ช้าก่อน! เพราะก่อนจะไปพูดถึงว่าจะเล่าเรื่องอย่างไรให้สนุก
เราต้องเริ่มจากความคิดที่ว่า “เราอยากจะเล่าเรื่อง” เสียก่อน เราต้องปรับ Mindset ละทิ้งความคิดที่ว่า ถ้าเล่าให้เพื่อนฟังแล้วเขาจะรู้อยู่แล้วหรือเก่งกว่าเรา ไม่ต้องกลัวว่าเพื่อนจะเก่งกว่าเราครับ เพราะการมีเพื่อนเก่ง ๆ อยู่รอบตัวย่อมดีกว่าการมีเพื่อนไม่ได้เรื่องอยู่รอบตัวนะครับ
หัวใจของการเล่าเรื่องที่ดีคือเราต้อง “รู้จริง” ในเรื่องนั้นๆ ให้ได้ก่อน การรู้ในเรื่องที่จะเล่าจะทำให้เราเล่าได้อย่างมีอรรถรส เพราะเป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในสมองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจดจำ แล้วนำมาเล่า
CREATIVE TALK เลยขอเสนอหลักการ 7 ข้อจาก Masterclass แล้วเสริมด้วยความรู้และไอเดียของ เก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม Founder ของเราลงไปด้วย เป็นตามนี้ครับ
เริ่มต้นด้วยการหา Core Message
การเล่าเรื่องที่ดีต้องมีหัวใจของการเล่าเรื่อง เราอยากให้ผู้ฟังรู้อะไรหลังจากฟังเราเล่าแล้ว การมี Core Message ก็เหมือนการปักหมุดลงใน Google Map ให้รู้ว่าเรากำลังจะไปไหน จะคุยเรื่องอะไร และทำให้การเล่าของเรามีเป้าหมาย ที่สำคัญคือ ผู้ฟังก็จะรู้ด้วยว่า ฟังแล้วได้อะไร
การมี Conflict เป็นเรื่องดี
แม้ว่าการเล่าเรื่องเราอาจจะมองว่าต้องเน้นไปเฉพาะเรื่องที่เราอยากบอก และ support เนื้อหาเล่านั้น แต่การพูดถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามหรือความจริงที่ตรงกันข้ามกับเนื้อหา ก็จะทำให้เรื่องนั้นมีความ real มากขึ้น และแน่นอนว่าไม่มีใครคิดอยู่แล้วตั้งแต่แรกว่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่เล่ามาจะมีแค่ด้านเดียว
เส้นทางการเล่าเรื่องต้องชัดเจน
เราอาจจะมีหลายเรื่องที่อยากเล่า เราอาจจะมีออกนอกเรื่องบ้าง แต่การมีเส้นทางที่ชัดเจนจะทำให้ทั้งเราและคนฟังไม่หลงทาง เช่นกัน เหมือนการปักจุดหมายใน Google Map คุณอาจจะมีทางเลือกได้ 3-4 ทาง เพื่อให้ไปถึงจุด ๆ นั้น แต่ไม่ว่าจะเลือกทางไหน สุดท้ายทุกทางจะพาคุณไปยังเป้าหมายที่เหมือนกัน
ลองแชร์ประสบการณ์ตรงดูบ้าง
การแชร์ประสบการณ์ตรงจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเข้าถึง รู้ว่าผู้เล่าเป็นผู้รู้จริง ผ่านเรื่องเล่านั้นมาจริง ๆ ทำให้เรื่องเล่ามีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ห้ามลืม Connect กับผู้ฟัง
เรื่องราวที่เล่าหากสามารถ connect กับผู้ฟังได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ อายุ กิจกรรมที่ชอบ ต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ฟังนึกภาพตามได้ง่าย และอินกับเรื่องที่เล่า
โฟกัสที่เป้าหมายชัดเจน
บางครั้งเรามีหลายเรื่องที่อยากเล่ามีมากมาย หลายครั้งเราก็ออกนอกเรื่อง สำคัญที่สุดไม่ใช่การเล่าเรื่องจำนวนมาก ความรู้อัดแน่น แต่เป็นการเล่าอย่างไรให้คนฟังสามารถจำได้ ดังนั้นการโฟกัสที่เป้าหมายที่ชัดเจน อยากเล่าอะไรให้ผู้ฟังได้ฟัง อยากให้ผู้ฟังได้อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด
เรียนรู้จากคนที่เก่งกว่า
แน่นอนว่าเราต้องเรียนรู้อยู่เสมอ แม้กระทั่งการเล่าเรื่อง การได้ดูคนที่เก่งว่าเล่าเรื่องคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราพัฒนาการเล่าเรื่องของเราได้อย่างดี
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อ่านแล้วอยากจะลองฟัง #MorningCall ย้อนหลัง สามารถฟังได้ที่ SoundCloud | Facebook | YouTube นะครับ