรมการได้ช่วยเหลือชุมชน สังคมแวดล้อมของพนักงาน สนับสนุนให้พนักงานใช้เวลาว่างกับการทำสิ่งเหล่านี้ หรืออาจะมีเงินทุนมาช่วยสนับสนุนในกิจกรรมที่ดีอีกด้วย


วันนี้ คำถามสำคัญก็คือทีม หรือ องค์กรของคุณ สามารถช่วยสร้างองค์ประกอบทั้ง 5 ให้เกิดขึ้นกับพนักงานได้มากน้อยเพียงใด ทุกองค์กรมีการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน และผลลัพธ์ทางการเงินและกำไร มี Financial audit ในทุกปี แต่วันนี้คุณมีการทำ Well-being audit กันหรือยัง?

ถ้าเราอยากให้พนักงานที่มีคุณภาพอยู่กับเรา เพื่อคอยสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับองค์กร เราต้องหันมาใส่ใจเรื่อง Well-being at work โดยมองถึงปัจจัยสำคัญทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ อย่างจริงจัง


เพื่อพนักงานและองค์กรจะได้เติบโตไปพร้อมๆกันอย่างยั่งยืน


หรือรับฟังในรูปแบบพ็อดคาสท์ Rise & Shine 68 Wellbeing At Work กับ 5 เรื่องที่ต้องคำนึงถึง

Related Articles

3 วิธีสร้างทีมให้มีความยืดหยุ่นท่ามกลางวิกฤติ

“ผู้จัดการจะจัดการการมีส่วนร่วมในทีมและความเป็นอยู่ของคนในทีมได้อย่างไร เมื่อพวกเขาเองกลับกำลังรู้สึกหมดแรง”

Article | Business

วิธีรับมือชาวโซเชียล เปลี่ยนผู้ติดตามมาเป็นลูกค้าและแฟนตัวยง

ปี 2021 จะเป็นปีที่เหล่า ‘นักสร้างคอนเทนต์’ และ ‘นักการตลาด’ ต้องเจอความท้าทายและการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงยิ่งต้องแตกต่าง สร้างสรรค์ ใส่ใจคำพูด…

Article | Digital Marketing